Digital Marketing – SEO Master บริษัทรับทำ SEO รับดูแลเว็บไซต์ ราคาถูก ครบวงจร https://seomasterth.com SEO MASTER Wed, 17 Jan 2024 11:59:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.5 https://seomasterth.com/wp-content/uploads/2023/11/cropped-seomaster-icon-32x32.jpg Digital Marketing – SEO Master บริษัทรับทำ SEO รับดูแลเว็บไซต์ ราคาถูก ครบวงจร https://seomasterth.com 32 32 Impression คืออะไร อีกตัวชี้วัดสำคัญของ Digital Marketing https://seomasterth.com/what-is-impression/ Wed, 17 Jan 2024 11:59:52 +0000 https://seomasterth.com/?p=28001 การเลือกใช้ช่องทาง Digital Marketing ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ หรือ Social Media ก็ตาม ทุกโพสต์ ทุกแคมเปญที่ธุรกิจเลือกทำย่อมคาดหวังถึงผลลัพธ์เชิงบวกให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ ซึ่งสิ่งที่หลายคนเรียกว่า “Impression” เป็นอีกสถิติตัวเลขที่มีความน่าสนใจ และยังช่วยบ่งบอกแนวทางที่เหมาะสมว่าควรวางแผนด้วยกลยุทธ์การตลาดออนไลน์แบบไหนต่อ แล้ว Impression คืออะไร มีความสำคัญต่อโลกการตลาดดิจิทัลขนาดไหน มาหาข้อมูลกันเลย

Impression คืออะไร

Impression คือ จำนวนครั้งที่เนื้อหาคอนเทนต์ หรือโฆษณาที่คุณลงไว้บนช่องทางออนไลน์ถูกแสดงขึ้นมาไม่ว่าจะอยู่บนหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ หรือบน Social Media ก็ตาม โดยตัวเลขสถิติที่ระบุจะไม่ได้สนใจว่าเนื้อหาดังกล่าวมีคนมองเห็น กดเข้าชมหรือไม่ก็นับเป็น 1 Impression ไปจนถึงเนื้อหาเดิมถูกแสดงขึ้นใหม่ มีผู้รับชมคนเดิมกดเข้าไปดูซ้ำอีกครั้งก็จะนับเป็น 1 Impression เช่นกัน จึงสรุปได้ว่ายิ่งเนื้อหาที่คุณลงปรากฏบนหน้าเว็บ หน้า Social Media บ่อยเท่าไหร่ จำนวน Impression ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น

ดังนั้นถ้าอธิบายให้เข้าใจง่ายมากขึ้นทุก ๆ 1 Impression จะเกิดจากการที่เนื้อหาปรากฏไม่ว่าจะมีคนเห็น มีคนคลิกรับชมหรือไม่ก็ตาม และแม้จะเป็นคนเดิมกดซ้ำเข้าไปดู แต่ถ้าเนื้อหาดังกล่าวเป็นการปรากฏขึ้นครั้งใหม่ก็นับ 1 Impression

ตัวอย่างเช่น นาย A เปิด Facebook ขึ้นมาแล้วเห็นโฆษณาของคุณครั้งแรก แม้ยังไม่กดเข้าไปดูก็นับ 1 Impression จากนั้นเขาเลื่อนเข้าไปหน้าโพสต์ หน้าเพจอื่นเรื่อย ๆ เมื่อเปิดหน้า Home ของ Facebook อีกรอบ เขาก็เห็นโฆษณาเดิมของคุณอีก ไม่ว่า นาย A จะกดเข้าไปรับชมหรือไม่ก็ตาม เท่ากับได้อีก 1 Impression รวมเป็นได้จาก นาย A 2 Impression

ความแตกต่างระหว่าง Impression กับ Reach

คนที่ทำการตลาดออนไลน์โดยเฉพาะต้องรับหน้าที่ผลิตคอนเทนต์ ทำโฆษณา แล้วลงกับช่องทางต่าง ๆ จากนั้นก็นำตัวเลขสถิติมาวิเคราะห์มักพบเจอกับคำที่ใช้บ่งบอกสถิติดังกล่าวอยู่ 2 คำ ระหว่าง Impression กับ Reach ซึ่งความแตกต่างที่ชัดเจนโดยสรุปนั้น Reach จะเป็นตัวเลขจะคำนวณยอดออกมาเฉพาะคนที่เห็นเนื้อหาของคุณต่อ 1 คน หรือ 1 บัญชี เท่านั้น หากเขากดเข้ามาดูซ้ำในครั้งถัดไปด้วยบัญชีเดิมก็จะไม่นับตัวเลขดังกล่าว

ความสำคัญของ Impression ในการทำ Digital Marketing

1. บ่งบอกถึงความน่าสนใจของเนื้อหา

สถิติตัวเลขของ Impression จะบ่งบอกได้ชัดเจนว่าเนื้อหาคอนเทนต์ โฆษณาของคุณได้รับความสนใจมากน้อยแค่ไหน หากสถิติเพิ่มเยอะขึ้นเท่ากับคนที่เลื่อนผ่านแม้ไม่ทันได้สังเกตเห็นหรือคลิกเข้าชมก็มีสูง จนทำให้ระบบของเว็บที่คุณลงเนื้อหาไว้ดันโพสต์ ดันโฆษณา ให้คนกลุ่มดังกล่าวเห็นอยู่ตลอด

2. เพิ่มการรับรู้ของแบรนด์

เมื่อมีคนเห็นเนื้อหามากขึ้นเรื่อย ๆ แม้เขาไม่เคยคลิกเข้ารับชมมาก่อน แต่ส่วนใหญ่มักรู้สึกคุ้นชิน เห็นผ่านตาประจำ พอนึกถึงสินค้า / บริการที่คุณทำธุรกิจอยู่ ชื่อแบรนด์ของคุณจะผุดขึ้นมาอยู่ในความคิด ซึ่งคนเหล่านี้สามารถบอกต่อให้กับคนอื่นที่มีความสนใจได้อีกด้วย

3. เพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขาย

เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อการรับรู้ของแบรนด์มากขึ้น ผู้คนที่พบเห็นเริ่มรู้สึกคุ้นชิน โอกาสที่พวกเขาอยากทดลองใช้สินค้า / บริการก็มีเพิ่มตามไปด้วย ยอดขายจึงมีสิทธิ์เพิ่มขึ้น และถ้าหากผลิตภัณฑ์น่าประทับใจนอกจากการซื้อซ้ำยังเกิดการบอกต่อ

4. ประเมินแนวโน้มการทำเนื้อหาในอนาคต

ค่า Impression ยังสามารถบ่งบอกแนวโน้มหรือกลยุทธ์ที่จะใช้สำหรับทำคอนเทนต์ ทำโฆษณาออนไลน์ในอนาคตได้ด้วย เช่น ถ้ามี Impression สูง แต่ค่า Reach ต่ำ ก็อาจบอกได้ว่าผู้รับชมเป็นแค่คนบางส่วน และอาจยังไม่ดึงดูดใจให้พวกเขาคลิกเข้าอ่านมากพอ

5. วิเคราะห์ต้นทุนกับความคุ้มค่า

ตัวเลขของ Impression ยังบ่งบอกถึงความคุ้มค่าของผลตอบแทนที่คุณลงทุนไปกับการทำโฆษณา หรือ ทำคอนเทนต์ลงบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้ เช่น ถ้าทำลง Facebook แล้วผลตอบรับไม่ดีก็อาจมีการปรับต้นทุนส่วนนี้เพื่อใช้ในการลงผ่านเว็บไซต์แทน

รู้จักกับประเภทของ Impression

1. Served Impression

ตัวเลขนี้จะระบุจำนวนครั้งที่โพสต์มีการถูกส่งให้ผู้รับชมได้เห็นโดยไม่ต้องสนใจว่ามีใครเห็นจริงหรือแค่เลื่อนผ่าน จุดประสงค์หลักของสถิติที่ได้มักนำมาวิเคราะห์ประสิทธิภาพเบื้องต้นของตัวแคมเปญแบบกว้าง ๆ ว่าสามารถเข้าถึงผู้คนได้มากน้อยแค่ไหน

2. Viewable Impression

อีกประเภทของ Impression ซึ่งจะแสดงตัวเลขเมื่อคนพบเจอโพสต์ของคุณแล้วมีการเข้าถึงจริงมากน้อยแค่ไหน เสมือนเป็นการวัดประสิทธิภาพแคมเปญอย่างแท้จริงคล้ายกับ Reach แต่คนเดิมสามารถดูซ้ำแล้วนับคะแนนได้ สามารถนำเอาตัวเลขไปใช้วิเคราะห์เพื่อสร้างแคมเปญใหม่ให้เกิดความแม่นยำต่อกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

