อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่า Looker Studio หรือชื่อเดิมว่า Google Data Studio คือเครื่องมือที่จะช่วยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลของข้อมูล โดยแสดงออกมาเป็นรีพอร์ตในรูปของ กราฟ ตาราง แผนภูมิต่างๆ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการปรับปรุงกลยุทธ หรือการทำตลาดของธุรกิจ เราจะเห็นได้ว่าปัจจุบันบริษัทหรือธุรกิจขนาดใหญ่มีการใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงการออกแพคเกจหรือการให้บริการอยู่มากมายเช่น Facebook ที่ถือครองข้อมูลของบุคคลนับล้าน แล้วนำมาเป็นข้อมูลให้ผู้ซื้อโฆษณาเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อการยิงโฆษณาให้ถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ ซึ่ง Looker Studio เปิดให้ผู้ใช้งานใช้งานได้ฟรี แต่หากต้องการข้อมูลที่มากขึ้นอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงข้อมูลนั้น
ภาพตัวอย่าง Looker Studio จาก www.rockcontent.com
Looker Studio จะมีการทำงานอยู่สองส่วนคือ ส่วนของ Data Sources และส่วนของ Report หรือ Dashboard
ภาพ Data Sources ใน Looker Studio
ในส่วนนี้จะเป็นแหล่งข้อมูลให้ผู้ใช้งานได้เลือกว่าจะดึงข้อมูลประเภทใด จาก Tools ตัวใด เพื่อนำมาประมวลผล โดย Looker Studio มี Tools ให้ผู้ใช้เลือกใช้งานอยู่เป็นจำนวนมาก โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
Google Connectors เช่น MySQL, AppSheet, BigQuery, Google Sheets, Google Analytics, Google Ads, Google Search Console และ YouTube Analytics
Partner Connectors 899 connectors (Update Feb 2024) เช่น Facebook Ads, Tiktok Ads และ Hubspot
Open Source Connectors เช่น Github และ Stackoverflow
โดยผู้ใช้สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของ Connect to Data ได้ที่ www.lookerstudio.google.com/data
ภาพ Dashboard จาก www.hevodata.com
ในส่วนนี้จะแสดงข้อมูลที่ดึงมาจาก Data Sources มาประมวลผลเป็น Report ให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นภาพของการทำงานทั้งหมด Looker Studio มีเทมเพลตที่สวยงามให้ผู้ใช้ได้เลือกมาใช้งาน สำหรับผู้ที่สนใจเลือกเทมเพลต สามารถเลือกได้จากที่นี่ https://lookerstudio.google.com/gallery?category=marketing
ภาพหน้าหลักของ Looker Studio
ภาพการเลือกแพลตฟอร์มในการดึงข้อมูล
ภาพตัวอย่างการสร้าง Report จากชุดข้อมูล
สรุป Looker Studio ดีอย่างไร
ในการใช้งาน Looker Studio นั้นจะเหมาะกับงานที่ต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมในชุดของ Google เป็นหลัก ซึ่งข้อมูลของ Google นั้นจะมีการอัพเดทให้เป็นปัจจุบันตลอด ทำให้การเรียกใช้ข้อมูลเป็นจุดแข็งของ Looker Studio ในส่วน Template นั้น Looker Studio มีให้ผู้ใช้เลือกหยิบมาใช้ได้โดยที่ไม่ต้องออกแบบใหม่ทั้งหมด ทำให้ประหยัดเวลาในการใช้งานได้เป็นอย่างมาก และอีกจุดเด่นที่สำคัญคือการใช้งานได้ฟรี ทำให้เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน หรือนักศึกษาเป็นอย่างมาก
]]>
Google Zeitgeist คืออะไร มาให้สงสัยกันอีกหนึ่งคำ และเพื่อไขข้อข้องใจบทความนี้ก็เอาข้อมูลรายละเอียดมาฝากอีกเช่นเคย เกริ่นสักนิกว่า Google Zeitgeist เกี่ยวข้องกับคำค้น และนั่นสำคัญมากกับคนที่อยากทำการตลาดที่เกี่ยวกับการค้นหาบนอินเทอร์เน็ต ซึ่ง Google Zeitgeist จะช่วยให้รู้ว่าผู้คนนิยมค้นหาคำว่าอะไร สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจเราได้อย่างไรบ้าง เพื่อให้คนค้นหาคำเหล่านั้น มาเจอกับเนื้อหาของเรา หรืออาจจะทำให้รู้ว่าความสนใจของคนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรานั้นอยู่ตรงไหน จะได้ทำการตลาดได้เหมาะสม
Google Zeitgeist คืออะไร มาดูคำอ่านกันก่อน โดย Google Zeitgeist อ่านว่า “กูเกิ้ล ไซท์ไกสท์” สิ่งนี้คือสุดยอดคำค้นแห่งปี โดยในแต่ละปี Google จะเก็บข้อมูลการค้นหาของผู้ใช้งาน Google เอาไว้ ว่าคำไหนถูกค้นหาเป็นจำนวนเท่าไร จากนั้นพอถึงสิ้นปีจะมีการนำข้อมูลนั้นมาจัดอันดับ และรายงานออกมาเป็นข้อมูลสถิติของสุดยอดคำค้นหา โดยจะมีการแบ่งหมวดหมู่ออกมา ข้อดีของสิ่งนี้ก็คือการทำให้รู้ว่าความนิยมหรือความสนใจของผู้คนในสังคมคืออะไร สิ่งนี้ช่วยธุรกิจได้ เพราะการทำธุรกิจที่สอดคล้องกับความนิยม จะได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น
การใช้งาน Google Zeitgeist คือการดูความนิยมของคำค้นแห่งปี หากต้องการทดลองใช้งาน ลองค้นคำว่า “Google Zeitgeist” แล้วจะมีลิงค์ Year in Search (ปี ค.ศ.) ขึ้นมา แล้วลองคลิกเข้าไปจะพบว่าเป็นหน้าเพจของ Google Trend ซึ่งถ้าหากใครเคยใช้งาน Google Trend ก็จะรู้ว่าหน้าเว็บเพจนี้คือการดูความนิยมของคำค้นนั่นเอง สามารถนำ Keyword ที่ต้องการเปรียบเทียบกันมาตรวจสอบใน Google Trend ได้ หรือดูความนิยมของคำค้นในวันนั้นๆ ได้
