Payment Gateway คือ ระบบการชำระเงินผ่านออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในด้านการรวบรวมและถ่ายโอนข้อมูลระหว่างลูกค้ากับผู้ขาย หากอธิบายแบบเข้าใจง่ายมากขึ้นนี่เป็นการชำระเงินผ่านระบบออนไลน์โดยจะมีผู้ให้บริการ (ธนาคารหรือสถาบันการเงิน) เป็นคนกลางทำหน้าที่โอนเงินจากผู้จ่ายเงินไปยังผู้รับเงิน ทั้งการชำระด้วยวิธีโอนเงิน บัตรเครดิต บัตรเดบิต พร้อมเพย์ E-Wallet เคาน์เตอร์เซอร์วิสต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งในบ้านเราปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
เป็นระบบที่ทางธนาคารหรือสถาบันการเงินพัฒนามาเพื่อให้ลูกค้าเกิดความสะดวกมากขึ้น เช่น ธนาคารกรุงเทพใช้ Bualuang Merchant iPay ธนาคารกสิกรไทยใช้ K-Payment Gateway ธนาคารกรุงศรีอยุธยาใช้ Krungsri Biz Payment Gateway ธนาคารไทยพาณิชย์ใช้ SCB Payment Gateway เป็นต้น จุดเด่นสำคัญของ Payment Gateway รูปแบบนี้คือ ปลอดภัย น่าเชื่อถือมาก แต่เรื่องข้อด้อยก็ย่อมมีทั้งเงื่อนไขใช้บริการจุกจิกเยอะ บางธนาคารต้องมีเงินค้ำประกันขั้นต่ำ 1 แสนบาท มีค่าธรรมเนียมต่อการทำรายการ จึงเหมาะกับคนทำธุรกิจที่จดทะเบียนนิติบุคคลท้งห้างหุ้นส่วนและบริษัท
คนกลางจากภาคเอกชนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินมาทำหน้าที่เป็นคนกลางสำหรับโอนเงินออนไลน์ระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ เช่น GB Prime Pay (โกลบอล ไพรม์), Money Space (มันนี่ สเปซ), 2C2P, PayPal, Omise (โอมิเซะ)} ChillPay (ชิวเพย์) และ DigiO (ดิจิโอ) หรือ DigiPay เป็นต้น ข้อดีมากคือไม่ต้องมีเงินค้ำประกัน หลายเจ้าฟรีค่าธรรมเนียมรายปี มีบริการคอยให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชม. แต่ค่าธรรมเนียมต่อการโอน 1 ครั้งอาจสูงกว่าเล็กน้อย เหมาะกับธุรกิจทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก กาง ใหญ่ ก็สามารถเลือกใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อรู้จักกับระบบการโอนชำระเงินผ่านออนไลน์กันไปแล้ว นี่คือเหตุผลที่สรุปมาให้แบบครบถ้วนว่าทำไมร้านค้าเล็ก ๆ ร้านค้าออนไลน์ ธุรกิจ SME ธุรกิจขนาดกลาง และธุรกิจขนาดใหญ่ ก็สามารถใช้งานระบบ Payment Gateway ได้อย่างสบายใจ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่คุณพัฒนาระบบต่าง ๆ ของธุรกิจให้ดีขึ้นย่อมส่งผลโดยตรงต่อตัวลูกค้า พวกเขาจะรู้สึกพึงพอใจ ชำระเงินง่าย สะดวก รวดเร็ว อยากกลับมาซื้อซำในครั้งถัดไป รวมถึงยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อตัวแบรนด์อีกด้วย
เรื่องเงินเรื่องทองเป็นสิ่งที่ต้องระวังโดยเฉพาะการทำธุรกรรมบนโลกออนไลน์ ซึ่งระบบ Payment Gateway เองก็มีระบบดูแลความปลอดภัยที่เป็นไปตามหลักมาตรฐานของสากล เช่น SSL (Secure Sockets Layer), MasterCard SecureCode, Verified by VISA, PCI DSS เป็นต้น ซึ่งปกติแล้วจะมีทีมงานมากประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญสูงคอยสอดส่องดูแลตลอด 4 ชม.