สรุป

Impression เป็นตัวเลขสถิติที่สามารถบ่งบอกความสำเร็จแคมเปญของแบรนด์ที่ทำบน Digital Marketing ได้ในระดับหนึ่ง หากมีตัวเลขสูงอย่างน้อยก็บ่งบอกได้ว่าแคมเปญนั้น ๆ มีคนผ่านตาเยอะ ซึ่งบางส่วนก็อาจคลิกเข้ารับชมต่อได้ สร้างแนวทางที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาเนื้อหาครั้งถัดไปให้ดีขึ้น มากไปกว่านั้นยังสร้างการจดจำแบรนด์ที่มีต่อผู้คน และยังเพิ่มโอกาสสร้างยอดขายในอนาคตได้อีกด้วย

 

]]>
Lead Quality by Channels เรื่องที่ธุรกิจควรให้ความสำคัญ  https://seomasterth.com/lead-quality-by-channels/ Sun, 24 Dec 2023 14:00:54 +0000 https://seomasterth.com/?p=26899 Lead GenerationQuality by Channels เรื่องที่ธุรกิจควรให้ความสำคัญ 

 

การเพิ่ม Lead กลายเป็นเป้าหมายสำคัญของหลายๆ ธุรกิจ เพราะ Lead สามารถเปลี่ยนเป็นลูกค้าและนำมาซึ่งยอดขายได้ แต่ก็ไม่ควรให้ความสำคัญกับ Lead เพียงอย่างเดียว เพราะหลายครั้งการบริหารต้นทุนก็พลาดพลั้งเพราะมัวแต่มุ่งอยู่กับ Lead มากเกินไป แต่ Lead เหล่านั้นอาจไม่มีคุณภาพมากพอ หรือไม่ใช่ Lead ที่จะเปลี่ยนเป็นลูกค้าได้ ทำให้การทุ่มงบไปกับตรงนั้นสูญเสียมูลค่าบางอย่างไป ธุรกิจทั้งหลายจึงจำเป็นต้องหันมาใส่ใจกับ Lead Quality by Channels ให้มากขึ้น ซึ่งในบทความนี้จะมาอธิบายโดยละเอียดให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง 

 

Lead Quality by Channels คืออะไร?

 

Lead Quality by Channels คือ Lead ที่มีคุณภาพต่อช่องทางที่นำเข้ามา โดย Lead คือการเข้าถึงสินค้า หากเปรียบเทียบกับร้านค้า Lead ก็คือจำนวนคนที่เดินเข้ามาในร้าน ส่วน Lead Quality คือ Lead ที่มีคุณภาพ มักหมายถึง Lead ที่เปลี่ยนเป็นลูกค้าภายหลัง เช่น มีคนเดินเข้าร้านค้า 100 คน ใน 100 คนนั้นมีการซื้อสินค้าในร้าน 20 คน หมายความว่า Lead = 100 ส่วน Lead Quality = 20 นั่นเอง

 

ส่วนหนึ่ง Lead มักใช้วัดคนที่เข้าถึงโฆษณา แล้วจะเปลี่ยนเป็นลูกค้าในภายหลังให้กลายเป็น Lead Quality และส่วนมากธุรกิจมักมีการเผยแพร่โฆษณาออกไปหลายช่องทาง (Channel) ด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น การที่ธุรกิจ A เผยแพร่โฆษณา 3 ช่องทาง ได้แก่ Google, Facebook และ Instagram โดยมีคนเห็นโฆษณา Google 100 คน โฆษณา Facebook 200 คน และโฆษณา Instagram 500 คน 

 

แน่นอนว่าถ้าหากวัดเฉพาะ Lead ช่องทาง Instagram ถือว่าทำได้ดีที่สุด เพราะนำพา Lead เข้ามาได้มากที่สุด แต่ถ้าหากถามว่าคนที่เห็นโฆษณาแต่ละช่องทางได้กลายเป็นลูกค้าทั้งหมดเท่าไร ก็จะต้องดูลึกลงไปอีก สมมติว่า

 

  • คนเห็นโฆษณา Google 100 คน มีคนซื้อสินค้าจากโฆษณานั้น 20 คน 
  • คนเห็นโฆษณา Facebook 200 คน มีคนซื้อสินค้าจากโฆษณานั้น 30 คน
  • คนเห็นโฆษณา Instagram 500 คน มีคนซื้อสินค้าจากโฆษณานั้น 50 คน 

 

จากนั้นนำมาคำนวณหา %Lead Quality ซึ่งจะเท่ากับ (Lead Quality/Lead) x 100 เท่ากับว่า Lead Quality ของแต่ละ Channel (Lead Quality by Channels) เป็นดังนี้ 

 

  • คนเห็นโฆษณา Google %Lead Quality = (20/100) x 100 = 20%
  • คนเห็นโฆษณา Facebook %Lead Quality = (30/200) x 100 = 15% 
  • คนเห็นโฆษณา Instagram %Lead Quality = (50/500) x 100 = 10%

 

หมายความว่าถึงแม้ Lead บน Instagram จะมีจำนวนมากที่สุด แต่ %Lead Quality นั้นต่ำที่สุด ขณะที่  Lead บน Google มีจำนวนน้อยที่สุด แต่ %Lead Quality นั้นมากที่สุด แปลว่า Lead Quality by Channels ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือ Google นั่นเอง

 

ดังนั้นเมื่อต้องบริหารงบโฆษณาในอนาคต ก็ควรทุ่มงบให้กับ Google มากที่สุด เว้นแต่ว่างบโฆษณาจะมีราคาถูกแพงไม่เท่ากัน ก็อาจต้องเอางบแต่ละช่องทางมาคำนวณร่วมด้วย เพื่อหาช่องทางที่คุ้มค่าที่สุดในการโฆษณา

Lead Quality by Channels นั้นสำคัญกับการคำนวณความคุ้มค่าที่ลึกกว่าการเล็งไปที่จำนวน Lead เพียงอย่างเดียว โดย Lead Quality by Channels ช่วยให้ธุรกิจสามารถเลือกช่องทางให้เหมาะสมกับการตลาดและการดำเนินการทางธุรกิจในด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

 

นอกจากการคำนวณหา %Lead Quality ต่อ Lead ทั้งหมดแล้ว ยังมีสิ่งที่ซับซ้อนมากกว่านั้น อย่างที่ได้กล่าวไปเล็กน้อยว่าบางครั้ง การนำอัตราค่าโฆษณาแต่ละช่องทางมาคำนวณร่วมด้วย ก็เป็นเรื่องที่ควรทำ หากต้องการหาจุดที่คุ้มค่าที่สุด ซึ่งมีอีกหนึ่งสิ่งที่ควรคำนวณ นั่นก็คือ Return of Investment (ROI) 

 

รู้จักกับ Return of Investment (ROI) 

 

Return of Investment หรือเรียกสั้นๆ ว่า ROI เป็นอีกหนึ่งตัวที่ธุรกิจควรนำไปใช้ในการคำนวณหาความคุ้มค่า เนื่องจากเป็นการคำนวณสิ่งที่ได้กลับมาจากการลงทุน ซึ่งในการทำโฆษณาผ่านช่องทางหรือ Channel ต่างๆ ก็ต้องดูว่า แต่ละช่องทางใช้งบไปเท่าไร ได้ยอดขายกลับมาเท่าไร กำไรหรือขาดทุน โดยการคำนวณ ROI มีดังนี้ 

 

ROI จาก Google Analytics ใช้วิธีคิดดังนี้

(Conversion Value – Advertising Cost)/Advertising Cost x 100 = ROI 

Conversion Value = ยอดขายที่เกิดขึ้นจากการโฆษณา

Advertising Cost = ต้นทุนโฆษณา

ยกตัวอย่าง การทำโฆษณาแคมเปญ A บน Google และ Facebook ด้วยต้นทุน 5,000 บาท หลังจากนั้นผ่านไป 1 เดือนเมื่อมาเก็บข้อมูลพบว่า โฆษณา Google ทำยอดขายได้ 20,000 บาท ส่วนโฆษณา Facebook ทำยอดขายได้ 15,000 บาท เมื่อคำนวณ ROI จะพบว่า

 

  • ROI จากแคมเปญ A ใน Google = (20,000 – 5,000)/5,000 x 100 = 300%
  • ROI จากแคมเปญ A ใน Facebook = (15,000 – 5,000)/5,000 x 100 = 200%

