AE คืออะไร

AE ย่อมาจาก Account Executive โดย Account ในที่นี้หมายถึงตัว “ลูกค้า” ไม่ได้หมายถึง “การบัญชี” ส่วน Executive หมายถึง “การบริหาร” ดังนั้น Account Executive จึงหมายถึงคนที่ทำหน้าที่ดูแล จัดการ และบริหารลูกค้านั่นเอง

 

หน้าที่ของ AE (Account Executive) ทำอะไรบ้าง ?

      หน้าที่หลักของตำแหน่ง AE นี้จะเป็นการหาลูกค้า และติดต่อประสานงานระหว่างลูกค้าและฝ่ายผลิต AE จะเป็นตัวกลางระหว่างลูกค้าและทีมงานโดย AE จะต้องเข้าไปติดต่อกับหน่วยงานหรือองค์กรที่กำลังต้องการนำเสนอผลงานหรือโฆษณา โดยจะเข้าไปเจรจากับผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจและสามารถอนุมัติงานชิ้นนั้นได้ และยังต้องเป็นตัวกลางแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างลูกค้าและทีมฝ่ายผลิตในองค์กรเพื่อให้เกิดความพอใจสูงสุดของทั้งสองฝ่าย

 

AE กับ Sale ต่างกันอย่างไร?

      AE จะวิ่งประสานงานระหว่างลูกค้ากับทีมงานของบริษัท เพื่อให้ลูกค้าได้งานที่พึงพอใจ และเลือกใช้บริการต่อให้ได้นานที่สุด ส่วน SALE จะวิ่งไปข้างหน้าเพื่อหาลูกค้าใหม่ๆ หาลูกค้าให้บริษัทได้มากที่สุด

ทักษะสำคัญที่ AE (Account Executive) มืออาชีพ

      หากเราต้องการเป็น AE ที่มีความสามารถโดดเด่น เราควรมี 6 ทักษะสำคัญที่ Account Executive (AE) มืออาชีพควรมี ดังนี้

  •      ทักษะการสื่อสาร (Communication Skill)

     หนึ่งในหน้าที่หลักของงาน Account Executive คือการสื่อสาร ทั้งกับลูกค้า และกับเพื่อนร่วมทีม ทำหน้าที่ในการประสานงาน ทำให้แต่ละฝ่ายเข้าใจได้ตรงกัน ไม่ตกหล่นใจความสำคัญ

  •      ทักษะการเจรจา (Negotiation Skill)

     ทักษะสำคัญที่ AE ควรมีคือ ทักษะการเจรจาต่อรอง ไม่ว่าจะเป็นการต่อรองเวลาในการทำงาน เพื่อให้เป็นไปตามกำหนดเวลา และยังรวมไปถึงการเจรจาต่อรองราคาค่าจ้างโปรเจกต์ต่างๆ อีกด้วย AE จะต้องเชี่ยวชาญในการจัดการข้อกังวล และเจรจากับลูกค้าเพื่อรักษาความสัมพันธ์ และทำให้ลูกค้าเกิดความสบายใจมากที่สุด

  •      ทักษะการบริการ (Service Mind Skill)

     AE ที่ดีจะต้องเปิดใจรับฟัง ใจเย็น พร้อมให้ความช่วยเหลือทุกคนเพื่อประสานให้งานสำเร็จได้ตามกำหนดเวลาอย่างราบรื่น และตรงตามความต้องการของลูกค้า

  •      ทักษะการทำหลายสิ่งพร้อมกัน (Multitasking Skill)

     ศักยภาพของ AE ไม่ควรมีแค่หน้าที่ของ AE เท่านั้น เพราะนอกจากจะต้องติดต่อประสานงานกับทีมต่าง ๆ แล้ว AE จำเป็นต้องรู้และเข้าใจกระบวนการทำงานของทุกฝ่ายที่ตนเองประสานงานอยู่ด้วย ในกรณีของบางคนที่มีประสบการณ์เป็น AE มาหลายปีแล้ว เรียกได้ว่าพวกเขาสามารถทำหน้าที่แทนฝ่ายนั้น ๆ ได้เลยทีเดียว ถ้าหากว่างานดังกล่าวไม่ต้องใช้ทักษะเฉพาะด้านจนเกินไป ซึ่งในส่วนนี้จะช่วยให้งานเสร็จได้อย่างรวดเร็วทันใจลูกค้า

  •      ทักษะการควบคุมอารมณ์ (Emotion Control Skill)

     การทำงานกับคนเป็นงานที่ยากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาต้องรับมือกับคนหลาย ๆ บางครั้งอาจต้องรับทั้งแรงกดดัน การพูดจา น้ำเสียง อารมณ์ต่าง ๆ ในเวลาเดียวกันเพราะเป็นคนกลาง ดังนั้น AE จึงต้องมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์และข่มใจไม่ให้พูดอะไรที่อาจทำให้เกิดการกระทบก

  •      ทักษะด้านภาษา (Language Skill))

     ทักษะด้านภาษาถือเป็นความสามารถพิเศษเพิ่มเติมที่ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับตำแหน่ง AE ยิ่งสามารถสื่อสารได้หลายภาษายิ่งถือเป็นกำไร และมีโอกาสเติบโตในสายงานได้มากกว่าคนอื่น

 

ตำแหน่ง AE (ACCOUNT EXECUTIVE) ทำอะไรบ้าง ?

  •      รับบรีฟจากลูกค้า ว่าลูกค้าต้องการอะไร และทำไมถึงอยากได้สิ่งนั้น
  •      หาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจของลูกค้าให้มากขึ้น 
  •      กระจายงานที่ได้รับมอบหมายให้ถูกคน ถูกเวลา
  •      เป็นคนกลางระหว่างทีมงานและลูกค้า

 

อยากเป็น AE (ACCOUNT EXECUTIVE) ต้องเรียนจบอะไร ?

     ส่วนใหญ่คนที่ทำงานด้าน AE ก็เรียนจบสายบริหาร การตลาด หรือไม่ก็โฆษณา แต่ในความเป็นจริงๆ แล้ว จะเรียนจบอะไรก็สามารถทำงานเป็น AE ได้เหมือนกัน