แต่ถ้าหากคลิกลิงค์หลังจากที่ค้นคำว่า Google Zeitgeist จะเข้าสู่ Google Trend ที่รายงานผลคำค้นประจำปีเลย วิธีการใช้งานก็สามารถคลิกเลือกปีได้ว่าจะดูสุดยอดคำค้นของปีไหน โดยปกติแล้วปีแรกที่ปรากฏจะเป็นปีล่าสุดที่ Google เก็บข้อมูลไว้ได้ แต่ถ้าหากอยากดูข้อมูลย้อนหลังกลับไปปีก่อนหน้า ก็สามารถเปลี่ยนตัวเลือกเป็นปีนั้นๆ ได้ วิธีการใช้งาน Google Zeitgeist คือ
4.สามารถดูสุดยอดคำค้นเฉพาะประเทศได้ ด้วยการคลิกเลือกตรง Global แล้วเปลี่ยนเป็นประเทศที่ต้องการ หากเปลี่ยนเป็นประเทศไทย จะแสดงผลลัพธ์ตามหมวดหมู่ ดังนี้
การได้รู้ว่าอะไรคือสุดยอดคำค้นแห่งปีจาก Google Zeitgeist มีประโยชน์หลายอย่าง โดยเฉพาะในการทำธุรกิจ เพราะจะได้รู้ว่าตอนนี้คนนิยมอะไร หรืออยากรู้อะไร ซึ่งดีต่อการวางแผนการตลาด ยกตัวอย่างประโยชน์ของ Google Zeitgeist เช่น
การได้รู้ว่าสุดยอดคำค้นหมวด “บุคคล” ในปีที่ผ่านมาคือใครบ้าง ดีต่อแบรนด์ในการเลือกพรีเซนเตอร์ เพื่อโปรโมทสินค้าของแบรนด์ เพราะสุดยอดคำค้นในหมวดบุคคล แสดงให้เห็นถึงความนิยมของบุคคลนั้น แต่แบรนด์อาจต้องพิจารณาเพิ่มเติมด้วยว่า การค้นหาบุคคลนั้นเกี่ยวข้องกับข่าวด้านลบหรือไม่ เพราะบางครั้งอาจไม่ใช่ความนิยมเสมอไป โดยเฉพาะบุคคลที่ตกเป็นกระแสข่าวด้านลบ ก็มีสิทธิที่จะโดนค้นหามากจนติดอันดับได้เช่นกัน
ในกรณีที่แบรนด์ต้องเลือกเป็นสปอนเซอร์ให้กับอะไรสักอย่าง อาทิ ละคร ภาพยนตร์ คอนเสิร์ต ฯลฯ สามารถนำเอาสุดยอดคำค้นในหมวด ละคร/ซีรีส์ ภาพยนตร์ หรือคอนเสิร์ต มาพิจารณาด้วยได้ หากมีละครแนวคล้ายๆ กับละครที่มีคำค้นติดอันดับ หรือมีละครที่ใช้นักแสดงนำคนเดียวกันกับละครที่เคยติดอันดับสุดยอดคำค้นแห่งปี ก็อาจพิจารณาเป็นสปอนเซอร์ได้ หรือหากมีการจัดคอนเสิร์ตในอนาคต แล้วแบรนด์กำลังพิจารณาอยู่ว่าจะเป็นสปอนเซอร์ให้หรือไม่ ก็สามารถใช้ข้อมูลจาก Google Zeitgeist มาประกอบการพิจารณาได้เช่นกัน
อีกหนึ่งกรณีที่สามารถใช้ประโยชน์จาก Google Zeitgeist คือ ในยามที่ธุรกิจกำลังต้องการศึกษาจากแบรนด์ยอดนิยม เพื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจตัวเอง เช่น หากเป็นธุรกิจร้านอาหาร สามารถเลือกพิจารณาสุดยอดคำค้นหมวดร้านอาหารและคาเฟ่ได้ ว่าร้านไหนที่คนกำลังให้ความนิยม แล้วเลือกร้านนั้นๆ มาเป็นกรณีศึกษา เพื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองได้เช่นกัน อีกทั้งยังใช้หมวดนี้ศึกษาคู่แข่งได้ บางกรณีที่อยู่ในตำแหน่งทางธุรกิจเป็นคู่แข่งกัน ก็สามารถนำมาปรับใช้ในแผนการตลาดได้ด้วย
ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับ Google Zeitgeist คืออะไร เชื่อว่าคงจะได้ความรู้กลับไปไม่มากก็น้อย และคงเห็นว่าประโยชน์ของ Google Zeitgeist ต่อธุรกิจมีหลายด้าน สามารถนำไปใช้งานให้เหมาะสมกับธุรกิจแต่ละรูปแบบได้อย่างแน่นอน ปัจจุบันการเลือกคำค้นยอดนิยมมาเป็นข้อมูลอ้างอิง เพื่อวางกลยุทธ์ทางการตลาด ถือว่าช่วยสร้างผลลัพธ์ที่ดีทีเดียว
]]>Google G Suite คือ บริการ (ผลิตภัณฑ์) จากทาง Google เพื่อรองรับการทำงานผ่านระบบ Cloud แบบ 100% ช่วยให้ผู้ที่ทำงานร่วมกันทุกคนไม่ว่าจะกลุ่มคนองค์กรเดียวกันหรือต่างองค์กรสามารถแชร์ข้อมูลถึงกันง่ายดายภายใต้ความปลอดภัยระดับสูง เข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ทุกที่ ทุกเวลา เพียงแค่มีอุปกรณ์และสัญญาณอินเทอร์เน็ต ทำการล็อกอินเข้าสู่ระบบบัญชีของตนเองที่ได้มีการตั้งค่าการเข้าถึงเอาไว้ ซึ่งปัจจุบันได้มีการรีแบรนด์ใหม่ในชื่อ “Google Workspace” แต่รูปแบบการใช้งาน และคุณสมบัติทุกอย่างยังเหมือนเดิมทุกประการ
ด้วยความปลอดภัยและความสะดวกต่อการทำงาน ทำธุรกิจในยุคออนไลน์ ส่งผลให้ Google G Suite มีองค์กรจำนวนมากใช้งานกว่า 5 ล้านแห่ง ทั่วโลก นั่นเท่ากับคนทำงานไม่จำเป็นต้องล็อกอินทีละโปรแกรม ทีละเว็บไซต์ หรือทีละแอปพลิเคชันให้ยุ่งยากอีกต่อไป เพียงแค่ใช้บัญชีของ Gmail ล็อกอินใช้งานผ่าน Google ตามปกติก็เข้าสู่บริการทั้งหมดได้เลย
อย่างที่อธิบายไว้ว่า Google G Suite ได้รวมเอาบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานไว้ในระบบเดียว นั่นเท่ากับเมื่อผู้ใช้มีบัญชี Gmail เรียบร้อย ก็สามารถใช้งานได้ทั้งหมดตามเงื่อนไขที่ทาง Google ระบุเอาไว้ โดยบริการยอดนิยมประกอบไปด้วย
ทั้งนี้นอกจากบริการดังกล่าวที่ระบุมาแล้ว Google G Suite ก็ยังมีระบบด้านความปลอดภัยและการจัดการข้อมูลของผู้ใช้เพื่อป้องกันปัญหาการรั่วไหลของแต่ละองค์กร ดังนี้
