PERSONAL BRANDING คืออะไร ทำความเข้าใจที่นี่
การตลาดแบบ PERSONAL BRANDING เป็นอีกหนึ่งวิธีการสร้างตัวตนของแบรนด์ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ได้ นำไปสู่การเป็นแบรนด์แรกที่ถูกนึกถึงได้ในหลายๆ ครั้ง จากการทำ PERSONAL BRANDING ทำให้นักการตลาดหลายคนเลือกที่จะใช้งานเครื่องมือนี้ เพื่อให้แบรนด์ดิ้งแข็งแกร่ง ครั้งนี้ทางบทความจะมาอธิบายรายละเอียดว่า PERSONAL BRANDING คืออะไร ให้ได้ทำความเข้าใจกัน
PERSONAL BRANDING คืออะไร?
Personal Branding คือการสร้างแบรนด์บุคคล โดยการนำเอาตัวตนของบุคคลหนึ่งมาเป็นตัวแทนของแบรนด์ นำเอาภาพลักษณ์ บุคคลิกลักษณะ มาถ่ายทอดไปยังผู้บริโภค เชื่อมโยงไปยังแบรนด์ ทำให้การมองภาพลักษณ์ของแบรนด์ตรงกับตัวตนของบุคคลนั้นๆ หรือเมื่อเห็นบุคคลนั้นจะต้องนึกถึงแบรนด์ ประโยชน์ของการทำ Personal Branding คือช่วยสร้างภาพจำที่แม่นยำกว่าเดิม เพราะจำผ่านคุณลักษณะของบุคคล
ยกตัวอย่าง PERSONAL BRANDING
เพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพมากขึ้นว่า Personal Branding คืออะไร มาดูเคสตัวอย่างกัน ที่ทางบทความรวบรวมมาให้แล้ว
1. Steve Jobs และ Apple
Steve Jobs และ Apple ถือเป็นเคสตัวอย่างอันดับแรกๆ เมื่อต้องอธิบายว่า Personal Branding คืออะไร เพราะ Steve Jobs มีการสร้างตัวตนที่ชัดเจน ตั้งแต่เครื่องแต่งกายประจำกายด้วยคอเต่าสีดำกับกางเกงยีนส์ ทุกครั้งที่ต้องออกมาบรรยายเกี่ยวกับสินค้าของเขาภายใต้แบรนด์ Apple บวกกับบุคลิกและท่าทางที่กระฉับกระเฉง การพูดจาที่ฉะฉาน ถ่ายทอดถึงภาพลักษณ์ความเป็นอัจฉริยะ รวมถึง Story การเป็นผู้บุกเบิกในตลาดสมาร์ทโฟน ก็ทำให้ภาพลักษณ์เหล่านั้นถ่ายทอดไปยัง Apple ด้วย
2.Mark Zuckerberg และ Facebook
Mark Zuckerberg ก็มียูนิฟอร์มเป็นของตัวเองเช่นเดียวกับ Steve Jobs ด้วยเครื่องแต่งกายเสื้อยืดสีเทาและกางเกงยีนส์ สื่อสารออกมาถึงภาพลักษณ์ของการเป็นคนไอที บวกกับ Story ของการเป็นผู้ก่อตั้ง Facebook ที่ประสบความสำเร็จ แม้จะไม่ใช่ผู้บุกเบิก Social media แต่ Facebook ที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวของการลาออกก่อนเรียนจบปริญญาตรี แต่กลายเป็นผู้ประสบความสำเร็จระดับโลก Mark Zuckerberg พยายามถ่ายทอดภาพลักษณ์การฉีกกฎเดิมๆ ที่เชื่อมโยงกับ Facebook ถือเป็น Personal Branding เคสตัวอย่างอีกหนึ่งเคส
3.Elon Musk และ Tesla
อีกหนึ่งบุคคลที่มาพร้อมภาพลักษณ์ของการเป็นผู้คิดค้น ผู้เฉลียวฉลาดด้านเทคโนโลยี ที่พร้อมจะเปลี่ยนโลก ทั้งยังเป็นเจ้าของสิ่งประดิษฐ์มากมาย ภาพลักษณ์เหล่านั้นล้วนเป็นเหตุผลที่ทำให้แบรนด์ Tesla แข็งแกร่ง ที่เพียงแค่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ก็เป็นที่ฮือฮา และสั่นสะเทือนไปทั่วโลก นั่นจึงถือเป็นเคสตัวอย่างของการสร้าง Personal Branding ที่น่าสนใจอีกหนึ่งเคส
4.ท๊อป จิรายุส และ Bitkub
ท๊อป จิรายุส ที่มาพร้อมภาพลักษณ์ของคนรุ่นใหม่ มีความฉลาด และเป็นผู้ริเริ่มโดยเฉพาะเรื่องของสกุลเงินดิจิทัล ถือเป็นคนไทยคนแรกๆ ที่พูดเรื่องนี้ ทำให้เขาได้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวไปโดยปริยาย ภาพลักษณ์เหล่านั้นล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้แบรนด์ Bitkub แข็งแกร่ง เมื่อนักลงทุนยุคใหม่ ที่สนใจเรื่องสกุลเงินดิจิทัล ต่างก็ยอมรับในตัวเขาและยอมรับใน Bitkub ด้วย
