GDN คืออะไร ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คนทำโฆษณาออนไลน์ไม่รู้จักไม่ได้ เพราะโฆษณาลักษณะนี้เข้าถึงกลุ่มคนได้จำนวนมาก แต่ใช้งบประมาณที่ไม่สูงนัก สอดคล้องกับการใช้งานของคนในยุคปัจจุบันที่เสพสื่อออนไลน์เป็นหลัก และสื่อโฆษณาลักษณะนี้ก็เข้าถึงกลุ่มคนได้เป็นอย่างดี นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ในการประชาสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
GDN ย่อมาจาก Google Display Network คือ โฆษณา Google ที่มาในรูปแบบของรูปภาพ หรือข้อความ แสดงผลบนเว็บไซต์ต่างๆที่เจ้าของเว็บสมัครขอติดโฆษณา (Google Adsense) เพื่อสร้างรายได้ เช่น เว็บบล็อก เว็บข่าว เว็บนิตยสารออนไลน์ ต่างจาก Search Ads ที่จะแสดงโฆษณาบน Google Search
Banner เหล่านั้นจะสามารถคลิกดูเพิ่มเติมได้ เนื่องจากได้แนบลิงค์ต้นทางเอาไว้ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายคลิกเข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติม บางครั้งอาจเป็นลิงค์ข้อมูลรายละเอียดสินค้าเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือบางครั้งอาจเป็นลิงค์หน้าขายสินค้า ที่คลิกเข้าไปแล้วสามารถกดสั่งซื้อได้
GDN คือสื่อโฆษณาออนไลน์ ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุคปัจจุบัน เนื่องจากพฤติกรรมคนยุคออนไลน์ มักค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่อยากรู้บนอินเทอร์เน็ต รวมถึงเสพข่าวบนอินเทอร์เน็ตด้วย ทำให้มีโอกาสค่อนข้างสูงที่จะมีผู้ที่พบเห็นเนื้อหาโฆษณา
GDN มีหลายรูปแบบ แม้หลักๆ จะเป็น Banner แต่ก็มีรูปแที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
รูปแบบแรกของ GDN คือ Text Ads ลักษณะของสื่อโฆษณาคือ ข้อความที่มาพร้อมลิงค์คลิกดูเพิ่มเติม โดยใน Banner นั้นอาจไม่มีรูปภาพ มีแต่ตัวหนังสือที่สื่อถึงเนื้อหาโฆษณานั้น ซึ่งสามารถคลิกเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ แต่ลักษณะนี้มักดึงดูดได้ต่ำกว่าแบบรูปภาพ
ถัดมาคือ GDN แบบรูปภาพ สื่อนี้ได้รับความนิยมมากที่สุด ในการสร้างสรรค์เป็นโฆษณา GDN มีการออกแบบภาพโฆษณาขึ้นมาในขนาดที่สอดคล้องกับพื้นที่โฆษณานั้น และแนบลิงค์เข้าไป เพื่อแสดงบนเว็บไซต์ต่างๆ มีรูปภาพและข้อความแสดงอยู่ด้วยกัน สามารถใช้ได้ทั้งไฟล์ GIF, JPG, และ PNG
ถัดมาคือ GDN รูปแบบ Responsive Ads อาจจะเป็นไฟล์รูปภาพหรือวิดีโอก็ได้ ลักษณะการแสดงสื่อโฆษณานี้คือจะมีการปรับเปลี่ยนไปขนาดไปตามหน้าจอของผู้ใช้งาน สื่อนี้นิยมมากในปัจจุบัน เพราะหน้าจอโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้งานแต่ละคนไม่เท่ากัน การใช้สื่อ Responsive Ads จะรองรับกับทุกหน้าจอ
ถัดมาคือ GDN รูปแบบของคลิปวิดีโอ มักปรากฏบนแพลตฟอร์มที่แสดงเนื้อหาวิดีโอ เช่น YouTube, Facebook Video เป็นต้น
การแสดงโฆษณา GDN มีหลายรูปแบบ ได้แก่
การแสดงแบบแรกสัมพันธ์กับคำค้นหาหรือที่เรียกว่า Keyword เจ้าของแบรนด์หรือเจ้าของโฆษณา GDN ได้มีการตั้งค่าไว้ว่าจะให้การแสดงโฆษณานี้ขึ้นอยู่กับ Keyword คำว่าอะไร ก็ป้อนคำนั้นเอาไว้ตอนตั้งค่าการแสดงโฆษณา เมื่อมีผู้ใช้งานค้นหาคำนั้น ก็มีโอกาสที่จะพบเห็นกับโฆษณาที่ตั้งค่าการแสดงโฆษณาจากคำค้นหาคำนั้นเอาไว้
ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจที่ทำโฆษณา GDN เป็นธุรกิจครีมกันแดด สำหรับทาหน้า อาจจะตั้งค่าโฆษณาเอาไว้ว่า “ครีมกันแดดทาหน้า” คราวนี้เมื่อมีผู้ใช้งานค้นหาคำว่า ครีมกันแดดทาหน้า ก็มีโอกาสที่จะเข้าไปหน้าเว็บไซต์ที่มี Keyword คำว่าครีมกันแดดทาหน้าอยู่ และเจอกับ GDN โฆษณาครีมกันแดดทาหน้าที่ได้ตั้งค่า Keyword คำนั้นไว้