เมื่อระบบทุกอย่างถูกรวมเอาไว้แล้ว พนักงาน ผู้บริหาร ผู้ค้า ลูกค้า ก็สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลารอคอยใด ๆ ทั้งสิ้น ล็อกอินแค่ชื่อบัญชี Gmail ก็ใช้ได้กับทุกบริการ เช่น การนัดประชุมออนไลน์แทนที่จะต้องขับรถเข้าไปหาลูกค้า แชร์เนื้อหางานโดยทุกคนสามารถมองเห็น แก้ไขได้ ลดต้นทุน ลดความเหนื่อยล้า และยังทำให้งานเดินหน้าเร็วขึ้นด้วย
ด้วยระบบ Cloud แบบ 100% ข้อมูลทุกอย่างจะถูกเก็บเอาไว้ รวมถึงมีระบบรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนา ต้องได้รับเชิญหรืออนุมัติเท่านั้น จึงหมดกังวลเรื่องข้อมูลสูญหายหรือถูกผู้ไม่ประสงค์ดีแอบเข้ามาขโมยไปใช้
ภาพลักษณ์องค์กรเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งการมี Google G Suite จะช่วยเรื่องนี้ได้ดี ทั้งโดเมนอีเมลที่เปลี่ยนเป็นชื่อองค์กรเอง ไปจนถึงการจัดเก็บข้อมูลปลอดภัย การทำงานเชื่อมต่อประสานงานภายในเวลาอันรวดเร็ว
Microsoft Outlook คือ ระบบการโต้ตอบแบบเก่าที่เกิดขึ้นมายาวนาน มีบริการใกล้เคียงกับ Google G Suite นั่นทำให้องค์กรจำนวนมากยังคงใช้งานกันอยู่ ซึ่งทาง Google เองได้ปรับระบบพร้อมยอมรับการใช้งานร่วมกันแล้วด้วย
[ข้อมูลล่าสุด 2024] ทดลองใช้งาน Google Workspace ฟรี 14 วัน และมีค่าบริการรายเดือน/ปี สำหรับแผนหรือ Package ให้เลือก Business Starter, Business Standard , Business Plus และ Enterprise โดยจะปลดล็อคบริการและฟีเจอร์ต่างๆตามราคาต่อยูเซอร์
Google G Suite หรือบริการ Google Workspace เป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อสร้างความสะดวก ปลอดภัยให้กับธุรกิจทุกประเภท มีระบบการติดต่อ การใช้งานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแบบครบครัน มากไปกว่านั้นยังผ่านการยอมรับจากองค์กรทั่วโลกจำนวนมาก อีกทางเลือกดี ๆ ที่ธุรกิจบนโลกออนไลน์จำเป็นต้องรู้เอาไว้เลย
]]>
GOOGLE FAMILY LINK คืออะไร หลายคนกำลังเกิดคำถาม หรือกำลังสงสัยเกี่ยวกับ GOOGLE FAMILY LINK เพราะได้ยินผ่านๆ มาว่าจะสามารถดูแลลูกๆ เรื่องการเล่นมือถือได้ ช่วยควบคุมพฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์มือถือในระยะไกลผ่านแอปพลิเคชั่นได้ง่ายๆ ครั้งนี้ทางบทความก็ได้รวบรวมมาให้แล้ว กับข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับ GOOGLE FAMILY LINK ทั้งแนะนำแอปและวิธีใช้งาน รวมถึงประโยชน์ด้านต่างๆ
GOOGLE FAMILY LINK คือแอปพลิเคชั่นของ Google ที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ปกครองที่ต้องการควบคุมพฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์มือถือของเด็กๆ ได้ใช้งาน สามารถจำกัดการใช้งานโทรศัพท์มือถือของเด็กๆ ได้ รองรับการควบคุมเวลาการอยู่หน้าจอ ควบคุมการเข้าใช้งานแอปพลิเคชั่นต่างๆ รวมถึงควบคุมการดาวน์โหลดติดตั้งแอปพลิเคชั่นต่างๆ อีกทั้งยังมีระบบ GPS ติดตามตัว เพื่อรายงานตำแหน่งให้ผู้ปกครองทราบอยู่เสมอ ว่าเด็กๆ อยู่ที่ไหน
วิธีการติดตั้ง GOOGLE FAMILY LINK คือจะต้องติดตั้งทั้งบนอุปกรณ์ของผู้ปกครองและอุปกรณ์ของเด็กที่อยู่ในความปกครอง จากนั้นตั้งค่าให้ทั้ง 2 เครื่องเชื่อมต่อกัน เพื่อให้โทรศัพท์มือถือผู้ปกครองสามารถควบคุมการใช้งานโทรศัพท์ของเด็กที่อยู่ในความปกครองได้ ผ่านแอปพลิเคชั่น GOOGLE FAMILY LINK โดยวิธีการติดตั้ง ได้แก่
คุณสมบัติของ Google Family Link คือการควบคุมพฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์มือถือของเด็กๆ ซึ่งสามารถกำหนดได้หลายส่วน ได้แก่
คุณสมบัติหนึ่งของ Google Family Link คือสามารถจำกัดเวลาการใช้งานโทรศัพท์มือถือของเด็กในปกครองได้ โดยผู้ปกครองสามารถกำหนดได้ว่าจะให้เด็กใช้งานวันละกี่ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละกี่ชั่วโมง หากมีการตั้งค่าจำกัดเวลาเอาไว้แล้ว เมื่อเด็กใช้งานโทรศัพท์จนครบช่วงเวลาดังกล่าว เด็กๆ จะไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์ได้อีก นอกจากโทรเข้าหรือโทรออกเท่านั้น ตั้งค่าได้โดยการเข้าไปในแอปฯ Google Family Link บนอุปกรณ์ของผู้ปกครอง แล้วกดเลือกบัญชีของเด็ก ไปยังช่อง Screen time แล้วกดปุ่ม Set up
อีกหนึ่งคุณสมบัติของ Google Family Link นั่นก็คือการตั้งค่าความเหมาะสมของเนื้อหา โดยการเข้าไปในแอปฯ Google Family Link แล้วกด Manage ในแถบ Settings จากนั้นเลือกกำหนดได้ 4 ช่องทาง ได้แก่ Google Play/App Store, YouTube, Google Chrome และ Google Search เพื่อควบคุมการการแสดงเนื้อหาบนช่องทางต่างๆ
นอกจากควบคุมความเหมาะสมของเนื้อหาแล้ว ผู้ปกครองสามารถควบคุมการค้นหาและดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นรวมถึงเกมต่างๆ ได้ โดยให้เลือก Google Play/App Store และกด Apps & Games จากนั้น เลือกเรตที่ต้องการให้เด็กเข้าถึงได้ หากยิ่งเลือกอายุน้อย ก็จะยิ่งมีการจำกัดเนื้อหามากขึ้น รวมถึงสามารถจำกัดการซื้อแอปพลิเคชั่นได้ โดยตั้งค่าให้ผู้ปกครองกดอนุมัติทุกการซื้อแอปฯ หรือเกม