บ่อยครั้งพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ หรือธุรกิจขนาดเล็กไม่ได้มีคนช่วยมากนัก เจ้าของต้องจัดการเองหมด การปรับระบบต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องวุ่นวายมาก แต่การเปลี่ยนมาใช้งาน Payment Gateway ไม่ใช่แบบนั้นเลย ไม่ต้องจ้างโปรแกรมเมอร์หรือใช้เงินทุนแพง ๆ แค่ทำการติดต่อกับผู้ให้บริการที่ธุรกิจไว้วางใจก็สามารถดำเนินการได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว
ฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ใช้งานได้มักขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาที่เลือกใช้บริการ แต่ส่วนใหญ่ก็แทบไม่แตกต่างกันมากนัก มีทั้งการใช้ผ่านเว็บไซต์และ Social Media ระบบการรายงานเมื่อเงินเข้าบัญชี ระบบยืนยันการชำระเงินไปยังลูกค้า ฯลฯ เรียกว่ามีความครบถ้วน และเสริมความเป็นมืออาชีพด้านบริหารจัดการอย่างดีเยี่ยม
Payment Gateway เป็นระบบการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้ Mobile Banking บัตรเครดิต บัตรเดบิต สร้างความสะดวก รวดเร็ว และง่ายดายต่อลูกค้า อย่างไรก็ตามธุรกิจเองก็ต้องคอยระวังด้านความปลอดภัย หมั่นตรวจสอบข้อมูล ความผิดปกติอย่างสม่ำเสมอ เลือกใช้งานกับผู้ให้บริการที่มีชื่อเสียง มีคุณภาพ ตรงตามมาตรฐานระดับสากล สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างความพึงพอใจ เสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ดียิ่งขึ้น โอกาสกลับมาซื้อซ้ำหรือบอกต่อคนอื่น ๆ ก็มีสูงมากตามไปด้วย
]]>Quick Response หรือ QR Code คือ สัญลักษณ์ที่มีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยมแล้วภายในจะมีแถบสีทึบรูปแบบไม่ตายตัวกระจายกันอยู่ซึ่งแถบดังกล่าวมีการบันทึกข้อมูล รายละเอียด และสามารถตอบสนองได้ภายในเวลาอันรวดเร็วเพียงแค่ใช้มือถือสแกน ซึ่งปัจจุบันรูปแบบการพัฒนาเพื่อใช้งานจะแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ได้แก่
สำหรับจุดเริ่มต้นของการกำเนิด QR Code ต้องย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ. 1994 บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง Denso-Wave ได้เป็นผู้คิดค้นขึ้น กระทั่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในวงกว้างเมื่ออินเทอร์เน็ตเฟื่องฟูแบบขี้สุดเหมือนที่พบเห็นในปัจจุบันนั่นเอง
ถือเป็นคิวอาร์โค้ดรูปแบบดั้งเดิม มีขนาดใหญ่สุดหากเทียบกับประเภทอื่น ขนาด 73 x 73 Module ใส่ข้อมูลได้รวม 1,167 ตัว ขณะที่ Model 2 เป็นรุ่นพัฒนาซึ่งบรรจุข้อมูลรวมถึง 7,089 และปัจจุบันยังคงได้รับความนิยมมาก
มีขนาดเล็กมากเพียง 17 x 17 Module บรรจุตัวอักษรได้ 35 ตัว ถือว่าขนาดเล็กกว่าแบบแรกพอควร นิยมใช้สำหรับการให้ข้อมูลเพียงเล็กน้อยหรือกำหนดข้อมูลแค่เรื่องเดียวเท่านั้น
นอกจากมีขนาดเล็กแล้วยังถูกพิมพ์ตามแนวนอนเพื่อให้เก็บข้อมูลได้เยอะถึง 80% หรือถ้าเก็บข้อมูลปริมาณเท่ากันยังประหยัดพื้นที่แสดงผลอีกราว 30% บรรจุข้อมูลสูงสุด 40,000 ตัว