การ Remarketing คือการทำให้กลุ่มเป้าหมายที่เคยเห็นสื่อโฆษณานั้นไปแล้ว มีโอกาสกลับมาเห็นซ้ำอีก การแสดงโฆษณารูปแบบนี้จะแสดงซ้ำเมื่อมีกลุ่มเป้าหมายเข้าไปในหน้าเว็บไซต์หนึ่งและเจอกับ GDN ที่มีการฝังโค้ด Remarketing เอาไว้ ซึ่งระบบจะทำการเก็บข้อมูลผู้ใช้งานคนนั้นไว้ และเมื่อผู้ใช้งานไปเข้าเว็บไซต์อื่น โฆษณาชิ้นเดิมก็อาจจะตามไปแสดงให้เห็นในเว็บไซต์นั้นด้วย
การแสดงผลโฆษณาลักษณะนี้ คนทำโฆษณา GDN จะต้องเลือกให้โฆษณาไปแสดงบนเว็บไซต์ที่มีหัวข้อ (Topic) เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เช่น การสร้าง Banner โฆษณาครีมกันแดดทาหน้า แล้วต้องการให้ Banner นั้นไปแสดงบนเว็บที่เกี่ยวข้อง อาจจะเป็นเว็บแนะนำเครื่องสำอาง เว็บความงาม เว็บผู้หญิง ก็จะต้องตั้งค่าไปว่าให้ไปแสดงบนเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเหล่านี้ แต่จะไม่สามารถเจาะจงเว็บไซต์ได้
การแสดงผลโฆษณา GDN ลักษณะนี้ คนทำสามารถเจาะจงเว็บไซต์เป้าหมายที่จะให้โฆษณาไปแสดงได้เลย ไม่จำเป็นต้องเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าก็ได้ เพราะสามารถระบุชื่อเว็บไซต์ลงไปได้โดยตรง ว่าจะให้โฆษณาชิ้นนี้ แสดงบนเว็บไซต์นั้นๆ
เทคนิคการทำ GDN ให้มีประสิทธิภาพ แบ่งออกเป็น 2 เรื่องหลักๆ ดังนี้
เรื่องแรกที่ต้องใส่ใจในการทำ GDN ก็คือการผลิตภาพโฆษณาให้ดึงดูด ทำให้กลุ่มเป้าหมายสนใจที่จะมองโฆษณาชิ้นนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้รูปภาพประกอบในสื่อ หรือการเลือกใช้คำโฆษณาที่ดึงสายตา การเลือกใช้สี และการกำหนดขนาดภาพ ขนาดตัวอักษร ให้กลุ่มเป้าหมายสนใจได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไปจนถึงการดึงดูดให้มีการคลิกโฆษณา เพื่อให้เกิดการรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือแม้แต่การปิดการขายได้ในที่สุด
จากที่ได้กล่าวไปเรื่องการตั้งค่าเพื่อให้เกิดการแสดงโฆษณาในรูปแบบต่างๆ เรื่องนี้สำคัญมาก ไม่ใช่ว่าทุกธุรกิจจะตั้งค่าเหมือนกันได้ บางธุรกิจสินค้าเฉพาะกลุ่ม มีผู้บริโภคเพียงจำนวนหนึ่ง หากจะตั้งค่าโฆษณาให้แสดงแบบ Placement Targeting ก็ควรเลือกเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจริงๆ เพราะเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เยี่ยมชมเป็นกลุ่มคนที่สนใจเรื่องนั้นโดยเฉพาะ
แต่ถ้าหากเป็นสินค้าที่กลุ่มเป้าหมายกว้างขวาง และแบรนด์ต้องการให้คนรู้จักสินค้าเยอะๆ ก็อาจจะเจาะจงเว็บไซต์ที่มีจำนวนคนเข้าถึงต่อวันปริมาณมากๆ เช่นพวกเป็นเว็บข่าวหรือเว็บนิตยสารออนไลน์ชื่อดัง มีคนมากหน้าหลายตาเข้าไปเสพข้อมูลแบบไม่เฉพาะเจาะจง
ไม่มีรายงานยอดคลิกเชิงลึก และส่วนใหญ่เป็นยอดคลิกจาก Bot Traffic ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงและไม่ได้ลูกค้าที่แท้จริง
หลายคนคงพอจะเข้าใจแล้วว่า GDN คืออะไร ถือเป็นโฆษณาอีกหนึ่งรูปแบบที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะคนที่กำลังทำการตลาดออนไลน์ เมื่อรู้จักแล้วสิ่งที่นักการตลาดทุกคนต้องรู้ก็คือการนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง
]]>Click Through Rate หรือ CTR คือ ค่าสัดส่วนหรืออัตราในการคลิกเข้าชมเว็บไซต์ต่อจำนวนคนที่พบเห็นเว็บนั้น ๆ เพื่อบ่งบอกประสิทธิภาพของการยิงแอดดังกล่าวว่าได้ผลตอบรับดีมากน้อยแค่ไหน เมื่อไหร่ก็ตามที่ค่า CTR สูงนั่นเท่ากับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นน่าพึงพอใจ เพราะมีคนเห็นโฆษณาแล้วกดเข้ามาดู เพิ่มโอกาสต่อยอดในเรื่องอื่น เช่น การซื้อสินค้า / บริการ การสมัครสมาชิก หรือแม้แต่การรู้จักแบรนด์ก็ตาม โดยการเช็กยอด CTR สามารถดูได้จากหน้า Dashboard ที่คุณใช้เป็นบัญชีในการยิงแอดนั่นเอง
ปกติแล้วการประเมินว่าค่า CTR ได้ประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่วางเอาไว้หรือไม่จะมีสูตรตามหลักสากลที่นักการตลาดออนไลน์ทั่วโลกใช้งานนั่นคือ