หมายความว่า การโฆษณาแคมเปญ A บน Google นั้นได้กำไรสูงกว่าการโฆษณาแคมเปญ A บน Facebook ซึ่งแสดงถึงความคุ้มค่าที่มากกว่า

ROI by Won Deal Value 

การคำนวณ ROI จาก Google Analytics เป็นเพียงการคิดกำไรกำไรจากต้นทุนโฆษณาเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าอยากรู้ต้นทุนทั้งหมด ควรนำต้นทุนการดำเนินงานมาคิดรวมด้วย ซึ่งสามารถหาได้จาก ROI by Won Deal Value 

 

ROI by Won Deal Value ใช้วิธีคิดดังนี้

[Won Deal Value – (Marketing Cost + Selling Cost)/(Marketing Cost + Selling Cost)] x 100

Won Deal Value = ยอดขายของดีลที่ปิดการขายได้

Marketing Cost = ต้นทุนการตลาด

Selling Cost = ต้นทุนในการขาย

ยกตัวอย่างเช่น ดีล A ปิดการขายได้ 60,000 บาท ใช้งบการตลาดไปทั้งหมด 10,000 บาท มีการใช้ค่าแรงพนักงานฝ่ายขาย (Sale) ในการปิดดีลทั้งหมด 13,000 บาท 

ROI by Won Deal Value =  [60,000 – (10,0000 + 13,000)/(10,0000 + 13,000)] x 100 = 160%

 

จากที่ได้กล่าวมาจะเห็นว่า Lead Quality by Channels คืออีกหนึ่งเรื่องที่ถือว่าสำคัญกับธุรกิจอย่างมาก และธุรกิจไม่ควรให้ความสำคัญกับ Lead เพียงอย่างเดียว แต่ควรพิจารณาด้วยว่าช่องทางไหนที่เหมาะกับการลงทุนมากที่สุด ทั้งนี้ควรนำเรื่องของต้นทุนต่างๆ มาคำนวณร่วมด้วย นอกเหนือจาก Lead Quality by Channels อย่างเช่นการคำนวณ ROI เพื่อวัดความคุ้มค่าที่เหมาะสมที่สุด ช่วยในการบริหารต้นทุน เพื่อสร้างกำไรให้ได้มากที่สุด 

 

 

 

]]>
SWOT Analysis คืออะไร ทำไมทุกธุรกิจถึงไม่ควรมองข้าม https://seomasterth.com/swot-analysis/ Sun, 24 Dec 2023 13:55:32 +0000 https://seomasterth.com/?p=26902 SWOT Analysis คืออะไร ทำไมทุกธุรกิจถึงไม่ควรมองข้าม

 

SWOT Analysis คือความสำคัญอีกหนึ่งประการในการทำธุรกิจ เนื่องจากขั้นตอนนี้เป็นการวิเคราะห์ตัวเองที่จะนำไปสู่สนามการแข่งขันในธุรกิจ ทำให้การวิเคราะห์นี้สำคัญ หากขาดการวิเคราะห์ในส่วนนี้อาจไม่สามารถไปต่อในธุรกิจนั้นได้เลย ดังนั้นไม่ว่าใครก็ตามที่กำลังจะเริ่มต้นธุรกิจ จะต้องผ่านการวิเคราะห์ SWOT ให้ดีเสียก่อน เพื่อการดำเนินงานที่มีศักยภาพ ครั้งนี้ทางบทความก็ได้นำเอาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ SWOT มาฝาก ดังนี้

 

SWOT Analysis คืออะไร?

 

SWOT Analysis คือการวิเคราะห์องค์ประกอบ 4 ด้านของธุรกิจ ได้แก่ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ซึ่ง SWOT นั้นมาจาก 

 

  • S = Strength หมายถึง จุดแข็ง
  • W = Weakness หมายถึง จุดอ่อน
  • O = Opportunities หมายถึง โอกาส
  • T = Threats หมายถึง อุปสรรค

 

SWOT Analysis คือความสำคัญต่อการทำธุรกิจทุกประเภท เป็นตัวช่วยที่จะทำให้เกิดกลยุทธ์ที่ชัดเจน สามารถต่อสู้กับคู่แข่งในตลาดได้อย่างมีศักยภาพ หากวิเคราะห์ SWOT ได้อย่างแม่นยำ ก็จะทำธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง โดยการวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกธุรกิจ ซึ่งจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจคือปัจจัยภายใน ส่วนโอกาสและอุปสรรค์คือปัจจัยภายนอก 

 

SWOT และการวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength)

 

ด้านแรกในการทำ SWOT Analysis คือการวิเคราะห์จุดแข็ง ที่คนทำธุรกิจจะต้องหาจุดแข็งในธุรกิจของตัวเองให้เจอว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งจุดแข็งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากไม่มีจุดนี้อาจไม่สามารถทำธุรกิจต่อไปได้ เพราะไม่สามารถต่อสู้กับคู่แข่งได้เลย โดยจุดแข็งนั้นจะทำให้ธุรกิจได้เปรียบคู่แข่ง สำหรับจุดแข็งของธุรกิจสามารถวิเคราะห์ได้จากสินค้า บริการ แผนการตลาด รวมถึงการทำงานของบุคลากร ฯลฯ

 

แนวทางการตั้งคำถามเพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง

 

  • ข้อได้เปรียบในธุรกิจมีอะไรบ้าง
  • สินค้าหรือบริการของเรามีจุดเด่นอะไร
  • การดำเนินงานได้เปรียบคู่แข่งหรือไม่
  • ต้นทุนที่มีเหนือกว่าคู่แข่งหรือไม่

 

SWOT และการวิเคราะห์จุดอ่อน (Weakness)

 

ด้านต่อมาในการทำ SWOT Analysis คือการวิเคราะห์จุดอ่อน ซึ่งทุกธุรกิจมีจุดอ่อนและธุรกิจนั้นๆ ก็ต้องรู้จุดอ่อนของตัวเอง และวิเคราะห์ออกมาให้ได้ว่าจุดอ่อนที่มีคืออะไรบ้าง ทั้งนี้ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการโจมตีจากคู่แข่งในธุรกิจ และเพื่อพัฒนาจุดนั้นให้ดีขึ้นต่อไปในอนาคต สำหรับการวิเคราะห์จุดอ่อน เช่นกันสำหรับการวิเคราะห์จุดอ่อน สามารถวิเคราะห์ได้จากสินค้า บริการ แผนการตลาด รวมถึงการทำงานของบุคลากร ฯลฯ

 

แนวทางการตั้งคำถามเพื่อวิเคราะห์จุดอ่อน

 

  • ข้อเสียเปรียบในธุรกิจมีอะไรบ้าง
  • สินค้าหรือบริการของเราด้อยกว่าคู่แข่งตรงไหนบ้าง
  • การดำเนินงานยังขาดตกบกพร่องส่วนไหนบ้าง
  • มีต้นทุนส่วนไหนที่ยังด้อยกว่าคู่แข่ง เช่น เงิน แรงงาน เทคโนโลยี ฯลฯ

SWOT และการวิเคราะห์โอกาส (Opportunities)

 

ด้านต่อมาในการทำ SWOT Analysis คือการวิเคราะห์โอกาส โดยการประเมินว่ามีโอกาสไหนบ้างที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจต่อไป และมีโอกาสไหนบ้างที่จะนำไปสู่การเอาชนะคู่แข่งได้ โอกาสคือสถานการณ์ภายนอกที่ส่งผลดีต่อธุรกิจ สามารถวิเคราะห์ได้จากสภาพแวดล้อมหลายอย่าง เช่น เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี เป็นต้น ทั้งนี้ธุรกิจจำเป็นต้องติดตามความเคลื่อนไหวของสภาพแวดล้อมเหล่านั้นอย่างใกล้ชิด และ Update ข้อมูลอยู่เสมอ เพื่อแผนปรับตัวในอนาคต  

 

แนวทางการตั้งคำถามเพื่อวิเคราะห์โอกาส

 

  • สภาพเศรษฐกิจช่วงเวลาไหนที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ
  • พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายช่วงไหนมีแนวโน้มที่จะบริโภคสินค้ามากที่สุด
  • สินค้าของธุรกิจทดแทนสินค้าอื่นๆ ได้บ้างหรือไม่
  • สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นมีอะไรบ้าง

 

SWOT และการวิเคราะห์อุปสรรค (Threats)

 

