10 โปรแกรม สร้างเว็บไซต์ฟรี 2024 ใช้ตัวไหนดี

เคยมั้ย คิดอยากจะมีเว็บไซต์เป็นอย่างคนอื่นเค้า ไม่ได้เรียนคอม จบเขียนโปรแกรม จะสร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้นั้นนอกจากยุ่งยากแล้วยังต้องมานั่งเสียเวลาไปกับการเขียนเว็บขึ้นมาเองอีกต่างหาก สำหรับคนไม่อยากเสียตัง สายฟรี ไม่ต้องเขียน Code มีทั้งแบบ CMS, แบบสำเร็จรูป แบบฟรีและเสียเงิน แต่วันนี้ผมจะมาแนะนำ 10 โปรแกรมเครื่องมือ สร้างเว็บไซต์ฟรี (เพียงลงแรง ลงมือทำเท่านั้น)

1. WordPress.com

1. WordPress.com

1. WordPress.com

WordPress.com เป็นระบบสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูป ที่นิยมที่สุดในโลก ระบบหลังบ้านใช้งานง่าย และเป็นระบบที่คนส่วนใหญ่รู้จักอยู่แล้ว เพราะเว็บไซต์ทั่วโลกกว่า 43.2% สร้างด้วย WordPress

จุดเด่นของ WordPress คือ สามารถเปลี่ยนธีมได้อิสระ มีธีมฟรีให้เลือกใช้มากกว่าหมื่นธีม ทั้งแบบฟรีและธีมพรีเมี่ยมเสียเงิน และมีปลั๊กอินฟรี ให้เลือกใช้มากกว่า 6หมื่นตัว ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร ก็สามารถสร้างด้วย WordPress ได้สบายๆ

ในไทย WordPress ได้รับความนิยมมากๆ เพราะเว็บที่ทำด้วย WordPress ส่วนใหญ่จะสวย รองรับมือถือ ง่ายต่อการทำ SEO บริษัทที่รับทำเว็บไซต์ ถ้าเป็นเว็บบริษัท เว็บข้อมูลไม่ซับซ้อน ก็มักจะใช้ WordPress นี้แหละ ใช้เวลาทำไม่นาน และใช้งบน้อย

Link : รายละเอียดเพิ่มเติมของ WordPress.com

ข้อดี

  • – ระบบหลังบ้านใช้งานง่าย ด้วยระบบ Page Builder แบบ Drag & Drop
  • – ใช้งานง่าย มือใหม่ใช้งานได้ไม่ยาก
  • – มี Plugin และ Theme มากมายให้เลือก
  • – ยืดหยุ่นสูง ทำเว็บไซต์ได้แทบทุกประเภท
  • – รองรับ Mobile Responsive 100%
  • – ง่ายต่อการทำ SEO
  • – คนใช้เยอะ หาคนปรึกษาได้ง่าย
  • – ไม่จำเป็นต้องรู้ Code
  • – มีระบบ Blog มาให้ในตัว

ข้อเสีย

  • – ตัวฟรี ทำปรับแต่งได้ไม่มาก
  • – ปลั๊กอินเยอะไป จะโหลดช้า
  • – WordPress, Plugin และ Theme ต้องอัพเดตบ่อย

2. Wix

Wix เป็น เครื่องมือสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูป แนว Website Builder หรือ Drag & Drop ใช้งานง่าย ความยืดหยุ่นต่ำ เพราะทุกอย่างถูกเซ็ตไว้หมดแล้ว แต่สามารถเพิ่ม App ตามที่มีอยู่ใน AppMarket คงไม่ได้มีมากมายเหมือน Plugin WordPress โดยมี Theme ให้เราเลือกประมาณ 800+ ธีม

Link : รายละเอียดเพิ่มเติมของ Wix

ข้อดี

  • – เริ่มต้นได้ง่าย เหมาะสำหรับคนไม่มีพื้นฐาน
  • – ระบบแก้ไขหน้า หรือ Website Builder ใช้งานง่าย แบบ Drag & Drop
  • – สำรองข้อมูลอัตโนมัติ
  • – Support ลูกค้าได้ดี

ข้อเสีย

  • – ตัวเลือก App และ Theme ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับ WordPress
  • – ส่วนตัวเคยใช้ รู้สึกได้ว่า ไม่ค่อยลื่นเท่าไหร่
  • – เมื่อเราเผยแพร่ไปแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนธีมได้ นอกจากเริ่มจัดหน้าใหม่
  • – มีค่าใช้จ่ายสูง เมื่อต้องการเชื่อมต่อกับ Third party ต่างๆ
  • – ยืดหยุ่นไม่เท่า WordPress เหมาะสำหรับทำเว็บง่ายๆ