*** Total Measured Clicks หรือ Clicks หมายถึง จำนวนการคลิก
*** Total Measured Impressions หรือ Impressions หมายถึง จำนวนการแสดงผล
มาถึงเหตุผลสำคัญที่จำเป็นต้องอธิบายให้กับนักการตลาด หรือเจ้าของธุรกิจที่วางแผนเตรียมยิง Ads โฆษณา ว่าค่า CTR มีความสำคัญในหลายมิติมาก
เป็นเรื่องปกติเมื่อค่า CTR สูง นั่นหมายถึงโฆษณาที่คุณยิงออกไปในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ ในอีกมุมหนึ่งหากผลลัพธ์ออกมาตรงข้ามย่อมแสดงให้เห็นถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่ชอบแบบอื่นมากกว่า หรือแม้แต่จากแคมเปญแรกทำออกมาดี พอแคมเปญถัดไปผลลัพธ์เริ่มน้อยลงจนสังเกตได้ นั่นบ่งบอกถึงเทรนด์ที่กำลังเปลี่ยน การรู้ค่า CTR จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มที่เหมาะสมต่อการทำโฆษณาในครั้งถัดไป
CTA หรือ Call to Action มักเป็นอีกหัวใจที่บ่งบอกในระดับหนึ่งว่าคนทั่วไปอยากคลิกเข้ามายังหน้าเว็บของคุณหรือไม่ วิธีง่าย ๆ สมมุติคุณทำ 2 แคมเปญ ใช้คำแบบเดียวกันหมดทุกอย่างยกเว้นตอนจบท้าย CTA คนละแบบ เมื่อเห็นว่าแบบไหนมีคนคลิกเยอะกว่านั่นบ่งบอกถึงแนวทางและความชอบซึ่งสามารถใช้งานได้แบบระยะยาวไม่ว่าคำโฆษณาอื่นจะเป็นแบบไหนแต่ CTA แบบเดิมยังคงใช้ได้เสมอ
ค่า CTR ยังสามารถบ่งบอกจุดประสงค์ของผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้เป็นอย่างดี ยิ่งเมื่อคุณทำ Google Ads ในรูปแบบของ PPC หรือ Pay Per Click ลองนึกภาพว่าคุณต้องจ่ายเงินเยอะจากการที่มีลูกค้าคลิกเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ Conversion Rate แทบไม่เกิดขึ้นเลย ในมุมของ CTR นี่คือตัวเลขที่ยอดเยี่ยม แต่ในมุมของการทำธุรกิจคุณกำลังขาดทุนอย่างหนัก นั่นแสดงให้เห็นว่าแท้จริงแล้วคนที่คลิกเข้ามาส่วนใหญ่อาจไม่ใช่ลูกค้าจริง แต่ต้องการเข้ามาเปรียบเทียบ หรือค้นหาข้อมูล การยิง Google Ads เพื่อให้อยู่หน้าบนสุดอาจไม่จำเป็น ลองเลือกจ่ายราคาถูกลงแต่ทำอันดับให้อยู่ถัดลงไป หรือใช้คีย์เวิร์ดตัวอื่น แล้วเจอเฉพาะคนที่อยากซื้อแล้วคลิกเข้ามาน่าจะดีกว่า
หากมองในมุมของหลักการค่า CTR ของทั้ง 2 แพลตฟอร์มก็มีความหมายไปในทิศทางเดียวกัน ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจและความถนัดของแต่ละคน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติมเอาไว้หากใครเป็นมือใหม่และพึ่งเข้าสู่วงการยิง Ads ปกติแล้วค่าเฉลี่ย CTR ของทาง Google จะสูงกว่า อาจอยู่ระดับประมาณ 2-4% แต่ถ้าช่วงไหนมีคีย์เวิร์ดที่พีค ๆ หรือสิ่งที่กำลังเป็นกระแสค่า CTR ก็อาจพุ่งแตะระดับ 25-30% ได้เลย
ขณะที่ทางฝั่งของ Facebook ส่วนมากมักอยู่ราว 0.5% แถมค่าดังกล่าวก็เป็นการเปิดเผยจากคนที่ทำวิจัยและเก็บข้อมูลตามแคมเปญโฆษณาในเว็บดังกล่าว จากนั้นจึงใช้เครื่องมือเพื่อวิเคราะห์ออกมาให้เป็นตัวเลขเฉลี่ย
ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทั้ง 2 แพลตฟอร์มีตัวเลขต่างกันก็ชัดเจนเรื่องลักษณะการค้นหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดย Google จะเน้นคนที่ต้องการข้อมูลเชิงลึก ความน่าเชื่อถือ หรือเปรียบเทียบสินค้าให้เห็นความแตกต่างและความคุ้มค่าชัดเจน ส่วน Facebook จะเน้นการขายสินค้าที่คนรู้จักกันดี หรือทำภาพออกมาแล้วดูสวยงาม ไม่จำเป็นต้องค้นหาข้อมูลอะไรมากนัก
จากค่า 2023 Google Ads Benchmarks สำหรับธุรกิจทั้งหมด ค่าเฉลี่ย click-through rate อยู่ประมาณ 4-6% ดังนั้นถ้าได้มากกว่านี้ ถือเป็นค่า CTR เป็นการลงโฆษณาที่ดีครับ
1. เพิ่ม CTR ด้วยการลดคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องน้อยออกไป
2. เพิ่ม CTR โดยใช้ Negative Keywords ให้เป็นประโยชน์
3. เพิ่มคอนเทนต์ เปลี่ยนหน้า Landing Page เพื่อเพิ่ม Quality Score
4. ใช้คำสื่อถึงอารมณ์ของลูกค้า (emotional ads)