5.ลุงตัน และ อิชิตัน
ถัดมากับเคสตัวอย่างของ Personal Branding คืออะไร นั่นก็คือลุงตันที่มาพร้อมภาพจำของการเป็นผู้ใหญ่ใจดี เข้าถึงง่าย และเป็นหนึ่งในผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ ทำให้อิชิตันเป็นแบรนด์ที่เข้าถึงง่ายไปด้วย บุคลิกลกษณะของลุงตัน ถูกถ่ายทอดมายังแบรนด์อิชิตันโดยสมบูรณ์ ผ่านการสื่อสารของเจ้าของแบรนด์
6.ลิซ่า เจนนี่ โรเซ่ จีซู และ Blackpink
มาต่อกันที่อุตสาหกรรมบันเทิงกันบ้าง หากถามว่า Personal Branding คืออะไร การอธิบายด้วยแบรนด์ดิ้งศิลปิน ก็ถือเป็นอีกหนึ่งภาพที่เห็นชัด เพราะมีการสร้างตัวตนของบุคคลในนามศิลปิน สร้างภาพลักษณ์และบุคคลิกภาพ ผ่านเสียงเพลงที่มีโทนเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงท่าเต้นและเครื่องแต่งกาย ที่กลายเป็นเอกลักษณ์ของ Blackpink ลองสังเกตตั้งแต่ชื่อแบรนด์ Blackpink ที่ผสมผสานระหว่างสีชมพูหวานๆ ตามแบบฉบับของผู้หญิง และสีดำเข้มๆ ทำให้ Blackpink สื่อสารถึงความเป็นผู้หญิงที่มีความเท่และทันสมัย
ไม่เพียงแต่ชื่อแบรนด์เท่านั้น แต่เสื้อผ้าหน้าผมและเสียงเพลงก็ยังสื่อสารถึงความเท่และแข็งแกร่ง แม้ว่าทั้ง 4 สาว ลิซ่า เจนนี่ โรเซ่ และจีซู ต่างจะมีบุคลิกของตัวเองก็จริง แต่ทั้ง 4 คนยังคงสื่อสารออกมาถึงความเป็น Blackpink ได้อย่างกลมกลืนและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งหมดทั้งมวลนั้นคือการสร้าง Personal Branding ที่ทางค่ายจัดทำขึ้นมา จนกลายเป็นภาพจำที่คนทั่วโลก จดจำได้ในแบบนั้น
ประโยชน์ของการสร้าง PERSONAL BRANDING คืออะไร
ประโยชน์ของการสร้าง Personal Branding คืออะไร รวบรวมมาให้แล้วที่นี่
1.ทำให้เป็นที่จดจำ
การสร้าง Personal Branding จะช่วยสร้างภาพจำได้แม่นยำขึ้น ลองนึกภาพเวลาต้องนึกถึงบุคลิกของแบรนด์อย่างเดียว บางครั้งก็เลือนลางกว่าการนึกภาพบุคคลิกของบุคคล ทำให้การถ่ายทอดภาพลักษณ์ของแบรนด์เชื่อมโยงกับบุคคลนั้นชัดเจนกว่า ถูกจดจำได้ง่ายกว่า
2.มีอิทธิพล
หลายครั้งการสร้าง Personal Branding ก็มีอิทธิพลที่รุนแรงกว่า การสื่อสารผ่านแบรนด์เพียงอย่างเดียว ลองนึกภาพถ้าหากตัวบุคคลที่เป็นตัวแทนของแบรนด์ มีการออกมาสื่อสารหรือเคลื่อนไหวเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับแบรนด์ จะส่งผลต่อแบรนด์มากกว่า และมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคมากกว่า การที่แบรนด์ออกมาเคลื่อนไหวโดยไร้ตัวตนของบุคคล
3.สร้างความน่าเชื่อถือ
ลองนึกภาพแบรนด์ที่ไม่เห็นตัวตนของบุคคล ไม่มีการสร้าง Personal Branding เมื่อเคลื่อนไหวอะไรก็ตาม ก็จะเคลื่อนไหวด้วยแบรนด์ สื่อสารผ่านโลโก้ ผ่านตัวหนังสือเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับแบรนด์ที่มี Personal Branding มีบุคคลที่คอยสื่อสารกับผู้บริโภค แน่นอนว่าแบรนด์ที่มีการสร้าง Personal Branding ย่อมน่าเชื่อถือกว่า
คิดว่าบทความนี้จะทำให้หลายคนเข้าใจมากขึ้นว่า Personal Branding คืออะไร ในแง่ของการตลาดเครื่องมือนี้ถือว่ามีประโยชน์ไม่น้อย โดยเฉพาะเรื่องของการสร้างแบรนด์