 

3. Godaddy

3. Godaddy

Godaddy เป็นที่รู้จักในนามผู้ให้บริการรับจด Domain และ Hosting ตอนนี้เปิดให้เราสามารถสร้างเว็บไซต์ฟรีได้ มีระบบ Website Builder เป็นของตัวเอง เป็นระบบที่เหมาะสำหรับเว็บพื้นฐานทั่วไป น่าตาน่าใช้ สามารถปรับแต่งให้รองรับมือถือได้

สำหรับแพคเกจฟรีก็เพียงพอสำหรับการสร้างเว็บไซต์ขั้นพื้นฐาน เลือกธีมได้ และสามารถสร้างเว็บไซต์ E-Commerce เชื่อม Paypal ในเวอร์ชั่นฟรีได้อีกด้วย

และยังสามารถทำโซเชียลมีเดียมาเก็ตติ้ง ติด Tracking code ต่างๆ ได้เลย

Link : รายละเอียดเพิ่มเติมของ Godaddy

ข้อดี

  • – UI ใช้งานง่าย ระบบจัดหน้าใช้งานง่าย
  • – ทำ Email Marketing และมีเครื่องมือตั้งค่า SEO
  • – มีระบบ Chatbot
  • – ไม่มีป้าย Banner โฆษณา
  • – เชื่อมต่อ Tracking Code ต่างๆ ได้สะดวก

ข้อเสีย

  • – มีข้อจำกัดในการปรับแต่ง Layout

4. Weebly


4. Weebly

Weebly คือ เครื่องมือสร้างเว็บไซต์ฟรี หรือ Website builder ทำให้การทำเว็บไซต์เป็นเรื่องง่าย ชื่อชั้นอาจจะไม่ได้คุ้นหูเหมือน WordPress, Wix, Godaddy เหมาะสำหรับมือใหม่มากๆ และมีข้อจำกัดหลายอย่างในแง่การจัดหน้าเว็บ Weebly ตอนนี้ดูแลโดยทีม Square ได้ข่าวล่าสุดเหมือนจะหยุดพัฒนาไปสักระยะแล้ว ตั้งแต่ 2018 ฟีเจอร์หลายอย่างล้าสมัยไปแล้ว

Link : รายละเอียดเพิ่มเติมของ Weebly

ข้อดี

  • – เหมาะสำหรับมือใหม่มากๆ
  • – มี App ให้เลือกใช้มากกว่า 375 ตัว
  • – ใช้งานง่าย
  • – ปรับแต่ง SEO ได้ง่าย
  • – สลับ Theme ได้ง่าย

ข้อเสีย

  • – ไม่มีภาษาไทย
  • – หยุดพัฒนาไปสักระยะแล้วตั้งแต่ 2018
  • – ระบบ Builder ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง
  • – ดีไซน์ค่อนข้างล้าสมัย ดูธรรมดาๆ
  • – การปรับแต่งในมือถือค่อนข้างลำบาก

5. สร้างเว็บไซต์ฟรี google site


5. สร้างเว็บไซต์ฟรี google site

Google site คือ เครื่องมือสร้างเว็บไซต์ฟรีจาก Google เปิดตัวเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2551 หรือ 14 ปีเข้าไปแล้วมี Template จัดเลย์เอาต์ได้เหมือนกับตัวอื่นๆ จุดเด่นคือ สามารถเชื่อมต่อแอพในเครือกูเกิลด้วยกัน เช่น Google เอกสาร, Maps, Photos, YouTube และอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย

สามารถแก้ไขร่วมกันแบบเรียลไทม์ รวมถึงมีการเก็บประวัติการแก้ไข หรือ Version ที่สามารถกดย้อนกลับได้ทันที

Google Site ตัวล่าสุด เริ่มมี Content Blocks คล้ายๆ WordPress ให้เราเลือกใช้ได้ง่ายขึ้น แต่ไม่ได้มากมาย สามารถเชื่อมต่อ Google Analytics ได้เลย

Link : google sites

ข้อดี

  • – ใช้ได้ฟรี 100%
  • – รองรับได้ทั้งบนเดสก์ท็อปและมือถือ
  • – ถ้าต้องการใช้ Domain ของตัวเอง ก็สามารถจดกับ Google Domains ได้เลย

ข้อเสีย

  • – มีตัวเลือก Template น้อยมาก
  • – ฟีเจอร์ยังน้อย ทำได้แค่พื้นฐานมากๆ

 