5. ใช้ Keyword หลักใน url display path ของโฆษณา
6. ใส่ข้อเสนอพิเศษ โปรโมชั่นใน Heading
7. ใส่ข้อความเชื้อเชิญ CTA (Call To Action) เช่น ซื้อเลย, ดาวโหลดวันนี้
8. ใช้ Google Ads extensions โดยใส่ sitelink ให้ครบ
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่า CTR หรือ Click Through Rate จะช่วยให้นักการตลาดออนไลน์ทุกคนสามารถทำผลลัพธ์ของแคมเปญโฆษณาออกมาได้น่าพึงพอใจ ซึ่งในความเป็นจริงค่าดังกล่าวยังสามารถใช้ได้กับทั้ง Social Media ทุกแพลตฟอร์ม ไปจนถึง Email Marketing หรือแม้แต่การทำ SEO ก็ตาม แต่ส่วนใหญ่จะนิยมทำกับ Google Ads เนื่องจากเห็นผลรวดเร็ว น่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพเหมาะกับการนำไปต่อยอดได้จริง ใครที่สนใจเรื่องนี้ก็อย่าลืมศึกษาเทคนิคต่าง ๆ เพื่อโอกาสที่คนจะกดคลิกแล้วเปลี่ยนเป็นลูกค้าซื้อสินค้า / บริการกันด้วย จะช่วยให้ธุรกิจเดินหน้าต่อได้อย่างดีเยี่ยม
]]>
Google Adwords หรือ Google Ads คือ รูปแบบการโฆษณาผ่านช่องทางของ Google ในฐานะ Search Engine อันดับ 1 ของเมืองไทยและของโลก หลักการใช้งานเมื่อคุณมีบัญชีกับทาง Google เรียบร้อยก็สามารถเริ่มลงโฆษณาในรูปแบบที่เหมาะกับธุรกิจของตนเองได้ทันที อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายในการโฆษณาดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้คลิกเข้าชม หรือที่เรียกว่า Pay Per Click (PPC)
ต้องใช้ Keyword เพื่อสร้างโฆษณาบนหน้าเว็บ Google เมื่อมีคนค้นหาคำดังกล่าวเว็บของคุณจะติดอันดับอยู่ด้านบนหรือด้านล่างในหน้าแรก เหมือนการทำ SEO แต่ผลลัพธ์รวดเร็วมากกว่า
หรือ GDN คือลักษณะของแบนเนอร์ซึ่งมีได้ทั้งภาพและตัวอักษรเพื่อโฆษณาดึงดูดความสนใจ โดยจะถูกนำไปแปะเอาไว้ตามเว็บพันธมิตรของ Google ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับธุรกิจของคุณ
โฆษณาประเภทนี้จะทำเป็นคลิปวิดีโอแล้วลงผ่านช่องทาง YouTube ซึ่งมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมหรือความพึงพอใจของผู้ลงโฆษณา เช่น Display Ad, Overlay in-video ads, Non-Skipable in-stream ad, Bumper advertising (คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม)
ตัวโฆษณาจะถูกทำออกมาในลักษณะของการขายสินค้านั้น ๆ ชัดเจน ต้องมีข้อมูลและราคาพร้อมช่องทางการซื้อระบุเอาไว้ให้ละเอียดครบถ้วน ลูกค้าสามารถคลิกเข้าซื้อได้ทันที
เป็นการโฆษณาผ่านช่องทางมือถือโดยมีจุดประสงค์ให้คนดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่คุณสร้างขึ้นมา
แม้ Google Adwords จะมีหลายรูปแบบให้เลือก แต่ถ้าพิจารณาจากความง่ายมากสุดก็ต้องยกให้กับ Google Search เพราะคุณไม่จำเป็นต้อมีทักษะด้านการตัดต่อ การสร้างภาพแบนเนอร์ ไม่ต้องเสียเวลาลงรายละเอียดข้อมูลสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น เพียงแค่มีเว็บไซต์หลักที่ต้องการให้ลูกค้าคลิกเข้าไปก็สามารถเริ่มเข้าสู่การยิง Google Ads ได้ทันที ซึ่งขั้นตอนเบื้องต้นให้ทำตามนี้เลย
หากคุณสนใจอยากเริ่มทำ Google Adwords นอกจากการค้นหา Keyword ให้เหมาะสมด้วยการเลือกคำที่คนค้นหาระดับปานกลางไปค่อนทางสูง ไม่เน้นคำทั่วไปที่คนเสิร์ชเยอะเพราะแข่งขันสูงและผลลัพธ์ไม่ค่อยน่าพึงพอใจ ยังมีข้อควรรู้เบื้องต้นอื่น ๆ เพิ่มเติมที่อยากบอกต่อ
อย่างที่บอกไปว่า Google ถือเป็นเว็บ Search Engine อันดับ 1 ของไทยและของโลก คนไทยกว่า 99% ใช้เว็บนี้เพื่อค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ดังนั้นคุณจึงมีโอกาสเป็นที่รู้จัก สามารถสร้างยอดขายได้มากขึ้นเมื่อทำ Google Adwords
ปัจจัยต่อมาการยิงแอดผ่าน Google จะมีสถิติตัวเลขต่าง ๆ เกี่ยวกับโฆษณาที่ลงไป สามารถนำเอาไปใช้เพื่อวางแผนการทำ Ads ครั้งถัดไปได้ง่ายขึ้น รวมถึงยังต่อยอดสู่แผนการตลาดของธุรกิจ