ด้านต่อมาในการทำ SWOT Analysis คือการวิเคราะห์อุปสรรค ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลเสียต่อการดำเนินงานทางธุรกิจและการแข่งขันทางธุรกิจ เช่นเดียวกันสำหรับการวิเคราะห์อุปสรรคก็สามารถวิเคราะห์ได้จากสภาพแวดล้อมหลายอย่าง เช่น เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี เป็นต้น และเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องติดตามความเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เพื่อนำไปสู่แผนปรับตัวในอนาคตเช่นเดียวกับโอกาส  

 

แนวทางการตั้งคำถามเพื่อวิเคราะห์อุปสรรค

 

  • สภาพเศรษฐกิจช่วงเวลาไหนที่เป็นอุปสรรคการทำธุรกิจ
  • พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายช่วงไหนมีแนวโน้มที่จะบริโภคสินค้าน้อยที่สุด
  • มีสินค้าอื่นไหนที่ทดแทนสินค้าของเราได้บ้าง
  • สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อความต้องการสินค้าที่ลดลงมีอะไรบ้าง

ยกตัวอย่างการทำ SWOT Analysis

 

ธุรกิจ A ผลิตเสื้อกันหนาวแบรนด์ใหม่ มาพร้อมนวัตกรรมล่าสุดที่ยังไม่มีใครเคยทำได้มาก่อน ที่มาจากแรงงานฝ่ายคิดค้นนวัตกรรมใหม่เพียงคนเดียว แต่เป็นคนที่มีรางวัลการคิดค้นนวัตกรรมการันตี และเป็นที่ต้องการตัวในหลายๆ บริษัท ส่วนสินค้าเป็นเสื้อกันหนาวที่ผลิตจากผ้าแห้งไวภายใน 30 นาที ทำให้ประหยัดเวลาในการตาก ปัจจุบันมีแรงงานฝ่ายผลิตในโรงงานไม่ถึง 100 คน ผลิตได้เดือนละไม่เกิน 5,000 ชิ้น ขายเฉพาะออนไลน์ ยังไม่มีหน้าร้าน ขายในราคาที่ถูกกว่าเสื้อกันหนาวแบรนด์ดังที่ไม่มีนวัตกรรมอะไรเลย สามารถวิเคราะห์ SWOT ได้ดังนี้

 

วิเคราะห์จุดแข็ง (Strength)

 

  • ผ้าแห้งไวภายใน 30 นาที ยังไม่เคยมีในท้องตลาด
  • ราคาขายถูกกว่าเสื้อกันหนาวแบรนด์ดังที่ไม่มีนวัตกรรมอะไร
  • ธุรกิจมีแรงงานฝ่ายคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งเป็นที่ต้องการตัวของหลายบริษัท 
  • มีขายในออนไลน์ ครอบคลุมความต้องการของคนที่อาศัยอยู่ไกลจากพื้นที่ดำเนินธุรกิจ

 

วิเคราะห์จุดอ่อน (Weakness)

 

  • แรงงานฝ่ายผลิตยังมีน้อย ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าจำนวนมากได้
  • ขายเฉพาะในออนไลน์ ยังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่นิยมลองเสื้อก่อนตัดสินใจซื้อ
  • เป็นแบรนด์ใหม่ ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก 

 

วิเคราะห์โอกาส (Opportunities)

 

  • เป็นที่ต้องการสูงในฤดูหนาว จึงมีโอกาสทำยอดขายในช่วงฤดูหนาว
  • เป็นที่ต้องการสูงในคนที่มีพื้นที่ตากผ้าค่อนข้างจำกัด
  • ทดแทนการใช้เครื่องอบผ้าได้ เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายที่มีงบจำกัดและไม่สามารถซื้อเครื่องอบผ้าได้

 

วิเคราะห์อุปสรรค (Threats)

 

  • เป็นที่ต้องการต่ำนอกฤดูหนาว จึงเป็นอุปสรรคต่อการทำยอดขายในช่วงฤดูอื่น
  • เครื่องอบผ้าทดแทนสินค้านี้ได้ เพราะใช้เวลาในการทำให้ผ้าแห้งพอกัน มีอุปสรรคต่อการทำยอดขายกับคนที่มีเครื่องอบผ้าใช้งานอยู่แล้ว

 

SWOT Analysis คือขั้นตอนที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ การวิเคราะห์ตามแผนนี้จะทำให้รู้จักตัวเองมากขึ้น และประเมินความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม สามารถคิดกลยุทธ์เพื่อรับมือกับอุปสรรคในการทำยอดขาย และจัดการกับจุดอ่อนของธุรกิจตัวเองได้ด้วยแผนการต่างๆ 

]]>
Engagement คืออะไร จำเป็นแค่ไหนในการทำธุรกิจ https://seomasterth.com/what-is-engagement/ Sun, 24 Dec 2023 13:52:11 +0000 https://seomasterth.com/?p=26911 Engagement คืออะไร จำเป็นแค่ไหนในการทำธุรกิจ

 

มารู้จักกับ Engagement คือตัวชี้ให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของผู้รับสารที่มีต่อเนื้อหานั้น โดยในบทความนี้จะเจาะจงเรื่องของ Engagement บนออนไลน์โดยเฉพาะ ซึ่งจะอธิบายถึงความหมายและความสำคัญในการทำธุรกิจ จะมีอะไรบ้างที่คนทำธุรกิจออนไลน์ควรรู้ เกี่ยวกับ Engagement ไปดูพร้อมๆ กันได้เลย

 

Engagement คืออะไร?

 

Engagement คือการมีส่วนร่วม หากพูดกันในทางออนไลน์ จะเป็นการแสดงการมีส่วนร่วมกับเนื้อหาที่เผยแพร่ลงบนช่องทางออนไลน์ต่างๆ กระทำโดยผู้รับสารนั้นๆ นั่นก็คือผู้พบเห็นเนื้อหาในรูปแบบของโพสต์ต่างๆ นั่นเอง ซึ่งรูปแบบของ Engagement ก็มีหลากหลาย มักแสดงเป็นตัวเลขสถิติทั้งหน้าบ้านและหลังบ้าน นักการตลาดออนไลน์สามารถนำข้อมูลตัวเลขเหล่านี้ ไปวางแผนทำการตลาดต่อได้ โดยเฉพาะการผลิตเนื้อหา (Content) ลงบนออนไลน์

 

หากอธิบายแบบนี้แล้วยังนึกไม่ออก ลองนึกถึงปุ่มแสดงอารมณ์บน Facebook พวกปุ่ม Like Love Wow Angry Laugh Sad หากมีผู้พบเห็นโพสต์หนึ่งและมีการกดปุ่มใดปุ่มหนึ่ง นั่นคือการแสดง Engagement กับโพสต์นั้นแล้ว แต่ Engagement ก็ไม่ได้เจาะจงเพียงแค่การกดปุ่มแสดงอารมณ์เท่านั้น เพราะการกดปุ่ม Share ไปจนถึงการกดปุ่ม “อ่านเพิ่มเติม” ก็เป็น  Engagement ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมี Engagement อีกหลายแบบที่จะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป 

บนออนไลน์รูปแบบ Engagement คืออะไรบ้าง?

 

จากที่ได้กล่าวไปว่า Engagement คือการมีส่วนร่วม ซึ่งการมีส่วนร่วมก็มีหลายแบบด้วยกัน โดยจะยกตัวอย่างให้เข้าใจเบื้องต้น ดังนี้  

 

การกดปุ่ม Reaction

 

Engagement แบบแรกที่หลายคนคุ้นเคยก็คือการกดปุ่ม Reaction อย่างใน Facebook ก็จะมีหลายปุ่ม ได้แก่ ปุ่ม Like Love Wow Angry Laugh Sad ส่วนในแพลตฟอร์มอื่นๆ ก็มีปุ่ม Reaction เช่นกัน อย่างใน Intagram มีปุ่มที่เป็นสัญลักษณ์หัวใจเอาไว้แสดงความรู้สึก Like หรือ Love ส่วนใน X มีปุ่ม Like ใน TikTok ก็มีปุ่ม Like ส่วนใน YouTube จะมีทั้งปุ่ม Like และ Unlike เป็นต้น

 

การกดปุ่มแสดงอารมณ์ความรู้สึกแบบนี้ เป็นตัววัดได้ว่ามีคนชอบหรือไม่ชอบ Content นั้นมากน้อยแค่ไหน ควรทำเนื้อหาแบบนั้นต่อไปหรือไม่ หรือควรปรับเนื้อหาเป็นแนวทางอื่น

 

การ Comment 

 