จะคล้ายกับตัว QR Code Model 1 และ Model 2 มาก แต่จุดเด่นที่ทำให้น่าสนใจขึ้นนั่นคือ สามารถเก็บข้อมูลที่เป็นความลับได้
เป็นอีกแบบที่พบเห็นได้บ่อย ลักษณะคือสามารถใช้ภาพกราฟิก โลโก้ รูปภาพ สัญลักษณ์ต่าง ๆ เข้ามาใส่ภายใน QR Code ได้ จึงมักพบบ่อยเมื่อต้องทำกิจกรรมทางการตลาด หรือทำการตลาดออนไลน์เพื่อให้ลูกค้าเข้ามาเจอกันง่ายขึ้น
อย่างที่ทุกคนเห็นว่าปัจจุบันคิวอาร์โค้ดกลายเป็นอีกทางเลือกของธุรกิจและคนทั่วไปเมื่อต้องการส่งข้อมูล หรือรับข้อมูลใด ๆ ก็ตาม ประหยัดเวลา สะดวก รวดเร็ว ได้รายละเอียดครบถ้วน ซึ่งแนวทางที่มักนำ QR Code ไปใช้งานก็มีอยู่พอสมควร ประกอบไปด้วย
นี่คือรูปแบบที่ทุกคนพบเห็นได้บ่อยสุดในยุคปัจจุบันเลยก็ว่าได้ เมื่อการชำระเงินค่าสินค้า / บริการต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องจ่ายแค่เงินสดหรือบัตรเครดิตอีกต่อไป เพราะระบบ Mobile Banking ก็สร้างความสะดวก ง่ายดาย และปลอดภัยกว่า ไม่ต้องกลัวเงินหาย พกพามือถือเครื่องเดียวก็จ่ายได้ทุกสิ่ง แต่ลำพังจะให้พิมพ์ตัวเลขบัญชีธนาคารแต่ละครั้งคงเป็นเรื่องยุ่งยากมาก การมี QR Code รับชำระเงินจึงสะดวกต่อลูกค้า แค่สแกนมือถือก็เข้าสู่ระบบธนาคารแล้วกดจ่ายเงินได้ทันที
ลำดับต่อมาถูกใช้งานเพื่อสร้างช่องทางติดต่อระหว่าง 2 ฝ่าย เช่น ร้านค้าสร้างคิวอาร์โค้ดเพื่อให้ลูกค้าเพิ่มเพื่อนสำหรับอัปเดตข่าวสาร ติดตามข้อมูลต่าง ๆ หรือสอบถามรายละเอียดอื่นเพิ่มเติม ซึ่งจุดนี้เองยังถือเป็นช่องทางการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ รวมถึงโอกาสสร้างยอดขายให้เกิดขึ้นก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย ยิ่งยุคนี้แนวทางทำการตลาดเปลี่ยนไปเยอะมาก พฤติกรรมคนใช้มือถือกันแทบทั้งวัน ธุรกิจก็สามารถใช้เทคนิคเพิ่มเพื่อนเพื่อกระตุ้นความรู้สึกและการตัดสินใจซื้อได้เช่นกัน
อีกแนวทางของการใช้คิวอาร์โค้ดที่พบเห็นบ่อยมากนั่นคือ การลงทะเบียนเพื่อกรอกข้อมูลต่าง ๆ เช่น การสมัครสมาชิก การสมัครเป็นตัวแทน การลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ลงทะเบียนเข้า-ออกสถานที่ บอกลาปัญหาความสับสน แถมยังสะดวก รวดเร็ว ง่ายดาย มีรายละเอียดและข้อมูลทุกอย่างชัดเจน ครบถ้วน นำไปใช้ประโยชน์ตามความต้องการ
จากข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้ระบุไปต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ธุรกิจจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ QR Code เป็นอย่างมาก เพราะสามารถนำเสนอทุกสิ่งที่ต้องการสื่อสารออกไปได้อย่างครบถ้วน โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนแพง ๆ แต่เข้าถึงแบบส่วนตัวยิ่งกว่า ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ไหนก็พบเห็นการสื่อสารต่าง ๆ ของทางธุรกิจได้ครบถ้วน หรือแม้แต่ธุรกิจหน้าร้านทั้งออนไลน์และออฟไลน์ที่ต้องมีการรับชำระเงิน คิวอาร์โค้ดย่อมช่วยลดภาระการจัดการงานได้หลายรูปแบบ เช่น คนไม่ต้องต่อคิวเพื่อรอเงินทอน ตรวจสอบเงินเข้า-ออกได้ครบถ้วน และยังเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรในเรื่องความทันสมัย และมีส่วนลดการใช้วัสดุต่าง ๆ ไม่สร้างมลพิษทางสิ่งแวดล้อมด้วย