6. Webnode

ข้อดีของ Webnode

  • – สร้างเว็บไซต์ฟรี ใช้งานได้ง่ายและรวดเร็ว และที่สำคัญก็คือฟรี!
  • – เหมาะกับผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของธุรกิจหรือแนวการขายเชิง e-commerce

ข้อเสียของ Webnode

  • – ไม่รองรับภาษาไทย
  • – บางเทมเพลตต้องเสียเงินเพิ่มเติม แต่ไม่ได้แจ้งไว้

7. Jimdo

ข้อดีของ Jimdo

  • – สร้างเว็บไซต์ใช้งานง่ายมาก แค่เข้าเว็บก็เริ่มใช้งานสร้างเว็บไซต์ได้ทันที
  • – สามารถออกแบบเว็บไซต์หรือเลือกสร้างเค้าโครงเว็บไซต์ได้เอง
  • – เหมาะกับคนที่ต้องการขายสินค้าในเว็บไซต์ เพราะสามารถกดเพิ่มรายการสินค้า เลือกวิธีการชำระเงินและดำเนินการขายสินค้าได้ทันที
  • – กดแชร์ข้อมูลเว็บไซต์ไปยัง Facebook หรือ Twitter ได้แบบง่ายดาย
  • – มีฟังก์ชั่นช่วยให้ติดหน้า SEO ของทาง Google

ข้อเสียของ Jimdo

  • – ต้องเสียเงินอัปเกรดเพิ่มในส่วนของการทำ SEO เพื่อให้ติดหน้าท็อปเพจของ Google
  • – ต้องเสียเงินเพิ่มหากจะนำโฆษณาของเว็บ Jimdo ออก

8. Strikingly

ข้อดีของ Strikingly

  • – สร้างเว็บไซต์เหมาะกับมือใหม่
  • – ใช้งานง่าย
  • – มีลูกเล่นให้เล่นเยอะ

ข้อเสียของ Strikingly

  • – ไม่เป็นที่นิยมมากนัก
  • – ไม่เหมาะกับเว็บที่มีข้อมูลเยอะๆ

9. Site123

ข้อดีของ Site123

  • – ช่วยเพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจ
  • – สามารถใช้งานออกแบบเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

ข้อเสียของ Site123

  • – โฆษณาเยอะ (ถ้าจ่ายเงินก็เอาออกได้)
  • – สร้างเว็บไซต์ ไม่มี Layout ให้เลือกเยอะนัก หน้าตาแบบเดิมๆ

10. Blogger.com

ข้อดีของ Blogger.com

  • – สร้างเว็บไซต์เหมาะกับคนที่ชอบเขียนบล็อกเป็นชีวิตจิตใจ
  • – ชอบแลกเปลี่ยนข้อมูล ชอบแชร์สิ่งดีๆ ให้คนอื่นได้รับรู้แนะนำเลย เพราะอิสระมากๆ
  • – ได้แสดงความเป็นตัวเองได้อย่างเต็มที่
  • – ได้เพื่อนใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์คล้ายๆ กับเราเพิ่มขึ้น

ข้อเสียของ Blogger.com

  • – บางคนสมัครเข้ามาเล่นก็ให้ข้อมูลผิดๆ
  • – บางทีก็ดูไม่น่าเชื่อถือในกลุ่มลูกค้า เพราะไม่มีอะไรมาการันตีความน่าเชื่อถือของเราได้มากเท่าที่ควร
  • – การสร้างเว็บไซต์ฟรี ไม่เหมาะกับธุรกิจ เหมาะแค่เป็นงานอดิเรก

สรุป

บทความนี้น่าจะมีประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ หรือเจ้าของธุรกิจ ที่กำลังหาโปรแกรม สร้างเว็บไซต์ฟรี เลือกอันไหนดีให้เหมาะกับธุรกิจ ข้อดี-ข้อเสีย ของแต่ละเพลตฟอร์ม ผมคิดว่า 10 เพลตฟอร์มที่ผมยกตัวอย่าง สามารถสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเองได้ โดยไม่ต้องแตะโค้ดเลย

เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษา หรือ ธุรกิจที่พึ่งเริ่มต้น มีงบน้อย ไม่อยากเสียค่าจ้างทำเว็บแพงๆ แต่ถ้าธุรกิจไหนที่จริงจัง หรือมีกำไรแล้วอยากอัพเกรดเพื่อหวังผลในระยะยาว ผมแนะนำให้จ้างมืออาชีพที่เชี่ยวชาญรับทำเว็บไซต์ WordPress ดีกว่าครับ เพราะว่าลึกๆ แล้วมันมีรายละเอียดที่ต้องทำอีกเยอะเลยครับ โดยเฉพาะการวางโครงสร้างให้รองรับ SEO