คุณสมบัติถัดมาคือสามารถควบคุมการค้นหาบน Google Search ได้ โดยการเข้าไปที่ Google Search แล้วไปที่แถบ Safe Search เพื่อกดเปิด Google ก็จะกรองเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมออกไป รวมถึงสามารถตั้งค่าการป้องกันเข้าเว็บไซต์อันตรายใน Google ได้ด้วย โดยการไปที่แถบ Google Chrome แล้วกดเลือกระดับการป้องกันได้ จะมีตัวเลือกคือ เข้าได้ทุกเว็บไซต์ บล็อกเว็บไซต์สุ่มเสี่ยง และกำหนดทุกเว็บไซต์เอง
มาถึงตรงนี้หลายคนคงพอเข้าใจแล้ว GOOGLE FAMILY LINK คืออะไร สามารถนำไปปรับให้เหมาะสมได้ ตั้งแต่การดาวน์โหลดและการใช้งาน
]]>Google My Business หรือ Google Business Profile คือ ข้อมูลการค้นหาบน Google ที่สร้างขึ้นมาเพื่อสนับสนุนร้านค้า และธุรกิจต่างๆ ในพื้นที่ (Local SEO) โดยเราสามารถใส่ข้อมูลของธุรกิจลงในฐานข้อมูลของ Google ได้ เมื่อมีคนเสิร์ชหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับร้านค้า หรือธุรกิจของเรา ข้อมูลก็จะแสดงขึ้นบน Google Search และ Google Map เช่น เวลาค้นว่า “ร้านชาบูหม่าล่า” ก็จะพบร้านค้าในพื้นที่ใกล้เคียงที่ทำ Google My Business โผล่ขึ้นมาให้เราเลือก
โดยจุดเด่นของบริการนี้คือ เมื่อมีคนเสิร์ชหาร้านค้า สถานที่ท่องเที่ยว หรือบริการบน Google Map หากร้านค้าของคุณอยู่ใกล้เคียง หรืออยู่ในพื้นที่ที่ลูกค้าเลือกเสิร์ช ข้อมูลธุรกิจของคุณก็จะถูกแสดงขึ้นมา เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงร้านค้าของคุณได้
อัพเดท 2024 เราสามารถสมัคร Google My Business ได้ด้วยบัญชี Google หรือ Gmail นะครับ หากเรามีบัญชี Google พร้อมแล้ว ก็คลิกปุ่ม “จัดการเลย” ได้เลย
ขั้นแรกเลยที่เราต้องทำคือ การตั้งชื่อธุรกิจของคุณ แต่! คุณไม่ควรใส่เพียงแค่ชื่อบริษัท หรือชื่อแบรนด์ เพียงอย่างเดียว สิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกค้ารู้จักคุณได้ง่ายขึ้นคือ “ Keyword ”
คุณควรใส่คำค้นหา หรือคำอธิบายสั้นๆ ไปด้วยว่า ธุรกิจของคุณทำอะไร เพื่อให้คนที่เสิร์ชรู้ได้ทันทีว่าธุรกิจของคุณทำอะไร
ให้คุณใส่เบอร์โทรศัพท์ของคุณลงไปพร้อมกับเว็บไซต์ หากธุรกิจของคุณยังไม่มีเว็บไซต์ อาจใช้เป็นลิงก์จาก Facebook Fanpage หรือ ลิงก์สำหรับแอด Line Official แทนไปก่อนได้
วิธีที่ง่ายที่สุด คือการรับรหัสยืนยันผ่านทางโทรศัพท์ อีกวิธีคือ ทาง Google จะส่งรหัสมาทางไปรษณียบัตร ใช้เวลาประมาณ 14 วัน เมื่อได้รับแล้ว ในจดหมายจะมีรหัส 6 ตัว ให้เรานำมากรอก ใน Google My Business เพื่อยืนยัน เป็นอันเสร็จสิ้นการสมัคร
หลังจากที่คุณสมัครเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถโพสต์ข้อความ รูปภาพ และวีดีโอ ลงใน Google My Business ของคุณได้ เพื่อเป็นการโปรโมทธุรกิจของคุณ ให้มองว่ามันคือ Social Media อีกช่องทางหนึ่งที่มีคนเข้ามาดู มาหาข้อมูลในเพจของคุณ ดูรูปภาพสินค้า อ่านรีวิวจากลูกค้าที่เคยซื้อสินค้า หรือใช้บริการ
เราสามารถอัพเดทรายละเอียดต่างๆ ของธุรกิจ ลงใน Google My Business เป็นข้อมูลที่จำเป็น เช่น
อีกหนึ่งส่วนที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือ “คะแนนรีวิว”
ส่วนรีวิว (Review) และคอมเมนต์จากลูกค้าถือเป็น Local SEO เมื่อมีการพูดถึงมากขึ้น ก็จะส่งเสริมชื่อเสียงต่างๆให้กับธุรกิจของเรา
สรุป
Google My Business คือ บริการฟรีจาก Google ที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจห้างร้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเหล่าธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีหน้าร้าน และมักจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตทางเศรษฐกิจต่าง ๆ Google My Business จึงถือเป็นหนึ่งในบริการที่มีบทบาทอย่างยิ่งต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทย
]]>Google Analytics คือ เครื่องมือดูสถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่ใช้ได้ฟรีจาก Google โดยกระบวนการทำงานของ GA4 (ชื่อที่มักเรียกกันสั้นๆ) ทำให้เรารู้ว่า เว็บไซต์เรามีคนเข้าเว็บ (UIP) วันละเท่าไร ดูเป็นกราฟย้อนหลังได้ เข้าถึงเว็บไซต์ของเราจากอุปกรณ์อะไรบ้าง เพศชายหญิง ช่วงอายุ ประเทศ หน้าเพจไหนของเรามีคนเข้าเยอะ ใช้เวลาอยู่นาน-ไม่นาน (Session/Duration) ใช้ทำ Customer Journey และวัดค่า Conversion Rate ดูพฤติกรรมลูกค้าตั้งแต่เข้าเว็บจนจบการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ หรือออกไปที่หน้าไหน จึงวิเคราะห์หาจุดผิดพลาดได้ และนำมาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ว่าเว็บเราควรปรับปรุงอะไรต่อ หรือจะปรับแผนการตลาดยังไงให้คนซื้อของของเรามากขึ้น หรือลงมือกระทำบางอย่างที่ตอบจุดประสงค์ของธุรกิจ
Google Analytics เราแนะนำวิธีติดตั้ง ได้ 2 วิธี คือ