คุณสามารถกำหนดได้ว่าแต่ละวันต้องการตั้งค่าจำนวนเงินที่พร้อมจ่ายกี่บาท ซึ่งเป็นไปตามงบขององค์กรหรือความเหมาะสม งบไม่มีบานปลายให้ต้องกังวลใจ
การลง Google Adwords สามารถกำหนดได้ว่าต้องการยิงแอดไปพื้นที่ใด บริเวณไหนของโลก เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายของตนเองเห็นและมีโอกาสเปลี่ยนเป็นลูกค้ามากที่สุด
นี่คือข้อมูลน่าสนใจทั้งหมดของ Google Adwords ซึ่งถือเป็นช่องทางการทำโฆษณาอันทรงพลังผ่านโลกออนไลน์ สร้างโอกาสต่อยอดสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังเอาไว้ ได้ผลลัพธ์ดีและยังต่อยอดเพิ่มเติมสู่อนาคตไม่ยากเลย เรามีบริการรับลงโฆษณา Google Ads ติดหน้าแรก Google สำหรับเจ้าของธุรกิจที่ไม่มีเวลาในส่วนนี้ครับ
]]>Google Keyword Planner คือ เครื่องมือวิเคราะห์คีย์เวิร์ดฟรีจาก Google ที่ช่วยทำ Keyword Research โดยสามารถค้นหา Keyword ที่เราสนใจ เห็นข้อมูลยอดค้นต่อเดือน แน้วโน้ม ราคาโฆษณา ช่วยให้เราลำดับความสำคัญในการโฟกัสคีย์เวิร์ดในการทำ Content เพื่อเป้าหมายในการติดอันดับบน Search Engine ได้
เราสามารถใช้งาน Google Keyword Planner ได้ฟรี ไม่เสียเงิน และไม่ต้องลงโฆษณาใน Google Ads ด้วย เพียงแต่ต้องสมัครใช้งาน Register บัญชีง่ายๆ ไม่จำเป็นต้องผูกบัตรเครดิตก็สามารถใช้งานได้
1. ไปที่ ads.google.com > ลงชื่อเข้าใช้
2. กรณีที่ยังไม่มี Google Ads Account ให้ไปที่ New Google Ads Account
3. เลือก Create an account without a campaign (อยู่ตรงมุมซ้ายล่าง) เพื่อที่คุณจะได้สมัครบัญชีแบบไม่ต้องผูกบัตรเครดิต
4. ใส่ข้อมูลดังรูปและกด Submit
5. ยินดีด้วยครับ เท่านี้คุณก็มี Google Ads Account ที่พร้อมใช้งานได้แล้ว กดที่ปุ่ม Expole your account เพื่อเข้าสู่การใช้งาน
เครื่องมือ Keyword Planner มีฟีเจอร์ 2 แบบ คือ
คือ การหาไอเดีย Keyword ใหม่ ๆ ที่สามารถช่วยให้คุณเข้าถึงกลุ่มคนมากขึ้น
คือ จะแสดงผล Search Volume หรือจำนวนการค้นหาในแต่ละเดือน และ Forecast หรือคาดการณ์ประสิทธิภาพแคมเปญโฆษณา Google Ads ในอนาคต ทำให้คุณสามารถประเมินได้ว่า Keyword ตัวไหนควรนำมาใช้
ขั้นตอนการใช้งาน Keyword Idea มีอยู่ 3 ขั้นตอนดังนี้
1. ไปที่ Tools > Planning > Keyword Planner > Discover New Keywords
2. ตรง Tab Start with keywords คลิกตรงช่องค้นหา ใส่ Keyword ที่สนใจ และสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายจาก Location (โดยคลิกที่ค่าตั้งต้น คือ Link Thailand) เสร็จเรียบร้อย กดปุ่ม Get Results
3. เครื่องมือจะแสดงข้อมูลออกมา โดยสามารถอธิบายความหมายแต่ละช่องดังนี้
4. อีกวิธี วิเคราะห์คีย์เวิร์ดด้วยเว็บไซต์ ตรง Tab Start with a Website ใส่ url ที่สนใจ และกดปุ่ม Get Results
5. ข้อมูลแสดง Keyword ที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
ขั้นตอนการใช้งาน Forecast มีอยู่ 4 ขั้นตอนดังนี้
1. ไปที่ Forecast แล้วเพิ่ม Keyword ที่ต้องการลงไป
2. คุณสามารถเลือก Bid Strategy ได้ โดยมี 3 ประเภท คือ
3. ฟีเจอร์นี้จะคาดการณ์ประสิทธิภาพแคมเปญโฆษณาในช่วงเวลาที่คุณกำหนด โดยอิงจาก Keyword ที่เพิ่มเข้าไป และระบบจะแสดงข้อมูลสำคัญดังนี้
ซึ่งคุณสามารถดูข้อมูลเหล่านี้เป็นภาพรวม Keyword ทั้งหมดที่คุณเพิ่มลงไป และข้อมูลของแต่ละ Keyword เรียกได้ว่าทำให้คุณสามารถประเมินในเรื่องงบประมาณ และเตรียมตัวในการทำแคมเปญโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เมื่อได้ข้อมูลการวิเคราะห์ Keyword เราสามารถกดปุ่ม Create Campaign เพื่อนำไปทำแคมเปญโฆษณาต่อได้ทันที
ข้อจำกัดของบัญชีเปิดใหม่ที่ไม่เคยมีการทำแคมเปญโฆษณาบน Google Ads มาก่อน มี 2 ข้อ คือ
ใน Discover New Keywords จะมีช่องที่ทำให้คุณใส่ URL หรือลิงก์เว็บไซต์ได้ ซึ่งเราสามารถนำลิงก์ของคู่แข่งมาใส่ เท่านี้ก็ได้ไอเดีย Keyword จากเว็บไซต์คู่แข่งแล้ว