อีกหนึ่งรูปแบบของ Engagement คือการ Comment ที่แสดงถึงการมีส่วนร่วม อีกทั้งยังแสดงออกได้ชัดเจนที่สุดว่าผู้รับสารรู้สึกอย่างไรกับเนื้อหานั้น การวิเคราะห์ผลของ Comment สามารถนำไปต่อยอดในการผลิต Content ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังพบว่าบางแพลตฟอร์มยังให้ความสำคัญกับ Comment โดยการดันเนื้อหาให้ขึ้น Feed บ่อยๆ สำหรับ Content ที่มี Comment จำนวนมาก 

 

การแชร์

 

การแชร์ก็เป็น Engagement ที่มีประโยชน์กับแบรนด์ ยิ่งแชร์มากเท่าไร ยิ่งแสดงออกถึงความน่าสนใจของ Content นั้น หากเป็นสินค้า กรณีที่มีการแชร์เยอะ อาจส่งผลให้เกิดการสร้างยอดขายได้ด้วย

 

การกดอ่านเพิ่มเติม

 

รูปแบบถัดมาของ Engagement คือการกดอ่านเพิ่มเติม หากมี Content หนึ่งถูกโพสต์พร้อมกับแคปชั่นยาวๆ จนแสดงได้ไม่หมด และต้องกดอ่านเพิ่มเติม จึงจะสามารถอ่านต่อได้ และถ้าหากมีการกดอ่านเพิ่มเติม ก็หมายความว่ามีคนสนใจเนื้อหานั้น ยิ่งกดมากแค่ไหน ก็ยิ่งแสดงถึงความสนใจที่มากตามไปด้วย 

 

แม้เนื้อหานั้นอาจจะมีการกด Reaction ที่ไม่มากนักก็ตาม เหมาะสำหรับการทำ Content ข่าว หรือบทความต่างๆ แม้แต่การขายของ ก็สามารถวัดผลได้ เพราะถ้าหากมีการกดเพื่ออ่านรายละเอียดสินค้านั้นเพิ่มเติม ก็หมายความว่ามีคนสนใจสินค้านั้นแล้ว สอดคล้องกับการทำยอดขายได้เช่นกัน

 

กดคลิกลิงค์

 

โพสต์ไหนก็ตามที่มีการแนบลิงค์ไว้ อย่างเช่นใน Facebook อาจแนบลิงค์ไว้ที่ Caption ส่วนใน Instragram Shopping ก็สามารถติดลิงค์ไปยังเว็บไซต์ได้เช่นกัน ทั้งนี้พวกโพสต์ที่มีการคลิกลิงค์ก็จะถูกนับเป็น Engagement ด้วย แสดงถึงการมีส่วนร่วมได้ ยิ่งถ้าหากลิงค์นั้นเป็นลิงค์ขายสินค้า การคลิกลิงค์ยิ่งสัมพันธ์กับโอกาสในการสร้างยอดขายด้วย 

 

การส่งข้อความ

 

การเผยแพร่ Content บางแพลตฟอร์ม สามารถติดปุ่มส่งข้อความบนเนื้อหานั้นได้ อย่างเช่น Content บน Facebook ที่สามารถติดปุ่มส่งข้อความได้ ซึ่งถ้าหากเป็นเนื้อหาขายสินค้า มักชวนให้คนเข้ามาซื้อทาง Inbox และการที่คนกดปุ่มส่งข้อความก็แปลว่ากำลังสนใจซื้อสินค้านั้นอยู่ด้วย อีกทั้งยังมีโอกาสปิดการขายได้ ซึ่ง Engagement นี้ก็ถือว่ามีประโยชน์ต่อการขายอย่างมาก

Engagement จำเป็นกับธุรกิจมากแค่ไหน

 

จากที่ได้กล่าวไปว่า Engagement คือการมีส่วนร่วม ก็คงมีหลายคนสงสัยว่าแล้วการมีส่วนร่วมนั้นจะสำคัญกับธุรกิจแค่ไหนกัน คำตอบนั้นไม่ตายตัว เพราะ Engagement บางรูปแบบสำคัญกับธุรกิจบางประเภท แต่ไม่ได้สำคัญกับธุรกิจทุกประเภท หรืออาจสำคัญกับวัตถุประสงค์บางอย่างกับธุรกิจเท่านั้น อย่างเช่นการกดปุ่ม Reaction นั้นอาจสำคัญค่อนข้างต่ำกับการขายสินค้า แต่สำคัญกับการสร้างการรับรู้ และตรวจสอบกระแสตอบรับต่อสินค้าในเบื้องต้น นอกจากนี้ยังสำคัญกับธุรกิจสื่อที่ขาย Content เป็นหลัก เช่น เพจข่าว เพจนิตยสารออนไลน์ เป็นต้น

 

ขณะที่บาง Engagement ก็สำคัญกับธุรกิจขายสินค้ามาก เช่น การกดปุ่มส่งข้อความ หากโพสต์นั้นได้ระบุไว้แล้วว่าให้สั่งซื้อผ่านข้อความ หรือการกดลิงค์ไปยังหน้าขายสินค้าที่มีระบบสั่งซื้อรองรับ

 

ดังนั้นสิ่งที่แบรนด์ควรให้ความสำคัญกับ Engagement คือรูปแบบการมีส่วนร่วมที่ตอบวัตถุประสงค์หลัก ในการโพสต์เนื้อหาแต่ละครั้งต้องตั้งวัตถุประสงค์เอาไว้ให้ชัด และโฟกัสกับ Engagement ให้ถูกจุด เมื่อเก็บข้อมูลหลังโพสต์ ก็ควรประเมิน Engegement ที่แบรนด์โฟกัสว่าสามารถสร้างสถิติได้น่าพอใจมากน้อยแค่ไหน ในภาพรวม Engagement ยังมีความสำคัญกับธุรกิจอยู่ เพียงแต่แบรนด์เองต้องนำไปวิเคราะห์ให้เหมาะสม 

 

Engagement คือการแสดงถึงการมีส่วนร่วม ยิ่งมีตัวเลขที่สูงเท่าไร ก็หมายความว่าเนื้อหาที่เผยแพร่ออกไป สร้างการมีส่วนร่วมได้มากเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาที่มีประโยชน์หรือเป็นเนื้อหาที่ไร้สาระแค่ไหนก็ตาม หากสร้างการมีส่วนร่วมได้ ก็สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อและวางแผน เพื่อพัฒนาเนื้อหาต่อไปได้ 

]]>
Digital Marketing คืออะไร? การตลาดดิจิทัล สำคัญยังไง https://seomasterth.com/what-is-digital-marketing/ Thu, 21 Dec 2023 15:07:15 +0000 https://seomasterth.com/?p=26723 Digital Marketing คืออะไร ?

          “การตลาด” (Marketing) คือ กระบวนการวางแผนและสร้างสรรค์สินค้า/ บริการ ราคา การจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาดเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนที่ทำให้เกิดความพอใจต่อบุคคลทั่วไปและหน่วยงาน

          ดังนั้น ‘Digital Marketing’ คือ การทำการตลาดรูปแบบใหม่บน Platform ดิจิทัลต่างๆ ไว้โฆษณาประชาสัมพันธ์ ทำแคมเปญทางการตลาด ไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยรูปแบบของการตลาดลักษณะนี้ สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ดังจะเห็นได้จากสื่อโซเชียลช่องทางต่างๆ

Digital marketing สำคัญกับธุรกิจของคุณอย่างไร ?

           Digital Marketing จะช่วยโปรโมทสินค้าหรือบริการของคุณได้อย่างง่ายดาย สามารถเข้าหาลูกค้าได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ลูกค้าของคุณมีส่วนร่วมกับแบรนด์ได้ง่ายมากกว่าเดิม เพิ่มการรู้จักของสินค้าได้ในวงกว้าง และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา

  1. Digital Marketing จะช่วยทำให้ธุรกิจของคุณเป็นที่รู้จัก มีลูกค้าประจำและแนะนำต่อให้ผู้อื่น
  2. Digital Marketing จะชี้เป้าให้ถูกคน เน้นกลยุทธ์ให้ถูกกลุ่ม เพื่อผลลัพธ์ที่คุ้มกับที่ลงทุน
  3. Digital Marketing มีทั้งเครื่องมือและข้อมูล ที่พร้อมช่วยให้เพิ่มการเข้าถึงลูกค้าได้ดีกว่าการตลาดแบบดั้งเดิม

 

ทำไมถึงต้องเป็น Digital Marketing? 

