การทำธุรกิจออนไลน์นอกจากวางระบบเกี่ยวกับเว็บไซต์ ช่องทางการซื้อ-ขาย ช่องทางการติดต่อ พยายามทำ SEO และกลยุทธ์การตลาดออนไลน์รูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้ารู้จัก สนใจ และตัดสินใจซื้อมากที่สุด อีกเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เด็ดขาดนั่นคือระบบรับชำระเงิน หากระบบดี ชำระง่าย มีความชัดเจน ลูกค้าย่อมเกิดความพึงพอใจและมีสิทธิ์กลับมาซื้อใหม่ได้ตลอด สิ่งที่เรียกว่า “Payment Gateway” จึงเกิดขึ้น ซึ่งใครที่ยังสงสัยว่า Payment Gateway คืออะไร ลองมาศึกษาข้อมูลกันอย่างละเอียดได้เลย และขอย้ำว่านี่คือสิ่งที่คนทำธุรกิจออนไลน์ต้องให้ความใส่ใจ

Payment Gateway คืออะไร

Payment Gateway คือ ระบบการชำระเงินผ่านออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในด้านการรวบรวมและถ่ายโอนข้อมูลระหว่างลูกค้ากับผู้ขาย หากอธิบายแบบเข้าใจง่ายมากขึ้นนี่เป็นการชำระเงินผ่านระบบออนไลน์โดยจะมีผู้ให้บริการ (ธนาคารหรือสถาบันการเงิน) เป็นคนกลางทำหน้าที่โอนเงินจากผู้จ่ายเงินไปยังผู้รับเงิน ทั้งการชำระด้วยวิธีโอนเงิน บัตรเครดิต บัตรเดบิต พร้อมเพย์ E-Wallet เคาน์เตอร์เซอร์วิสต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งในบ้านเราปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

1. Payment Gateway แบบเชื่อมต่อธนาคารโดยตรง

เป็นระบบที่ทางธนาคารหรือสถาบันการเงินพัฒนามาเพื่อให้ลูกค้าเกิดความสะดวกมากขึ้น เช่น ธนาคารกรุงเทพใช้ Bualuang Merchant iPay ธนาคารกสิกรไทยใช้ K-Payment Gateway ธนาคารกรุงศรีอยุธยาใช้ Krungsri Biz Payment Gateway ธนาคารไทยพาณิชย์ใช้ SCB Payment Gateway เป็นต้น จุดเด่นสำคัญของ Payment Gateway รูปแบบนี้คือ ปลอดภัย น่าเชื่อถือมาก แต่เรื่องข้อด้อยก็ย่อมมีทั้งเงื่อนไขใช้บริการจุกจิกเยอะ บางธนาคารต้องมีเงินค้ำประกันขั้นต่ำ 1 แสนบาท มีค่าธรรมเนียมต่อการทำรายการ จึงเหมาะกับคนทำธุรกิจที่จดทะเบียนนิติบุคคลท้งห้างหุ้นส่วนและบริษัท

2. 3rd Party Payment Gateway

คนกลางจากภาคเอกชนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินมาทำหน้าที่เป็นคนกลางสำหรับโอนเงินออนไลน์ระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ เช่น GB Prime Pay (โกลบอล ไพรม์), Money Space (มันนี่ สเปซ), 2C2P, PayPal, Omise (โอมิเซะ)} ChillPay (ชิวเพย์) และ DigiO (ดิจิโอ) หรือ DigiPay เป็นต้น ข้อดีมากคือไม่ต้องมีเงินค้ำประกัน หลายเจ้าฟรีค่าธรรมเนียมรายปี มีบริการคอยให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชม. แต่ค่าธรรมเนียมต่อการโอน 1 ครั้งอาจสูงกว่าเล็กน้อย เหมาะกับธุรกิจทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก กาง ใหญ่ ก็สามารถเลือกใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อดีของการที่ธุรกิจเลือกใช้งานระบบ Payment Gateway

เมื่อรู้จักกับระบบการโอนชำระเงินผ่านออนไลน์กันไปแล้ว นี่คือเหตุผลที่สรุปมาให้แบบครบถ้วนว่าทำไมร้านค้าเล็ก ๆ ร้านค้าออนไลน์ ธุรกิจ SME ธุรกิจขนาดกลาง และธุรกิจขนาดใหญ่ ก็สามารถใช้งานระบบ Payment Gateway ได้อย่างสบายใจ

1. ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่คุณพัฒนาระบบต่าง ๆ ของธุรกิจให้ดีขึ้นย่อมส่งผลโดยตรงต่อตัวลูกค้า พวกเขาจะรู้สึกพึงพอใจ ชำระเงินง่าย สะดวก รวดเร็ว อยากกลับมาซื้อซำในครั้งถัดไป รวมถึงยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อตัวแบรนด์อีกด้วย

2. มีความปลอดภัยสูงมาก

เรื่องเงินเรื่องทองเป็นสิ่งที่ต้องระวังโดยเฉพาะการทำธุรกรรมบนโลกออนไลน์ ซึ่งระบบ Payment Gateway เองก็มีระบบดูแลความปลอดภัยที่เป็นไปตามหลักมาตรฐานของสากล เช่น SSL (Secure Sockets Layer), MasterCard SecureCode, Verified by VISA, PCI DSS เป็นต้น ซึ่งปกติแล้วจะมีทีมงานมากประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญสูงคอยสอดส่องดูแลตลอด 4 ชม.

3. ติดตั้งง่าย ระบบไม่ซับซ้อนใด ๆ

บ่อยครั้งพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ หรือธุรกิจขนาดเล็กไม่ได้มีคนช่วยมากนัก เจ้าของต้องจัดการเองหมด การปรับระบบต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องวุ่นวายมาก แต่การเปลี่ยนมาใช้งาน Payment Gateway ไม่ใช่แบบนั้นเลย ไม่ต้องจ้างโปรแกรมเมอร์หรือใช้เงินทุนแพง ๆ แค่ทำการติดต่อกับผู้ให้บริการที่ธุรกิจไว้วางใจก็สามารถดำเนินการได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว

4. ฟีเจอร์การใช้งานหลากหลาย ครบถ้วน

ฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ใช้งานได้มักขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาที่เลือกใช้บริการ แต่ส่วนใหญ่ก็แทบไม่แตกต่างกันมากนัก มีทั้งการใช้ผ่านเว็บไซต์และ Social Media ระบบการรายงานเมื่อเงินเข้าบัญชี ระบบยืนยันการชำระเงินไปยังลูกค้า ฯลฯ เรียกว่ามีความครบถ้วน และเสริมความเป็นมืออาชีพด้านบริหารจัดการอย่างดีเยี่ยม

เลือกผู้ให้บริการ Payment Gateway อย่างไรให้ตอบโจทย์มากที่สุด

  • ผู้ให้บริการต้องมีความน่าเชื่อถือ มีประสบการณ์ การดูแลระบบถูกต้องเหมาะสมตามหลักมาตรฐาน
  • รองรับการชำระเงินออนไลน์ผ่านช่องทางที่หลากหลาย ครบครันทุกแพลตฟอร์ม
  • ระบบใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ต้องมีความปลอดภัย มีระบบการป้องกันต่าง ๆ อย่างสมบูรณ์แบบ
  • ผู้ให้บริการอัปเดตระบบซอฟต์แวร์ให้อยู่ตลอดเพื่อการพัฒนาต่อเนื่องและทันสมัย
  • ค่าบริการไม่แพงจนเกินไป มีการคิดค่าธรรมเนียมตามความเหมาะสม เพื่อให้ลูกค้าได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
  • มีทีมงานคอยซัพพอร์ตให้การดูแลตลอด 24 ชม. จะยิ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก

Payment Gateway ในไทย (Non-bank) ยกตัวอย่าง มีเจ้าไหนบ้าง 2024

  • GB Prime Pay (โกลบอล ไพรม์)
    ให้บริการระบบรับชำระเงินออนไลน์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการรับชำระเงินด้วย Credit Card, QR Code Bill Payment, Mobile Banking, WeChatPay, Alipay หรือ E-wallet ต่างๆ
  • Omise
    คือ Payment Gateway เบื้องหลังความสะดวกสบายในการชำระเงินของธุรกิจชื่อดังหลายธุรกิจที่หลายคนอาจกำลังใช้งานอยู่โดยไม่รู้ตัว
  • 2C2P
    คือระบบการชำระเงินออนไลน์ที่ผู้ใช้งานสามารถชำระได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการตัดผ่านบัตรเครดิตหรือเดบิต ชำระเงินผ่านธนาคารแบบออนไลน์ ผ่านหน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร ผ่านตู้ ATM หรือจ่ายผ่านหน้าเคาน์เตอร์เซอร์วิสที่ร่วมรายการ
  • DigiO (ดิจิโอ) หรือ DigiPay
    ดิจิโอสตาร์ทอัพผู้นำด้านการพัฒนาและให้บริการระบบชำระเงินในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในปี 2555 ให้บริการด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับโซลูชั่นการชำระเงิน เช่น EDC, mPOS, การพิสูจน์และยืนยันตัวตนบุคคลแบบดิจิทัล
  • PayPal
    ถือเป็นผู้ให้บริการชำระเงินที่คู่ไทยมายาวนาน ตอนนี้ผู้ที่จะใช้งานต้องจดทะเบียนบริษัทเท่านั้นถึงจะใช้บริการรับการชำระเงินได้จากต่างประเทศ โดยการใช้งานจะมีส่วนให้เทส Sandbox และใช้งานจริงกำหนด Callback api เมื่อการชำระเสร็จเรียบร้อยได้
  • (ChillPay) ชิวเพย์
    สามารถเชื่อมต่อกับระบบต่างๆ ได้ง่าย เพราะมี Open API ที่เป็นมิตรกับทุกโซลูชั่น รวมถึง ChillPay ยังมี Sandbox ซึ่งเป็นระบบทดสอบการใช้งาน, การชำระเงิน ให้ร้านค้าต่างๆ เข้ามาทดลองก่อนเปิดใช้งานจริงได้ด้วย
  • Money Space (มันนี่ สเปซ)
    ผู้ให้บริการรับชำระเงินออนไลน์ด้วยบัตรเครดิต รุกธุรกิจ E-Commerce เตรียมเป็นผู้ให้บริการระดับชั้นนำ ผ่านช่องทางการรับชำระเงินบนโลกอินเตอร์เน็ตที่หลากหลาย ในอัตราค่าธรรมเนียมแสนถูก เจาะกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่ต้องการเทคโนโลยีรองรับการชำระเงินออนไลน์ สะดวก ทันสมัย และลดขั้นตอนในการดำเนินงาน
  • stripe.com (สตริป)
    Stripe คือผู้นำให้บริการ Payment Gateway หรือระบบชำระเงินออนไลน์ ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพ จนถึงแบรนด์ดังอย่าง Amazon, Ford, Shopify ได้เปิดให้บริการมาแล้วกว่า 50 ประเทศทั่วโลก
  • SiamPay (สยามเพย์)
  • Paysbuy (เพย์สบาย)
  • Rabbit LINE Pay (แรบบิท-ไลน์ เพย์)
  • N26 (เอ็น 26)
    N26 หรือชื่อเดิม Number 26 เป็นสตาร์ตอัพจากเยอรมนีที่ก่อตั้งในปี 2013 บริษัทตั้งเป้าเป็น “ธนาคารผ่านแอพมือถือ” ที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องไปที่สาขาเลย ปัจจุบันมีลูกค้ามากถึง 200,000 รายทั่วยุโรปแล้ว
  • Pay Solutions
    ผู้ให้บริการรายแรกของไทยที่เปิด Crypto Payment บริการรับชำระเงินคริปโต เคอเรนซี่ บล็อคเชน โดยความร่วมมือกับพันธมิตรผู้ให้บริการแพลตฟอร์มในการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล รองรับการชำระได้มากกว่า 350 สกุลเงิน ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ Bitcoin, Ethereum, XRP หรือสกุล Coin อื่นๆ โดยผู้จ่ายสามารถจ่ายผ่านระบบกระเป๋าคริปโท Metamask ผ่านระบบเครือข่าย Blockchain ของ Binance Smart Chain (BSC) ที่เป็นที่นิยมกันทั่วโลก

สรุป

Payment Gateway เป็นระบบการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้ Mobile Banking บัตรเครดิต บัตรเดบิต สร้างความสะดวก รวดเร็ว และง่ายดายต่อลูกค้า อย่างไรก็ตามธุรกิจเองก็ต้องคอยระวังด้านความปลอดภัย หมั่นตรวจสอบข้อมูล ความผิดปกติอย่างสม่ำเสมอ เลือกใช้งานกับผู้ให้บริการที่มีชื่อเสียง มีคุณภาพ ตรงตามมาตรฐานระดับสากล สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างความพึงพอใจ เสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ดียิ่งขึ้น โอกาสกลับมาซื้อซ้ำหรือบอกต่อคนอื่น ๆ ก็มีสูงมากตามไปด้วย