ฟีเจอร์นี้เหมาะกับ Local Business โดยใช้ Location to Target กลุ่มคน จะได้รู้ว่า Keyword แบบไหนในพื้นที่ที่คุณเลือกมีจำนวนการค้นหาที่สูง ซึ่งส่งผลให้คุณเจอ Keyword ที่เหมาะสมกับ Target ในพื้นที่นั้นได้
บอกเลยว่าฟีเจอร์นี้ทำให้รู้ว่าคุณควรสร้างคอนเทนต์เพื่อ ‘ใคร’ และคอนเทนต์ของคุณจะจับใจ Target ในพื้นที่ได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อมูลตรงส่วนนี้ทำให้รู้ว่า Keyword ตัวไหนที่ทำให้ผู้คนยอม Bid ค่าคลิกลงโฆษณาในราคาที่สูง เพราะคนไทยต่างใช้ Keyword เหล่านี้กันในการทำแคมเปญโฆษณา
Google Keyword Planner เป็นเครื่องมือฟรีที่ จำเป็นต้องใช้ ในการทำธุรกิจ 2024 ช่วยทำให้เราวิเคราะห์คีย์เวิร์ด Keyword Research ได้ เห็นแนวโน้มและมีข้อมูลที่แม่นยำ เพื่อลงสินค้าและบริการ บทความ หรือใช้ลงโฆษณา Google Ads เพื่อ Lead ลูกค้า เป็นอีกหนึ่งกุญแจที่จะนำพาธุรกิจของคุณให้ประสบความสำเร็จครับ
]]>
การตลาดออนไลน์ที่ทรงประสิทธิภาพ อาจต้องอาศัยตัวช่วยหลายอย่าง โดยในบทความนี้จะมาแนะนำตัวช่วยอย่าง Performance Max คือสิ่งที่จะช่วยให้ Google Ads สร้างผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น ดังนั้นนักการตลาดคนไหนที่ต้องใช้งาน Google Ads บ่อยๆ อย่าลืมนำ Performance Max ไปประยุกต์ใช้กับโฆษณา สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลรายละเอียด บทความนี้ก็ได้รวบรวมมาให้แล้ว ดังนี้
Performance Max คือแคมเปญหนึ่งในการทำ Google Ads หรือโฆษณา Google เพื่อให้แสดงบนทุก Placements ของ Google หรือที่เรียกว่าให้แสดงทุกช่องทางที่เป็นบริการของ Google นั่นเอง ซึ่งปัจจุบันบริการของ Google นั้นมีหลากหลายอย่างมาก แม้คนส่วนใหญ่อาจคุ้นเคยกับ Google ในฐานะเว็บ Search Engine เพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้ว Google นั้นมีบริการหลายอย่าง และบริการของ Google ต่างก็มีพื้นที่สำหรับแสดงโฆษณาที่แบรนด์ทั้งหลายหันมาใช้บริการกันอย่างคึกคัก
ช่องทางแสดงโฆษณาที่เป็นผลจากการใช้งานแคมเปญ Performance Max คือทุก Placements ของ Google จากการตั้งค่าเพียงครั้งเดียว ช่วยให้ผู้ใช้งานสะดวกขึ้น ช่องทางดังกล่าว ได้แก่
ช่องทางแรกที่แคมเปญ Performance Max จะแสดงผลคือช่องทางที่หลายคนคุ้นเคยดีกับ Google Search โดยโฆษณาจะแสดงเมื่อผู้ใช้งานค้นหา (Search) สิ่งที่ต้องการด้วย Keyword และโฆษณาที่ทำการประมูล Keyword นั้นไว้ จะแสดงโฆษณาอยู่บนสุดหรืออันดับ 1 ของหน้าค้นหานั้น
ช่องถัดมาที่แคมเปญ Performance Max จะแสดงผลคือ Google Display Network หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า GDN โดยโฆษณาจะแสดงเมื่อผู้ใช้งานเข้าเว็บไซต์ต่างๆ โดยเฉพาะเว็บข่าวและเว็บบล็อก ที่มักจะมีโฆษณาปรากฏอยู่ในลักษณะของ Banner แปะไว้ตามจุดต่างๆ นั่นเองที่เรียกว่า GDN ที่ทางแบรนด์ต้องซื้อโฆษณาจาก Google
อีกหนึ่งบริการของ Google ก็คือ Google Shopping ลักษณะของโฆษณาที่ปรากฏคือเมื่อผู้ใช้งานค้นหาอะไรสักอย่าง ที่อาจแสดงถึงความต้องการซื้อสินค้านั้น จะมีรายการสินค้าแสดงขึ้นมา ซึ่งเป็นหน้าสินค้าที่มีระบบตะกร้าสินค้าจาก Merketplace ต่างๆ
ถัดมาก็คือโฆษณาบน YouTube ซึ่งการตั้งค่าแคมเปญ Performance Max ก็ทำให้โฆษณาแสดงบนช่องทางนี้ด้วยเช่นกัน โดย YouTube ก็มีผู้ใช้งานจำนวนมหาศาล ได้รับการตอบรับที่ดีเสมอมา ทำให้โฆษณาที่แสดงผ่านช่องทางนี้ มีผู้ใช้งานเข้าถึงจำนวนมาก
Google Discovery ก็เป็นอีกบริการหนึ่งที่จะแสดงผลโฆษณาที่มาจากแคมเปญ Performance Max ได้เช่นกัน ลักษณะของโฆษณาจะเป็นแบบเนียนไปกับเนื้อหา โดยจะแสดงในแอป Google ซึ่งโฆษณาดังกล่าวจะแสดงในส่วนของ Google Discover feed และใน Youtube Home