           เพราะปัจจุบันยุคสมัยในเปลี่ยนไป การทำตลาดแบบดั้งเดิมก็เริ่มจะไม่มีผลต่อผู้บริโภคแล้ว เพราะเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทกับการตลาดแล้ว ดังนั้นการทำ Digita Marketing จะช่วยดึงดูดผู้คนมากหน้าหลายตาเข้ามาเจอกันบนโลกเสมือนจริง โลกดิจิทัลเป็นพื้นที่ที่นักการตลาดสามารถใช้ประโยชน์ในการโฆษณาสินค้า บริการ หรือโปรโมตแบรนด์ผ่านช่องทางนี้ได้ 

 

ช่องทางการทำ Digital Marketing 

 

1. Paid Search  

          Paid Searching คือ การทำ Digital Marketing บนช่องทางค้นหาหรืออีกชื่อคือ PPC (Paid-Per-Click) ซึ่งพูดง่ายๆ ก็คือการที่เราจ่ายเงินให้เว็บไซต์หรือโพสต์ของเรา

2. SEO

          Search Engine Optimization (SEO) คือ การทำอันดับให้เว็บไซต์ของลูกค้าอยู่ในตำแหน่งที่สูงในการค้นหาในเว็บไซต์ หรือ Search engine ต่างๆ เช่น Google และ Bing ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่

3. Influencer Marketing

          Influencer Marketing คือ คนดัง หรือ อินฟลูเอนเซอร์ที่อยู่บนโลกออนไลน์ ที่จะช่วยมาโปรโมตสินค้าให้กับเจ้าของธุรกิจ ซึ่งถือเป็น Soft Power อย่างหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มยอดขายได้ โดยเจ้าของธุรกิจไม่จำเป็นต้องไปติดต่ออินฟลูเอนเซอร์เหล่านั้นด้วยตัวเอง แต่จะเป็น Digital Agency ที่จะหาคนที่เหมาะสมกับธุรกิจของเรามากที่สุด ตลอดจนติดต่ออินฟลูเอนเซอร์คนนั้น ๆ ให้อย่างรวดเร็วด้วยเรตราคาที่ได้เฉพาะ Digital Agency เท่านั้น อันจะช่วยให้เจ้าของธุรกิจลดต้นทุนลงได้

4. Social Media Marketing

          Social Media Marketing คือ การทำการตลาดโซเชียลมีเดียให้กับลูกค้า โดยการสร้างและจัดการเนื้อหาบนโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, Twitter เพื่อสร้างความสนใจและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ

5. Email Marketing

          Email Marketing วิธีการที่คลาสสิกแต่ไม่เคยตายของ Digital Marketing คือการส่งจดหมายผ่านทางอีเมล การทำ Marketing วิธีนี้เป็น Owned Channel ที่เราครอบครองข้อมูลและ Contact ของลูกค้าเอาไว้เอง และสามารถทำการตลาดแบบอัตโนมัติได้อีกด้วย

Online Marketing & Digital Marketing ต่างกันอย่างไร ?

          Online Marketing หรือ การตลาดออนไลน์ เป็น วิธีการหนึ่งของ Digital Marketing โดย Online Marketing จะอาศัยอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์ให้เข้าถึงลูกค้าผ่านทางช่องทางต่างๆทั้ง เว็บไซต์ หรือ Social Media Platform เป็นต้น

 

Digital Marketing สำคัญอย่างไร ?

           Digital Marketing สำคัญอย่างมากต่อธุรกิจต่างๆในปัจจุบันที่เข้าสู่ยุคดิจิทัล ผู้คนต่างเข้าถึงอินเทอร์เน็ตกันได้อย่างง่ายดาย การตลาดบนโลกดิจิทัลจึงทำให้สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากได้จากหลากหลายช่อทาง ช่วยเพิ่มช่องทางในการโฆษณา เพิ่มโอกาสในการขาย และสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

 

ตัวอย่าง Martech ยอดนิยมที่ใช้ในการทำ Digital Marketing

  1. HubSpot 
  2. ActiveCampaign
  3. Google Tag Manager
  4. Canva
  5. Figma
  6. Zapier
  7. ระบบ CRM
  8. WordPress
  9. Pipedrive
  10. Buffer

 

          สรุปได้ว่า Digital Marketing ก็คือ การทำการตลาดเพื่อกระจายแบรนด์ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าผ่านสื่อกลาง Digital Marketing ก็คือการทำการตลาดรูปแบบใหม่บน Platform ดิจิทัลต่างๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่โลดแล่นอยู่บนโลกดิจิทัลที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic) เป็นสื่อกลาง

]]>
Digital PR คืออะไร https://seomasterth.com/digital-pr-%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3/ Wed, 20 Dec 2023 16:18:09 +0000 https://seomasterth.com/?p=26651

Digital PR หรือ การประชาสัมพันธ์บนช่องทางออนไลน์นั้น มีการแข่งขันที่สูงมากในยุคนี้ เพราะกลุ่มลูกค้าออนไลน์มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น หลายๆแบรนด์จึงต้องแข่งขันกันเข้าถึงลูกค้าในกลุ่มนี้ให้ได้มากที่สุด การทำ Digital PR ที่ดี จะทำให้แบรนด์สินค้า เข้าถึงลูกค้าได้อย่างแม่นยำ และมีค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่า แต่ในทางกลับกัน หากแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งทำ Digital PR ที่ไม่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารก็จะไปไม่ถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย หรือมีค่าใช้จ่ายที่สูงจนเกินไป

เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำ Digital PR ให้มากยิ่งขึ้นกันครับ

Digital PR คืออะไร

            การทำ Digital PR ก็คือการประชาสัมพันธ์แบรนด์ของเราบนช่องทางออนไลน์  เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายรับรู้  สร้างการมองเห็นให้คนที่มีความสนใจในสินค้า หรือมี activity ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเรา ได้รับรู้ เข้าถึง ปิดการขาย จนไปถึงส่งต่อแบรนด์สินค้าของเราไปยังเครือข่ายของเขา เช่นการทำ SEO (Search engine optimization) , Content Marketing ,Social media ซึ่งจะมีเครื่องมือที่สร้างและเผยแพร่แบรนด์ของเราถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

เหตุใด Digital PR จึงมีความสำคัญ

            นั่นก็เพราะ หัวใจสำคัญของการทำ Digital PR ก็คือ การทำให้แบรนด์ของเราเป็นที่รู้จักมากขึ้นในช่องทางออนไลน์  สร้างภาพลักษณ์ที่ดี มีความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ และนี่คือสาเหตุที่ต้องให้ความสำคัญกัลป์ Digital PR

  • เพื่อให้แบรนด์ของเราติดอยู่ใน SEO ที่มีมูลค่าสูง SEO ที่มีมูลค่าสูง ก็คือคีย์เวิร์ดของแบรนด์เราอยู่ในอันดับต้นๆของการค้นหา ทั้งใน google และ search engine อื่นๆ โดยในช่วงแรกอาจต้องใช้เครื่องมือ และเงินทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสร้างการรับรู้ในช่องทางออนไลน์ ซึ่งเมื่อมีผู้เข้าชมแบบออแกนิคเพิ่มขึ้น นั่นหมายความว่าเรามีการทำ Digital PR จนมี SEO ที่ดี
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อแบรนด์ของเรา ถึงแม้เราจะมี SEO ที่ดี อยู่ในหน้าแรกๆ ของการค้นหา แต่หากแบรนด์ของเรามีภาพลักษณ์ที่ไม่ดี มีการส่งต่อในเครือข่ายของลูกค้า นั่นก็ทำให้ SEO ของเราไม่ส่งผลต่อยอดขาย ซึ่ง Digital PR ที่ดี จะช่วยเพิ่มการรับรู้ภาพลักษณ์ที่ดีให้กลับลูกค้า จนนำไปถึงการเผยแพร่ในเครือข่ายของลูกค้าต่อไป