ในส่วนนี้ เรามาดูว่าเมนูของ Google Analytics 4 ใช้งานยังไง สอนใช้งานสำหรับคนทั่วไป สามารถรายงานได้มากถึง 2,000 เว็บไซต์ ต่อ 1 บัญชี
Home หรือหน้าแรก จะเป็นหน้าแรกสุดที่คุณจะเจอหลังจากที่คุณ Login เข้ามายัง Google Analytics โดยที่หน้านี้จะเป็นหน้าที่คุณจะเห็นภาพรวมของข้อมูลทั้งหมดที่สำคัญสำหรับคุณเช่นข้อมูล Users, Engagement หรือ Revenue ของเว็บไซต์ของคุณ
เรียกได้ว่าใน Section นี้ ตัว Google Analytics จะรวมข้อมูลที่สำคัญมาไว้ในที่เดียว ซึ่งถ้าคุณอยากจะดูข้อมูลเชิงลึกในส่วนไหน คุณก็สามารถกดดูได้ เช่น ถ้าผมอยากดูข้อมูลแบบ Realtime ในเชิงลึก ผมก็แค่กดปุ่ม View Realtime ถ้าต้องการดูข้อมูลของ User Acquisition ก็กดปุ่ม View User Acquisition
GA4 Realtime เราใช้ดู ขณะปัจจุบัน หรือตอนนี้ มีผู้เข้าชมเว็บไซต์จำนวนกี่คน อยู่หน้าไหนเท่าไรบ้าง ข้อมูลในส่วนของ Realtime จะมีประโยชน์มากๆ สมมติเราทำกิจกรรม หรือบูสโฆษณา เราใช้ส่วนนี้ monitor ได้ครับ
Google Analytic Report รายงานคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณมีปฏิสัมพันธ์ยังไงบ้าง เช่นปฏิสัมพันธ์กับเว็บไซต์หน้าไหน ใช้เวลากับแต่ละหน้ามากน้อยเท่าไหร่ ซึ่งตัวเลขค่าเหล่านี้มีผลต่อ SEO Onpage
Google Analytic Users เป็น Section ที่ลงรายละเอียดเกี่ยวกับ User ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ โดยที่ Section นี้มีหัวข้อย่อยคือ Demographics และ Tech
4.1 Demographics
Google Analytic Demographics เป็นส่วนที่บอกข้อมูลภาพรวมเกี่ยวกับ User ว่าเขามาจากประเทศ/จังหวัดไหน เพศอะไร อายุเท่าไหร่ และพูดภาษาอะไร
4.2 Tech
Google Analytic Tech เป็นส่วนที่บอกข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ User ใช้ในการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเช่นเข้าผ่านประเภทของ Device แบบไหน (Mobile, Desktop, Tablet) ใช้ Browser แบบไหน (Chrome, Safari, Android Webview, Edge, Firefox และอื่นๆ) หรือใช้ Operating System ไหน (iOS, Android, Window และอื่นๆ) ค่า Screen resolution ขนาดหน้าจอ
ข้อมูลในส่วนของ Demographic และ Tech นี้เอาไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง อย่างที่เห็นชัดที่สุดก็คงจะเป็นการเอาข้อมูลเหล่านี้ไปใช้กับการเลือก Audience ในระบบโฆษณาอย่าง Facebook Ads หรือ Google Ads เป็นต้น
Google Analytic Events ในส่วนนี้ต้องมี Programmer มาช่วยจัดการครับ Event Tracking เบื้องต้นผ่าน Tools Google Tag Manager ใช้ดูรายงานเหตุการณ์ต่างๆ Conversion Rate ที่คุณอยากวัดผลบนเว็บไซต์ของคุณ (เช่น การคลิกปุ่ม การScrollหน้าจอ การคลิกดูวีดีโอ การซื้อของ การกรอกข้อมูล หรือไปเยี่ยมชมหน้าที่คุณอยากให้ไปเยี่ยมชม หรือการปิดBrowser) โดยที่ Section นี้มีหัวข้อย่อยคือ Conversion และ All Events รวมถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการสร้างเป็น Goal ของเว็บไซต์ หรือสร้าง Segment และ Export เป็น Audience เพื่อนำไปทำ Remarketing นอกจากนั้นยังสามารถสร้าง Funnel analysis ที่สามารถใช้ในการวิเคราะห์ขั้นตอนที่สำคัญๆ ของ User Journey โดยการดูจำนวนของผู้ใช้ที่ Completed Goal หรือคนที่ Drop off ไปในแต่ละขั้นตอน
5.1 Conversion
Section ย่อยนี้เป็นส่วนที่เอาไว้ให้คุณกำหนดค่าว่ากิจกรรมไหนที่บนเว็บไซต์ของคุณที่นับเป็น Conversion
ข้อมูลในส่วนนี้จะทำให้คุณเห็นประสิทธิภาพของเว็บไซต์ของคุณมากยิ่งขึ้นว่ามันไปตอบโจทย์เป้าหมายทางธุรกิจจริงๆ รึเปล่า
5.2 All Events
Section ย่อยนี้เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นภาพ Event ทั้งหมดที่เกิดขึ้นมาเว็บไซต์ของคุณเช่น First Visit, Pageview หรือ Click
Google Analytics เป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่มีเพื่อนำไปพัฒนาเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้แบรนด์เข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายของเราเป็นใครได้ในเชิงลึก ทำให้เราสามารถประหยัดเวลาในการเลือกช่องทางการโปรโมตสินค้า นอกจากนี้ยังสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์ในการทำ Remarketing ได้ในอนาคตอีกด้วย มีให้ใช้งานทั้งบนเวอร์ชั่น Website และบน Application มือถือ
]]>
Google SERP คืออะไร อีกหนึ่งคำถามที่ยังมีบางคนสงสัยอยู่ โดยเฉพาะนักการตลาดหรือคนทำ SEO หน้าใหม่ ซึ่งในบทความนี้ก็ได้รวบรวมเอาข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับความหมายของ Google SERP มาให้ได้ศึกษากัน พร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญและการนำไปปรับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ
Google SERP คือ หน้าที่แสดงผลของการค้นหาบนเว็บ Search Engine อย่าง Google ย่อมาจาก Search Engine Results Page ทำให้รู้ว่าใน Keyword นั้นๆ เว็บไซต์ไหนแสดงผลอยู่อันดับที่เท่าไรของ Google
การดูผลบน Google SERP คือความสำคัญอีกหนึ่งอย่างสำหรับคนทำ SEO แน่นอนว่าถ้าหากจะทำบทความ SEO ขึ้นมาสัก 1 บทความ บางครั้งก็ต้องสังเกตการจากคู่แข่งสักหน่อย และการสังเกตการจาก Google SERP ก็ถือเป็นแนวทางที่เหมาะสม
ประเภทการแสดงผลบน Google SERP จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
การแสดงผลแบบ Organic SERP Listings เป็นหนึ่งในผลลัพธ์ที่แสดงบน Google SERP ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ไม่ได้รับการจ่ายค่าโฆษณา และติดอันดับแบบ Organic จากการทำ SEO ที่มีประสิทธิภาพ
การแสดงผลแบบ Paid SERP Listings เป็นหนึ่งในผลลัพธ์ที่แสดงบน Google SERP ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ต้องจ่ายค่าโฆษณาเพื่อประมูล Keyword ในระบบของ Google ซึ่งจะแสดงอยู่บนสุดเหนือสูงกว่าเนื้อหาที่ติดอันดับแบบ Organic ผู้รับสารจะรู้ได้ว่าเนื้อหานี้มีการจ่ายโฆษณา เพราะมีคำว่า Sponsored กำกับอยู่
SERP มีส่วนประกอบหลายส่วนด้วยกัน ได้แก่
หน้าที่แสดงผลของการค้นหาบนเว็บ Google ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ หากลองสังเกตแล้วจะเห็นว่าแต่ละส่วนนั้นสำคัญหมด ที่ทำให้เนื้อหานั้นติดอันดับใน Google ด้วย Keyword หนึ่ง สำหรับคนทำ SEO ที่ต้เองการผลิตเนื้อหาด้วย Keyword เดียวกัน อาจลองดูเนื้อหาของคนอื่นที่ทำมาก่อนหน้านั้นและติดอันดับ พร้อมด้วยการวิเคราะห์แต่ละส่วนที่ปรากฏอยู่บน Google SERP แนะนำให้สังเกต Keyword จะดีที่สุด
Google SERP เป็นตัวช่วยที่เหมาะกับการใช้วิเคราะห์คู่แข่ง ซึ่งสำคัญกับคนที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการตลาดออนไลน์ ดังนี้
ผู้จัดการตลาดออนไลน์ที่ต้องดูแลเรื่องการทำ SEO หรือการทำเนื้อหาให้ติดอันดับใน Google ควรใช้ Google SERP วิเคราะห์คู่แข่ง และสรรหา Keyword รวมถึงวางแผนการวางโครงสร้างเนื้อหาบทความ SEO เพื่อบรีฟต่อให้กับนักเขียนคอนเทนต์
คนทำ SEO ไม่ว่าจะเป็นนักพัฒนาเว็บไซต์ หรือคนปรับระบบหลังบ้านให้สอดคล้องกับ SEO รวมถึงคนที่วางโครงสร้างเว็บไซต์ อาจต้องใช้งาน Google SERP ประกอบด้วยเช่นกัน เพื่อวิเคราะห์คู่แข่งและวางแผนปรับปรุงเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับหลักการ SEO ใน Keyword นั้น
Google SERP ก็ค่อนข้างสำคัญกับ SEO Content Creators หรือนักเขียนบทความ SEO เช่นกัน โดยนักเขียนที่มีหน้าที่สร้างสรรค์เนื้อหาให้สอดคล้องกับหลักการ SEO และต้องการจะสู้กับคู่แข่งให้ได้ ควรวิเคราะห์คู่แข่ง ซึ่งสามารถอาศัย Google SERP เป็นตัวช่วยได้
แม้ว่า Google SERP จะมีไว้เพียงแสดงผลอันดับเท่านั้น แต่อย่างที่ได้กล่าวไปมาว่า SERP มีส่วนประกอบต่างๆ หลากหลาย โดยส่วนประกอบเหล่านั้นสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการทำ SEO ได้ โดยวิธีการใช้งาน Google SERP คือการเก็บเอาเนื้อหาที่ติดอันดับต้นๆ สังเกตองค์ประกอบต่างๆ ตั้งแต่ชื่อเรื่องไปจนถึงการเขียนเนื้อหาฉบับเต็ม โดยไอเดียที่นำมาปรับใช้ได้จาก Google SERP นั้น ได้แก่
นอกจากการสังเกตบนหน้า Google SERP แล้ว ยังมีเครื่องมือบางอย่างที่มีไว้สำหรับใช้งานบน SERP เพื่อระบุข้อมูลเชิงลึกลงไปอีก ช่วยให้วิเคราะห์คู่แข่งได้ลึกขึ้นกว่าเดิม ในครั้งนี้จะขอแนะนำเครื่องมือดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น SEO Quake, Moz Bar, Serp Analyzer และ Semalt
จากที่ได้กล่าวไปว่า Google SERP คือ หน้าที่แสดงผลของการค้นหา ซึ่งมีส่วนประกอบหลายอย่างด้วยกัน เหมาะสำหรับคนทำ SEO อย่างยิ่ง ใช้ในการวิเคราะห์คู่แข่ง เพื่อสร้างสรรค์เนื้อหาและวางโครงเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับหลักการของ SEO มากที่สุด ซึ่งการอ้างอิงจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว ก็ถือเป็นวิธีการหนึ่งที่น่าสนใจ โดยสวามารถใช้ Google SERP เป็นตัวช่วยได้
]]>Google Adwords หรือ Google Ads คือ รูปแบบการโฆษณาผ่านช่องทางของ Google ในฐานะ Search Engine อันดับ 1 ของเมืองไทยและของโลก หลักการใช้งานเมื่อคุณมีบัญชีกับทาง Google เรียบร้อยก็สามารถเริ่มลงโฆษณาในรูปแบบที่เหมาะกับธุรกิจของตนเองได้ทันที อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายในการโฆษณาดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้คลิกเข้าชม หรือที่เรียกว่า Pay Per Click (PPC)
ต้องใช้ Keyword เพื่อสร้างโฆษณาบนหน้าเว็บ Google เมื่อมีคนค้นหาคำดังกล่าวเว็บของคุณจะติดอันดับอยู่ด้านบนหรือด้านล่างในหน้าแรก เหมือนการทำ SEO แต่ผลลัพธ์รวดเร็วมากกว่า