นอกจากนี้การใช้งานแคมเปญ Performance Max ก็สามารถแสดงผลโฆษณาบน Gmail ได้ด้วย ซึ่งเป็นอีกบริการหนึ่ง Google หากใครเข้าไปตรวจสอบอีเมล์ของตัวเองใน Gmail ก็คงจะเคยผ่านตากับอีเมล์โฆษณา ที่มีคำว่า AD กำกับอยู่
ในกรณีที่ค้นหาสถานที่ผ่าน Google Map บนคอมพิวเตอร์แบบไม่เจาะจงชื่อสถานที่ เช่น ค้นคำว่า ที่พัก พัทยา จะมีที่พักบางแห่งที่จ่ายค่าโฆษณาไว้ แสดงขึ้นมาอันดับต้นๆ โดยมีคำว่า Ads กำกับอยู่ โดยการใช้แคมเปญ Performance Max ก็ทำให้แสดงบนช่องทางนี้ด้วย
กล่าวโดยสรุปเรื่องช่องทางที่แสดงโฆษณาโดยอาศัยการสนับสนุนจาก Performance Max คือทุก Placements ของ Google
ในการใช้งานแคมเปญนี้มีประโยชน์หลายอย่าง กล่าวโดยสรุปข้อดีของ Performance Max คือ
เดิมทีสำหรับนักการตลาดหรือ Marketer เวลาจะตั้งค่าให้โฆษณาแสดงบน Placements ไหนของ Google จะต้องตั้งทีละอัน แต่ถ้าใช้แคมเปญ Performance Max โฆษณาจะแสดงทุก Placements ของ Google ในการตั้งโฆษณาเพียงครั้งเดียว
จากที่ได้กล่าวไปว่าแคมเปญ Performance Max จะแสดงผลโฆษณาทุก Placements ของ Google จึงเข้าถึงกลุ่มคนได้กว้างขึ้น ไม่ว่ากลุ่มเป้าหมายจะชอบใช้งาน Platform ไหน แต่ถ้าหากเป็นของ Google ก็มีโอกาสที่จะได้เจอกับเนื้อหาโฆษณาของแบรนด์ที่เลือกใช้แคมเปญ Performance Max
นอกจากการเข้าถึงคนจำนวนมากและกว้างขวาง Performance Max ยังช่วยบริหารงบโฆษณาได้อย่างคุ้มค่า จากการเก็บผลลัพธ์มาวิเคราะห์และแสดงผลให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายแบรนด์ เช่น ถ้าหากโฆษณาของแบรนด์หนึ่งแสดงทุก Placements ไหนของ Google หลังจากนั้นได้มีการเก็บข้อมูลและพบว่า การโฆษณาบน Gmail ไม่ค่อยเกิดผลลัพธ์ที่ดี กลุ่มเป้าหมายอาจไม่ค่อยคลิกดูโฆษณา ก็จะลดการแสดงโฆษณาบน Gmail ลงและไปแสดงบน Placements อื่นที่มีประสิทธิภาพมากกว่าแทน จึงเป็นการใช้งบโฆษณาได้คุ้มค่ามากกว่า
นอกจากเรื่องของการแสดง Placements ของ Google ข้อดีอีกหนึ่งเรื่องที่โดดเด่นก็คือการเน้นที่เป้าหมายหรือ Conversion เพราะไม่ใช่แค่แสดงให้เห็นเท่านั้น แต่ Performance Max ยังกระตุ้นให้เกิด Conversion ด้วย ในส่วนนี้ ได้แก่ ยอดขาย (Sales), ความสนใจของกลุ่มที่แสดงถึงโอกาสการขายของแบรนด์ (Leads), การเข้าชมเว็บไซต์ (Website Traffic) เป็นต้น เมื่อเกิด Conversion ก็จะนำมาสู่การเพิ่มยอดขายในที่สุด
กล่าวโดยสรุป Performance Max คืออะไร ก็คือแคมเปญหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมโฆษณา Google ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มโอกาสการขายให้กับแบรนด์ในระยะยาว ทั้งยังอำนวยความสะดวกให้กับนักการตลาดที่ใช้เครื่องมือ Google Ads ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น
]]>หรือที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันดีในชื่อ Google Search จัดเป็นประเภท Google Ads ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคงไม่ใช่เรื่องผิดนัก ด้วยพื้นฐานหลักของเว็บ Search Engine ผู้คนย่อมต้องการเข้ามาเพื่อค้นหาข้อมูลอยู่แล้ว การทำโฆษณาเพื่อให้บุคคลเหล่านั้นมองเห็นเว็บไซต์ของคุณแล้วกดคลิกเข้าไปจึงเป็นเรื่องพื้นฐานที่ตรงกับจุดประสงค์ชัดเจน หลักสำคัญของการทำ Ads ประเภทนี้จำเป็นต้องมี “คีย์เวิร์ด” เพื่อให้คนเสิร์ชแล้วพบเจอกับหน้าเว็บของคุณ
อารมณ์จะคล้ายกับการทำ SEO แต่ง่ายดายกว่าตรงที่ไม่ต้องใช้ระยะเวลาในการทำอันดับ เมื่อคุณเลือกคีย์เวิร์ด ใส่มูลค่าการ Bid เขียนคำโปรยให้ดึงดูด ก็เริ่มต้นลงโฆษณาได้เลย หน้าเว็บของคุณจะไปอยู่หน้าแรกเมื่อมีคนเสิร์ชคีย์เวิร์ดดังกล่าว กลายเป็นจุดเด่นเพิ่มโอกาสให้คนคลิกเข้ามาค้นหาข้อมูลสินค้า / บริการมากขึ้น โอกาสสร้างยอดขายและผลกำไรย่อมสูงตามด้วยเช่นกัน สนใจรับลงโฆษณา Google ประเภทนี้เรามีบริการครับ