รู้จัก Digital PR ทั้ง 3 ประเภท

  • Owned media หรือ สื่อประชาสัมพันธ์ที่แบรนด์เป็นเจ้าของเอง เพื่อทำการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น การเผยแพร่แบรนด์ผ่านเว็บไซต์ตนเอง ผ่านบัญชีโซเชียลมีเดียของแบรนด์เอง ผ่านอีเมลมาร์เก็ตติ้ง ซึ่งประสิทธิภาพการเข้าถึงเป้าหมายอาจด้วยกว่า สื่อประเภทอื่น แต่มีข้อดีในเรื่องต้นทุน การบริหาร และเนื้อหาของสื่อประชาสัมพันธ์
  • Paid media หรือสื่อประชาสัมพันธ์ที่ต้องชำระเงินเพื่อเผยแพร่ เช่น การโฆษณาบน google ,Banner เว็บไซต์ที่สัมพันธ์กับสินค้าเรา ,การซื้อโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย หรือกระทั่งการสร้างการรีวิว ซึ่งสื่อประเภทนี้ จะแม่นยำกับกลุ่มเป้าหมาย มีความหลากหลายของแพลตฟอร์ม จนไปถึงการปิดการขายบนสื่อก็สามารถทำได้
  • Earned media หรือสื่อที่มีผู้อื่นสร้างให้ เช่นการแชร์ การส่งต่อในกลุ่มเครือข่าย หรือการแนะนำในโซเชียลมีเดียว ซึ่งสื่อประเภทนี้จะไม่มีค่าใช้จ่าย และเป็นสื่อที่มีคุณค่ากับแบรนด์มาก เพราะหากมีการส่งต่อในแง่ที่ดีของแบรนด์เรา ก็จะเพิ่มลูกค้าได้เป็นทวีคูณ แต่ในทางกลับกัน หากแบรนด์เรามีภาพลักษณ์ที่ไม่ดี ก็จะมีการส่งต่อสิ่งนี้ไปยังเครือข่ายของลูกค้าเรา โดยที่เราไม่สามารถควบคุมได้

ประโยชน์ของการทำ Digital PR

  1. เพิ่มการรับรู้ที่มีต่อแบรนด์

Digital PR จะช่วยสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ให้กับกลุ่มเป้าหมายในช่องทางออนไลน์ เพื่อให้รู้จักในวงกว้าง ทั้งช่องทางเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย หรือแอพพลิเคชัน

  1. ปรับปรุงอันดับการค้นหาแบบ Organic

Digital PR ช่วยปรับปรุงอันดับเว็บไซต์ให้อยู่ในอันดับแรกๆในคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์แบบ organic ซึ่งยิ่งเว็บไซต์มีการคลิ๊กด้วยการค้นหามากเท่าไหร่ อันดับการค้นหาก็จะดีขึ้นตามไปด้วย

  1. เพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์

การทำ Digital PR จะช่วยเพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์ให้มากขึ้น และเพิ่มเวลาในการเข้าชม หรือเพิ่ม Activity ในเว็บไซต์ จะส่งผลให้มีอันดับในการค้นหาแบบ Organic ที่ดียิ่งขึ้น

  1. สร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์

การทำ Digital PR ที่ดีนั้น นอกจากจะสร้างการรับรู้แล้ว ยังสร้างความน่าเชื่อถือ ให้กับแบรนด์ เพราะเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะสร้างโอกาสในการปิดการขายได้

  1. เพิ่มยอดขาย

เป้าหมายหลักของการทำ Digital PR คือการเพิ่มยอดขายให้ได้มากขึ้น เพิ่มยอดขายในกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ หรือลูกค้าเก่า ซึ่งล้วนแล้วต้องพึ่งพาการทำ Digital PR ที่มีคุณภาพ

กลยุทธการทำ Digital PR

ถึงแม้การทำ Digital PR จะช่วยเพิ่มช่องทางการรับรู้ถึงแบรนด์ในช่องทางออนไลน์ได้ดี แต่จะดีไหม หากเรามีกลยุทธในการทำ Digital PR ให้มีประสิทธิภาพขึ้นไปอีก เราลองมาดูกลยุทธในการทำ Digital PR หลักๆที่นิยมกันครับ

  • ให้บล็อกเกอร์ นักรีวิว หรือผู้ที่มีชื่อเสียงในโลกออนไลน์ กล่าวถึงแบรด์ของเรา เพื่อให้ได้การรับรู้ที่มีปริมาณสูง แต่อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามความนิยมของพวกเขาเหล่านั้น
  • มีการสร้างเนื้อหาที่เกี่ยวกับสินค้า หรือแบรนด์ของเรา
  • สร้างอินโฟกราฟฟิกที่โดดเด่น ไม่ซ้ำกับแบรนด์อื่น และต้องสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจง่าย
  • การสร้างกราฟฟิกเคลื่อนไหว และโต้ตอบได้ จะช่วยเพิ่มการประชาสัมพันธ์ได้ดียิ่งขึ้น

เครื่องมือในการทำ Digital PR

  • Google Analytics เป็นเครื่องมือที่ใช้ Monitor Traffic ที่นิยมตัวหนึ่ง เพราะคนส่วนมากนิยมค้นหาจาก Google ทำให้ได้ผลที่ละเอียด เหมาะที่จะนำไปวิเคราะห์ลูกค้า
  • Google Search Console เป็นเครื่องมือในการจัดการ SEO เพื่อตรวจสอบคุณภาพของการประชาสัมพันธ์ และค้นหาจุดผิดพลาดในการทำ SEO
  • Ahrefs Backlink Checker เป็นเครื่องมือตรวจสอบ Backlink ว่ามีประเภทใดบ้าง มาจากที่ไหนบ้าง
  • Semrush เป็นเครื่องมือแนว all in one ที่สามารถทำ SEO ตรวจสอบ Backlink ได้ในตัวเดียว
  • Buzzsumo เป็นเครื่องมือใช้ดูความสนใจใน Social Media เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้า Social Media
  • Google Trends เป็นเครื่องมือที่เช็คเทรนการค้นหาใน Google ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญอีกตัวที่ผู้ทำ Digital PR จะต้องศึกษาก่อนทำ

 

จะเห็นได้ว่าการทำ Digital PR เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อที่จะให้ได้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายในช่องทางออนไลน์ และหากมีการทำที่ดี และสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้ ปรับปรุงอันดับการค้นหาขึ้นไปอยู่ในอันดับต้นๆได้อย่างแน่นอนครับ

]]>
Google Keyword Planner เครื่องมือวางแผนคีย์เวิร์ด ในการลงโฆษณา Google https://seomasterth.com/google-keyword-planner/ Sat, 16 Dec 2023 16:41:52 +0000 https://seomasterth.com/?p=26440 Google Keyword Planner คืออะไร?

Google Keyword Planner คือ เครื่องมือวิเคราะห์คีย์เวิร์ดฟรีจาก Google ที่ช่วยทำ Keyword Research โดยสามารถค้นหา Keyword ที่เราสนใจ เห็นข้อมูลยอดค้นต่อเดือน แน้วโน้ม ราคาโฆษณา ช่วยให้เราลำดับความสำคัญในการโฟกัสคีย์เวิร์ดในการทำ Content เพื่อเป้าหมายในการติดอันดับบน Search Engine ได้

Google Keyword Planner ฟรี จริงไหม?

เราสามารถใช้งาน Google Keyword Planner ได้ฟรี ไม่เสียเงิน และไม่ต้องลงโฆษณาใน Google Ads ด้วย เพียงแต่ต้องสมัครใช้งาน Register บัญชีง่ายๆ ไม่จำเป็นต้องผูกบัตรเครดิตก็สามารถใช้งานได้

วิธีสมัครใช้งาน Google Keyword Planner (Update 2024)

1. ไปที่ ads.google.com > ลงชื่อเข้าใช้

2. กรณีที่ยังไม่มี Google Ads Account ให้ไปที่ New Google Ads Account

3.  เลือก Create an account without a campaign (อยู่ตรงมุมซ้ายล่าง) เพื่อที่คุณจะได้สมัครบัญชีแบบไม่ต้องผูกบัตรเครดิต

4. ใส่ข้อมูลดังรูปและกด Submit

5. ยินดีด้วยครับ เท่านี้คุณก็มี Google Ads Account ที่พร้อมใช้งานได้แล้ว กดที่ปุ่ม Expole your account เพื่อเข้าสู่การใช้งาน

 

สอนใช้ Google Keyword Planner วิธีใช้งาน (2024)

เครื่องมือ Keyword Planner มีฟีเจอร์ 2 แบบ คือ

  • Keyword Idea

คือ การหาไอเดีย Keyword ใหม่ ๆ ที่สามารถช่วยให้คุณเข้าถึงกลุ่มคนมากขึ้น

  • Forecast

คือ จะแสดงผล Search Volume หรือจำนวนการค้นหาในแต่ละเดือน และ Forecast หรือคาดการณ์ประสิทธิภาพแคมเปญโฆษณา Google Ads ในอนาคต ทำให้คุณสามารถประเมินได้ว่า Keyword ตัวไหนควรนำมาใช้

ขั้นตอนการใช้งาน Keyword Idea

ขั้นตอนการใช้งาน Keyword Idea มีอยู่ 3 ขั้นตอนดังนี้

1. ไปที่ Tools > Planning > Keyword Planner > Discover New Keywords

 