Static qr code เป็นคิวอาร์โค้ดที่ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ เหมาะสำหรับใช้ทำ Marketing Campaigns หรือ PR Event ใช้ซ้ำได้สแกนกี่ครั้งก็ได้ ส่วน Dynamic QR Code สามารถแก้ไขข้อมูลได้หลังบ้าน เพื่อกรณีปริ๊นไปใช้งานแล้ว แต่ต้องการแก้ไขปลายทาง ก็สามารถทำได้ และบางกรณียังใช้เก็บ Expire Date วันหมดอายุของ QR Code ยกตัวอย่าง QR Payment หรือใช้ในกรณี QR Login หรือจะกำหนดลิมิตการใข้งานเช่น QR Code ที่ใช้สแกนแจกรางวัลในงานอีเว้นท์ เป็นต้น
QR Code กับการใช้งานในยุคปัจจุบันต้องบอกว่ามีความสำคัญต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก ทั้งเรื่องการชำระเงิน การติดต่อเพื่อสื่อสารระหว่างธุรกิจกับลูกค้า ใช้เพื่อโปรโมทกลยุทธ์ทางการตลาดต่าง ๆ เป็นต้น มีหลายรูปแบบให้เลือก เสริมภาพลักษณ์องค์กรให้ดูดีขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นธุรกิจที่ยังลังเลใจอย่าคิดนานเพราะอาจโดนคู่แข่งแซงเอาง่าย ๆ เลยก็ได้
]]>
Google SERP คืออะไร อีกหนึ่งคำถามที่ยังมีบางคนสงสัยอยู่ โดยเฉพาะนักการตลาดหรือคนทำ SEO หน้าใหม่ ซึ่งในบทความนี้ก็ได้รวบรวมเอาข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับความหมายของ Google SERP มาให้ได้ศึกษากัน พร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญและการนำไปปรับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ
Google SERP คือ หน้าที่แสดงผลของการค้นหาบนเว็บ Search Engine อย่าง Google ย่อมาจาก Search Engine Results Page ทำให้รู้ว่าใน Keyword นั้นๆ เว็บไซต์ไหนแสดงผลอยู่อันดับที่เท่าไรของ Google
การดูผลบน Google SERP คือความสำคัญอีกหนึ่งอย่างสำหรับคนทำ SEO แน่นอนว่าถ้าหากจะทำบทความ SEO ขึ้นมาสัก 1 บทความ บางครั้งก็ต้องสังเกตการจากคู่แข่งสักหน่อย และการสังเกตการจาก Google SERP ก็ถือเป็นแนวทางที่เหมาะสม
ประเภทการแสดงผลบน Google SERP จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
การแสดงผลแบบ Organic SERP Listings เป็นหนึ่งในผลลัพธ์ที่แสดงบน Google SERP ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ไม่ได้รับการจ่ายค่าโฆษณา และติดอันดับแบบ Organic จากการทำ SEO ที่มีประสิทธิภาพ
การแสดงผลแบบ Paid SERP Listings เป็นหนึ่งในผลลัพธ์ที่แสดงบน Google SERP ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ต้องจ่ายค่าโฆษณาเพื่อประมูล Keyword ในระบบของ Google ซึ่งจะแสดงอยู่บนสุดเหนือสูงกว่าเนื้อหาที่ติดอันดับแบบ Organic ผู้รับสารจะรู้ได้ว่าเนื้อหานี้มีการจ่ายโฆษณา เพราะมีคำว่า Sponsored กำกับอยู่