GDN ย่อมาจาก Google Display Network หรือแบนเนอร์โฆษณาก็ตามสะดวก เพราะลักษณะของการทำ Google Ads ประเภทนี้ต้องอาศัยการออกแบบทั้งภาพโฆษณา การคิดคำให้น่าสนใจ การดีไซน์ตัวหนังสือให้อยู่บนแบนเนอร์นั้น ๆ คล้ายกับการทำป้ายโฆษณาตามท้องถนน อาคารทั่วไป แต่ช่องทางในการติดตั้งจะเปลี่ยนเป็นเว็บไซต์พันธมิตรของ Google (เว็บไซต์ทั่วไปที่สมัคร Google Adsense เพื่อลงโฆษณากูเกิลบนเว็บไซต์ของเขา)
ยิ่งดีไซน์ภาพออกมาสวย แตกต่าง พรีเซนต์เนื้อหาตรงกับจริตของกลุ่มเป้าหมาย คนก็อยากคลิกเข้าไปชมมากขึ้น ซึ่งระบบอัลกอริทึมของ Google เอง จะเลือกเอาโฆษณาของคุณไปลงตามเว็บพันธมิตรที่มีเนื้อหาใกล้เคียงสินค้า / บริการนั้น ๆ เพิ่มโอกาสให้คนที่เข้าชมซึ่งเดิมทีสนใจเรื่องดังกล่าวอยู่แล้วก็ยิ่งสะดุดตามากขึ้น
เป็นรูปแบบการแสดงผล Google Ads ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ หลักเบื้องต้นคุณสามารถใส่ภาพสินค้า / บริการ ราคา และรายละเอียดต่าง ๆ ลงไปได้เลย จากนั้นเมื่อคนเสิร์ชคีย์เวิร์ดที่ตรงหรือใกล้เคียงกับสินค้าดังกล่าวภาพโฆษณาแบบ Shopping Ads ก็จะขึ้นมาเป็นตัวเลือกเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อง่ายขึ้นกว่าเดิม หากพวกเขาสนใจก็สามารถคลิกบนหน้าโฆษณาดังกล่าวเพื่อเชื่อมต่อไปยังแหล่งขายแล้วซื้อได้ทันที
ลักษณะการแสดงผลจะคล้ายกับ Marketplace ซึ่งหนึ่งผลลัพธ์การเสิร์ชจะไม่ได้มีแค่ร้านคุณเท่านั้น เพราะร้านอื่นที่ทำก็จะขึ้นมาเป็นคู่แข่งด้วย การใส่ข้อมูลให้ดึงดูด น่าสนใจ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด อีกเรื่องที่ควรรู้เว็บไซต์ที่สามารถทำ Google Ads ประเภทนี้ได้ต้องอยู่ในกลุ่มเว็บ E-Commerce เช่น Shopee, Lazada หรือเว็บลงขายสินค้าอื่น ๆ (ขณะที่ธุรกิจขายปลีก ขายส่งเจ้าดัง เจ้าใหญ่ที่ทำหน้าเว็บตนเองให้ออกแนว E-Commerce ก็จะได้เปรียบกับการโฆษณาลักษณะนี้) และต้องทำการสมัคร Google Merchant Center ด้วย
หรือจะเรียก YouTube Ads ก็ไม่ต่างกัน เพราะนี่คือช่องทางที่คุณสามารถนำเอาคลิปโฆษณาที่มีการเคลื่อนไหวนำเสนอให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ หากนึกภาพไม่ออกก็โฆษณาที่มักคั่นระหว่างคลิป โฆษณาเปิดหัว หรือตอนจบคลิป ไปจนถึงแบนเนอร์ที่ขึ้นมาระหว่างรับชม เป็นต้น ซึ่งประเภทของ Video Ads ก็ยังแยกตามการนำเสนอของ YouTube ได้อีกเยอะมาก ประกอบไปด้วย
Google Ads ประเภทสุดท้ายถูกใช้งานบนมือถือเป็นหลักเพราะจะทำหน้าที่นำเสนอโฆษณาของแอปพลิเคชันทั้งบนเว็บไซต์ YouTube ไปจนถึง Google Play Store เพื่อจุดประสงค์สำคัญให้คนเห็นแล้วอยากตัดสินใจดาวน์โหลดโดยไม่ต้องค้นหาให้ยุ่งยาก แค่กดโฆษณาดังกล่าวก็พร้อมติดตั้งแอปบนมือถือทันที ด้วยยุคนี้มือถือกลายเป็นอีกปัจจัยสำคัญของการใช้ชีวิต โฆษณา Google Ads ผ่าน Apps จึงน่าสนใจมากทีเดียว
นี่คือทั้ง 5 ประเภท Google Ads ที่ยังคงได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ธุรกิจบนโลกออนไลน์กลายเป็นช่องทางเข้าถึงอันดับต้น ๆ ของผู้คน ธุรกิจแต่ละประเภท หรือสินค้า / บริการจะเหมาะกับ Ads ประเภทไหนก็ต้องลองวิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจทำดู อีกสิ่งที่อยากเน้นย้ำคือต้องพยายาม Remarketing หรือทำโฆษณาซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ให้คนคุ้นชิน รู้จักแบรนด์ของคุณ จนกล้าตัดสินใจซื้อ ก็จะช่วยสร้างผลลัพธ์ที่ดีของการลงทุนด้านการตลาดออนไลน์ด้วย
ปัจจุยัน Google Ads มีแคมเปญแบบ Performance Max เปิดตัว 2 พฤศจิกายน 2021 คือ แคมเปญที่เมื่อเราสร้างขึ้นมาเพียงแค่แคมเปญเดียวโฆษณาก็จะไปแสดงตามช่องทาง (Placements) ต่าง ๆ ของบริการ Google ได้ทั้งหมด จากปกติที่เมื่อเราสร้างแคมเปญแล้วอยากจะให้ไปที่ Placements ไหน สามารถเลือกได้เพียงทีละ Placement เท่านั้น
]]>