2. ตรง Tab Start with keywords คลิกตรงช่องค้นหา ใส่ Keyword ที่สนใจ และสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายจาก Location (โดยคลิกที่ค่าตั้งต้น คือ Link Thailand) เสร็จเรียบร้อย กดปุ่ม Get Results

3. เครื่องมือจะแสดงข้อมูลออกมา โดยสามารถอธิบายความหมายแต่ละช่องดังนี้

  • Keyword แสดงข้อมูลคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง
  • Avg. Monthly Searches จำนวนการค้นหาเฉลี่ยต่อเดือน
  • Competition การแข่งขันของ Keyword แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ High แปลว่า มีการแข่งขันสูง Medium แปลว่า การแข่งขันปานกลาง และสุดท้าย Low แปลว่า การแข่งขันต่ำ
  • Ad Impression Share อัตราส่วนแบ่งการแสดงโฆษณาของคุณและคู่แข่ง
  • Top of Page Bid (Low Range) ราคา Bid เฉลี่ย ในตำแหน่งบนๆ ของ Search Engine ซึ่งเป็นช่วงประมาณราคาต่ำสุด
  • Top of Page Bid (High Range) ราคา Bid เฉลี่ย ในตำแหน่งบนๆ ของ Search Engine ซึ่งเป็นช่วงประมาณราคาสูงสุด
  • Account status สถานะบัญชีของเราว่าลงโฆษณาคำนี้หรือยัง

4. อีกวิธี วิเคราะห์คีย์เวิร์ดด้วยเว็บไซต์ ตรง Tab Start with a Website ใส่ url ที่สนใจ และกดปุ่ม Get Results

5. ข้อมูลแสดง Keyword ที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์

ขั้นตอนการใช้งาน Forecast

ขั้นตอนการใช้งาน Forecast มีอยู่ 4 ขั้นตอนดังนี้

1. ไปที่ Forecast แล้วเพิ่ม Keyword ที่ต้องการลงไป

2. คุณสามารถเลือก Bid Strategy ได้ โดยมี 3 ประเภท คือ

  • Maximize Click คือ การกำหนดราคาคลิกอัตโนมัติ เพื่อให้ได้รับคลิกมากที่สุดภายใต้งบประมาณที่คุณตั้งเอาไว้
  • Maximize Conversions คือ การเสนอราคาโดยที่มีเป้าหมายในการเพิ่ม Conversion มากขึ้นโดยมีงบประมาณที่จำกัด ซึ่ง Google จะเข้ามาช่วยประเมินว่าคุณควรเสนอราคาตอนไหนถึงจะคุ้มค่ามากที่สุด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างยอดขาย และต้องการเก็บ Reach เป็นจำนวนมาก
  • Manual CPC คือ กำหนดราคาคลิกทุก Keyword แบบแมนวล กำหนดเอง โดยไม่มีระบบของ Google กำหนดให้อัตโนมัติ


3. ฟีเจอร์นี้จะคาดการณ์ประสิทธิภาพแคมเปญโฆษณาในช่วงเวลาที่คุณกำหนด โดยอิงจาก Keyword ที่เพิ่มเข้าไป และระบบจะแสดงข้อมูลสำคัญดังนี้

  • Conversion หน่วยวัดการกระทำของผู้เห็นโฆษณา (Conversion Rate) คือการลงโฆษณาที่มีการกำหนดว่าผู้ที่เห็นโฆษณาจะต้องมีการกระทำบางอย่าง เช่น การเข้าสู่เว็บไซต์, การคลิกหยิบสินค้าลงตะกร้า หรือการเลื่อนดูหน้าเว็บ ซึ่งการกระทำเหล่านี้เราจะเรียกรวมกันว่า Conversion
  • Clicks จำนวนคลิกที่มีคนกดโฆษณาทั้งหมด เช่น มีคนคลิกโฆษณา 10 ครั้ง ก็จะเท่ากับ 10 Clicks และถึงแม้ว่าจะเป็นคนเดียวกันกดคลิกโฆษณาถึง 10 ครั้ง ก็จะถูกนับเป็น 10 Clicks
  • Imressions จำนวนการแสดงผลของโฆษณา ถ้ามีการโหลดโฆษณาขึ้นมา 1 ครั้ง โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเห็นโฆษณาจะนับเป็น 1 Impression ทันที
  • Cost ค่าใช้จ่ายในการทำแคมเปญโฆษณา
  • CTR (Click Through Rate) อัตราการคลิกเทียบกับการแสดงโฆษณา ถ้าค่า CTR สูง จะแสดงว่าโฆษณาของคุณมีคุณภาพ โดยค่านี้สามารถหาได้โดยสูตร (Clicks/Impressions)*100
  • Avg. CPC (Average Cost Per Click) ราคาเฉลี่ยต่อการเกิดคลิกโฆษณา 1 ครั้ง

ซึ่งคุณสามารถดูข้อมูลเหล่านี้เป็นภาพรวม Keyword ทั้งหมดที่คุณเพิ่มลงไป และข้อมูลของแต่ละ Keyword เรียกได้ว่าทำให้คุณสามารถประเมินในเรื่องงบประมาณ และเตรียมตัวในการทำแคมเปญโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. เมื่อได้ข้อมูลการวิเคราะห์ Keyword เราสามารถกดปุ่ม Create Campaign เพื่อนำไปทำแคมเปญโฆษณาต่อได้ทันที

ข้อจำกัดของ Google Keyword Planner

ข้อจำกัดของบัญชีเปิดใหม่ที่ไม่เคยมีการทำแคมเปญโฆษณาบน Google Ads มาก่อน มี 2 ข้อ คือ

  • บัญชีเปิดใหม่ไม่สามารถดูจำนวนการค้นหาเฉลี่ยต่อเดือนเป็นตัวเลขที่เฉพาะเจาะจงได้ ระบบจะแสดงให้เพียงแค่จำนวนเป็นช่วงเท่านั้น (1k,10k,100k) ในขณะที่บัญชีที่เคยทำแคมเปญโฆษณา Google Ads จะสามารถเห็นข้อมูลตัวเลขจริง
  • ไม่สามารถดูคีย์เวิร์ด 18+ ธุรกิจสีเทา หรือคำหยาบได้

เทคนิคใช้ Google Keyword Planner วิเคราะห์ธุรกิจ

1. วิเคราะห์คีย์เวิร์ดของคู่แข่งของคุณดูสิ (Competitor Keywords)

ใน Discover New Keywords จะมีช่องที่ทำให้คุณใส่ URL หรือลิงก์เว็บไซต์ได้ ซึ่งเราสามารถนำลิงก์ของคู่แข่งมาใส่ เท่านี้ก็ได้ไอเดีย Keyword จากเว็บไซต์คู่แข่งแล้ว

2. วิเคราะห์คีย์เวิร์ดในพื้นที่ (Local SEO)

ฟีเจอร์นี้เหมาะกับ Local Business โดยใช้ Location to Target กลุ่มคน จะได้รู้ว่า Keyword แบบไหนในพื้นที่ที่คุณเลือกมีจำนวนการค้นหาที่สูง ซึ่งส่งผลให้คุณเจอ Keyword ที่เหมาะสมกับ Target ในพื้นที่นั้นได้

บอกเลยว่าฟีเจอร์นี้ทำให้รู้ว่าคุณควรสร้างคอนเทนต์เพื่อ ‘ใคร’ และคอนเทนต์ของคุณจะจับใจ Target ในพื้นที่ได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. หา Keyword ที่ดี ดูได้จาก Top of page bid (high range)

ข้อมูลตรงส่วนนี้ทำให้รู้ว่า Keyword ตัวไหนที่ทำให้ผู้คนยอม Bid ค่าคลิกลงโฆษณาในราคาที่สูง เพราะคนไทยต่างใช้ Keyword เหล่านี้กันในการทำแคมเปญโฆษณา

สรุป

Google Keyword Planner เป็นเครื่องมือฟรีที่ จำเป็นต้องใช้ ในการทำธุรกิจ 2024 ช่วยทำให้เราวิเคราะห์คีย์เวิร์ด Keyword Research ได้ เห็นแนวโน้มและมีข้อมูลที่แม่นยำ เพื่อลงสินค้าและบริการ บทความ หรือใช้ลงโฆษณา Google Ads เพื่อ Lead ลูกค้า เป็นอีกหนึ่งกุญแจที่จะนำพาธุรกิจของคุณให้ประสบความสำเร็จครับ

]]>