SERP มีส่วนประกอบหลายส่วนด้วยกัน ได้แก่
หน้าที่แสดงผลของการค้นหาบนเว็บ Google ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ หากลองสังเกตแล้วจะเห็นว่าแต่ละส่วนนั้นสำคัญหมด ที่ทำให้เนื้อหานั้นติดอันดับใน Google ด้วย Keyword หนึ่ง สำหรับคนทำ SEO ที่ต้เองการผลิตเนื้อหาด้วย Keyword เดียวกัน อาจลองดูเนื้อหาของคนอื่นที่ทำมาก่อนหน้านั้นและติดอันดับ พร้อมด้วยการวิเคราะห์แต่ละส่วนที่ปรากฏอยู่บน Google SERP แนะนำให้สังเกต Keyword จะดีที่สุด
Google SERP เป็นตัวช่วยที่เหมาะกับการใช้วิเคราะห์คู่แข่ง ซึ่งสำคัญกับคนที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการตลาดออนไลน์ ดังนี้
ผู้จัดการตลาดออนไลน์ที่ต้องดูแลเรื่องการทำ SEO หรือการทำเนื้อหาให้ติดอันดับใน Google ควรใช้ Google SERP วิเคราะห์คู่แข่ง และสรรหา Keyword รวมถึงวางแผนการวางโครงสร้างเนื้อหาบทความ SEO เพื่อบรีฟต่อให้กับนักเขียนคอนเทนต์
คนทำ SEO ไม่ว่าจะเป็นนักพัฒนาเว็บไซต์ หรือคนปรับระบบหลังบ้านให้สอดคล้องกับ SEO รวมถึงคนที่วางโครงสร้างเว็บไซต์ อาจต้องใช้งาน Google SERP ประกอบด้วยเช่นกัน เพื่อวิเคราะห์คู่แข่งและวางแผนปรับปรุงเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับหลักการ SEO ใน Keyword นั้น
Google SERP ก็ค่อนข้างสำคัญกับ SEO Content Creators หรือนักเขียนบทความ SEO เช่นกัน โดยนักเขียนที่มีหน้าที่สร้างสรรค์เนื้อหาให้สอดคล้องกับหลักการ SEO และต้องการจะสู้กับคู่แข่งให้ได้ ควรวิเคราะห์คู่แข่ง ซึ่งสามารถอาศัย Google SERP เป็นตัวช่วยได้
แม้ว่า Google SERP จะมีไว้เพียงแสดงผลอันดับเท่านั้น แต่อย่างที่ได้กล่าวไปมาว่า SERP มีส่วนประกอบต่างๆ หลากหลาย โดยส่วนประกอบเหล่านั้นสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการทำ SEO ได้ โดยวิธีการใช้งาน Google SERP คือการเก็บเอาเนื้อหาที่ติดอันดับต้นๆ สังเกตองค์ประกอบต่างๆ ตั้งแต่ชื่อเรื่องไปจนถึงการเขียนเนื้อหาฉบับเต็ม โดยไอเดียที่นำมาปรับใช้ได้จาก Google SERP นั้น ได้แก่
นอกจากการสังเกตบนหน้า Google SERP แล้ว ยังมีเครื่องมือบางอย่างที่มีไว้สำหรับใช้งานบน SERP เพื่อระบุข้อมูลเชิงลึกลงไปอีก ช่วยให้วิเคราะห์คู่แข่งได้ลึกขึ้นกว่าเดิม ในครั้งนี้จะขอแนะนำเครื่องมือดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น SEO Quake, Moz Bar, Serp Analyzer และ Semalt
จากที่ได้กล่าวไปว่า Google SERP คือ หน้าที่แสดงผลของการค้นหา ซึ่งมีส่วนประกอบหลายอย่างด้วยกัน เหมาะสำหรับคนทำ SEO อย่างยิ่ง ใช้ในการวิเคราะห์คู่แข่ง เพื่อสร้างสรรค์เนื้อหาและวางโครงเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับหลักการของ SEO มากที่สุด ซึ่งการอ้างอิงจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว ก็ถือเป็นวิธีการหนึ่งที่น่าสนใจ โดยสวามารถใช้ Google SERP เป็นตัวช่วยได้
]]>