หรือ GDN คือลักษณะของแบนเนอร์ซึ่งมีได้ทั้งภาพและตัวอักษรเพื่อโฆษณาดึงดูดความสนใจ โดยจะถูกนำไปแปะเอาไว้ตามเว็บพันธมิตรของ Google ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับธุรกิจของคุณ
โฆษณาประเภทนี้จะทำเป็นคลิปวิดีโอแล้วลงผ่านช่องทาง YouTube ซึ่งมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมหรือความพึงพอใจของผู้ลงโฆษณา เช่น Display Ad, Overlay in-video ads, Non-Skipable in-stream ad, Bumper advertising (คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม)
ตัวโฆษณาจะถูกทำออกมาในลักษณะของการขายสินค้านั้น ๆ ชัดเจน ต้องมีข้อมูลและราคาพร้อมช่องทางการซื้อระบุเอาไว้ให้ละเอียดครบถ้วน ลูกค้าสามารถคลิกเข้าซื้อได้ทันที
เป็นการโฆษณาผ่านช่องทางมือถือโดยมีจุดประสงค์ให้คนดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่คุณสร้างขึ้นมา
แม้ Google Adwords จะมีหลายรูปแบบให้เลือก แต่ถ้าพิจารณาจากความง่ายมากสุดก็ต้องยกให้กับ Google Search เพราะคุณไม่จำเป็นต้อมีทักษะด้านการตัดต่อ การสร้างภาพแบนเนอร์ ไม่ต้องเสียเวลาลงรายละเอียดข้อมูลสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น เพียงแค่มีเว็บไซต์หลักที่ต้องการให้ลูกค้าคลิกเข้าไปก็สามารถเริ่มเข้าสู่การยิง Google Ads ได้ทันที ซึ่งขั้นตอนเบื้องต้นให้ทำตามนี้เลย
หากคุณสนใจอยากเริ่มทำ Google Adwords นอกจากการค้นหา Keyword ให้เหมาะสมด้วยการเลือกคำที่คนค้นหาระดับปานกลางไปค่อนทางสูง ไม่เน้นคำทั่วไปที่คนเสิร์ชเยอะเพราะแข่งขันสูงและผลลัพธ์ไม่ค่อยน่าพึงพอใจ ยังมีข้อควรรู้เบื้องต้นอื่น ๆ เพิ่มเติมที่อยากบอกต่อ
อย่างที่บอกไปว่า Google ถือเป็นเว็บ Search Engine อันดับ 1 ของไทยและของโลก คนไทยกว่า 99% ใช้เว็บนี้เพื่อค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ดังนั้นคุณจึงมีโอกาสเป็นที่รู้จัก สามารถสร้างยอดขายได้มากขึ้นเมื่อทำ Google Adwords
ปัจจัยต่อมาการยิงแอดผ่าน Google จะมีสถิติตัวเลขต่าง ๆ เกี่ยวกับโฆษณาที่ลงไป สามารถนำเอาไปใช้เพื่อวางแผนการทำ Ads ครั้งถัดไปได้ง่ายขึ้น รวมถึงยังต่อยอดสู่แผนการตลาดของธุรกิจ
คุณสามารถกำหนดได้ว่าแต่ละวันต้องการตั้งค่าจำนวนเงินที่พร้อมจ่ายกี่บาท ซึ่งเป็นไปตามงบขององค์กรหรือความเหมาะสม งบไม่มีบานปลายให้ต้องกังวลใจ
การลง Google Adwords สามารถกำหนดได้ว่าต้องการยิงแอดไปพื้นที่ใด บริเวณไหนของโลก เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายของตนเองเห็นและมีโอกาสเปลี่ยนเป็นลูกค้ามากที่สุด
นี่คือข้อมูลน่าสนใจทั้งหมดของ Google Adwords ซึ่งถือเป็นช่องทางการทำโฆษณาอันทรงพลังผ่านโลกออนไลน์ สร้างโอกาสต่อยอดสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังเอาไว้ ได้ผลลัพธ์ดีและยังต่อยอดเพิ่มเติมสู่อนาคตไม่ยากเลย เรามีบริการรับลงโฆษณา Google Ads ติดหน้าแรก Google สำหรับเจ้าของธุรกิจที่ไม่มีเวลาในส่วนนี้ครับ
]]>Google Search Console คือ เครื่องมือที่ใช้เพื่อตรวจสอบเว็บไซต์ของเรา รายงานคีย์เวิร์ด ยอดคนค้นหาบน Google และเห็นเว็บเรา ยอดคลิก จำนวนหน้าเว็บที่จัดเก็บบนกูเกิล ใช้ซับมิท URL หรือ sitemap รวมไปถึงหน่วยวัดประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้ (Experience) เช่น Core Web Vital และการหาช่องโหว่ในเว็บไซต์ ยิ่งเราควบคุมคุณภาพของเว็บไซต์ดีเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสติดหน้าแรกของ Google เท่านั้น
Search Console เป็นเครื่องมือที่เหมาะกับทุกคนที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง (Google Webmaster Tool) โดยเฉพาะคนทำ SEO และฝั่งผู้พัฒนาเว็บไซต์ที่ต้องการตรวจสอบแนวโน้มของธุรกิจ เราสามารถเข้าใช้งานเครื่องมือฟรี เพียงมีบัญชีของ Google เท่านั้น
Google Search Console ช่วยอะไร? เครื่องมือนี้เกิดมาเพื่อ คนที่อยากทำให้ธุรกิจเติบโต ด้วยการทำ SEO แนะนำประโยชน์ตามลำดับดังนี้
เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์ https://search.google.com/search-console/about แล้วกด Start จะปรากฏหน้าต่างนี้ขึ้นมาครับ โดยตัว Google จะให้เราเลือกว่า property หรือเว็บไซต์ที่เราต้องการใช้นั้น มีการลงทะเบียนอย่างไร
ถ้าเลือก 1. Domain ตัว Search Console ก็จะครอบคลุมทั้งโดเมน รวม Sub domain ด้วยซึ่งต้องมีการ ยืนยันความเป็นเจ้าของเว็บไซต์ด้วยวิธี DNS Verify แต่หากเราไม่มี Sub domain แนะนำเลือก URL prefix โดยการยืนยันจะแค่ดาวโหลดไฟล์ .txt มาใส่ในเว็บเรา
เมื่อเราใส่ URL ที่ต้องการไปแล้ว ก็จะปรากฏหน้าจอให้ Verify หรือคือการพิสูจน์ว่าเราเป็นเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ จริงหรือไม่ ให้เราดาวโหลดไฟล์ .html นำไปวางที่ Top domain ให้สามารถเข้าถึงได้ เช่น https://your-website/google9ed…42a.html
เมื่อเราเปิดใช้งาน Google Search Console ได้แล้ว มาดูกันเลยครับ วิธีการใช้งาน Google Search Console นั้น ฟังก์ชั่นหลักๆ ในนี้มีอะไรน่าสนใจบ้าง และมันช่วยให้เว็บไซต์ของคุณขึ้นหน้าแรกของ Google ได้ยังไง
Performance คือ รายงานประสิทธิภาพการทำงานและปริมาณคนที่เข้าถึงเว็บไซต์ของคุณย้อนหลัง 16 เดือน ยอดการคลิกลิงก์โดยรวม ประเทศที่คนเข้ามาชมเว็บไซต์ รวมไปถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเว็บไซต์ ที่จำเป็นต่อการทำ SEO
ใช้ Submit หน้าใหม่ขึ้นจัดทำดัชนีบน Google หรือใช้ตรวจสอบได้ว่า URL เว็บไซต์ของเราหน้านี้ถูกจัดเก็บบนกูเกิลหรือยัง รายงานว่าระบบ Crawling หรือการสำรวจของ Google มาสำรวจล่าสุดวันไหน
แน่นอนครับ มันมีรายงาน Error หรือข้อผิดพลาดต่างๆ ในเว็บไซต์ของเราที่ทำให้ Google มองว่าเว็บเราด้อยประสิทธิภาพและจุดที่ต้องทำการแก้ไขด้วยครับ นับว่าเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับผู้ทำเว็บไซต์สุดๆ เลยทีเดียว
ใช้สำหรับ Submit ส่งแผนผังเว็บไซต์ sitemap.xml ให้ Google เพื่อให้กูเกิลคอยส่งหุ่นยนต์มาตรวจสอบโครงสร้างเว็บไซต์ของเราอยู่ตลอดเวลา
ในส่วนนี้สำคัญมากในการจัดอันดับ Google ตั้งแต่ June 2021 Google Algorithm ประกาศใช้ค่า Core Web Vitals มาเป็น factor สำหรับวัดค่ามีผลต่อการจัดอันดับ Ranking นั่นเอง
รายงานปัญหาด้านความปลอดภัย คือ อีกหนึ่งฟีเจอร์ของ Search Console โดยหน้ารายงานความปลอดภัยนี้จะคอยแจ้งข้อมูลว่า เว็บไซต์เราถูกโจมตีไหม มีมัลแวร์แฝงตัวอยู่หรือเปล่า มีช่องโหว่จุดไหนบ้าง รวมถึงปัญหาทางเทคนิคอื่นๆ ที่ควรทราบด้วยครับ เทียบง่ายๆ คือมันทำหน้าที่คล้ายกับเป็นแอนตี้ไวรัสของเว็บไซต์เราเลย
รายงานแจ้งเตือนปัญหาต่างๆที่เกิดกับเว็บไซต์ของเรา กดคลิกรูป กระดิ่ง มุมขวาบน จะแสดงหน้าตาดังนี้
Google Search Console คือ เครื่องมือฟรีใช้ทำ SEO คุณภาพจาก Google ตัวหนึ่งที่คอยเป็นมือขวาให้กับเว็บมาสเตอร์ เรียกว่าต้องใช้ ห้ามพลาด ยุค4.0 เราจะทำธุรกิจแบบตาบอดไม่ได้ครับ
]]>Google Trend คือ เครื่องมือของ Google ที่เรียกว่า “Search Engine” Google เทรนด์ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถสำรวจค้นหา Keyword (คีย์เวิร์ด) ข้อยอดนิยมที่อยู่บน Google ได้ ผู้ใช้สามารถเห็นภาพรวมของความนิยมของคำค้นหา ในแต่ละช่วงเวลา และเปรียบเทียบความนิยมของหลาย ๆ คำค้นหาได้ นอกจากนี้ อีกทั้งยังสามารถดูลักษณะการค้นหาของผู้ใช้ที่แบ่งเป็นประเทศและเจาะลึกไปยังจังหวัดหรือภูมิภาคต่าง ๆ ได้เช่นกัน และนอกจากนี้ยังสามารถเช็กเทรนด์ฮิตประจำวันหรือตรวจสอบความนิยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดูข้อมูลหรือคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง (Related Quiries) แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อยอดได้
และนอกจากนั้นยังสามารถดูเทรนด์คำค้นหายอดฮิตรายวันได้อีกด้วย แถมยังมี Filter ที่ช่วยให้คุณกดย้อนดูความนิยมในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาเพื่อวิเคราะห์โอกาสเติบโตของ Keyword (คีย์เวิร์ด) นั้นเพื่อนำไปต่อยอดในการสร้าง Content (คอนเทนต์) ได้อีกด้วย
การค้นหา Niche Marketing หรือคำค้นหาที่มีความเฉพาะกลุ่ม เพื่อทำให้คุณได้เจาะตลาดกลุ่มสินค้าที่มีความเฉพาะเจาะจง
Google Trend สามารถเป็นเครื่องมือในการค้นหา Keyword (คีย์เวิร์ด) คำที่เกี่ยวข้อง ด้วยการใช้งานฟีเจอร์ Related Queries หรือคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง เพียงแค่เรากรอกคำค้นหาหลักลงไป 1 คำ ก็จะขึ้นคำค้นหาที่เกี่ยวข้องมากมายพร้อมปริมาณการเติบโตของการค้นหาปรากฏให้เราเห็น
Google Trend สามารถดู Keyword ที่ได้รับความนิยมในตอนนี้ได้ ผ่านฟีเจอร์ Recently Trending โดยให้คุณเข้าหน้าแรกของ Google Trend แล้วเลื่อนมาลงมาเล็กน้อย ก็จะเจอกับคำค้นหาที่ได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้
Google Trend สามารถใช้เปรียบเทียบคู่แข่งในธุรกิจเดียวกันได้ผ่านการใช้ฟีเจอร์ Comparison ที่จะช่วยให้คุณเห็นอัตราการค้นหาเปรียบเทียบมากกว่า 1 คำ
Google Trend จะแสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลาไหนบ้างที่การยิงแอดได้รับความนิยม ซึ่งช่วยให้คุณสามารถกำหนดช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการยิงแอดไปหากลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการได้อย่างแม่นยำมากขึ้นนั่นเอง
Google Trend คือเครื่องมือค้นหา Keyword (คีย์เวิร์ด) ข้อยอดนิยมที่อยู่บน Google ได้ที่จะช่วยให้นักการตลาดสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อและ Keyword ที่ต้องการได้ ดูเทรนด์ความสนใจในสังคมขณะนั้นหรือพัฒนากลยุทธ์การตลาดหรือทำ SEM การยิงแอดและการทำ SEO
]]>