ในการทำงานหากมีระบบที่ชัดเจนย่อมช่วยสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับองค์กรมากขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญซึ่งแต่ละบริษัท องค์กร หรือ ธุรกิจต้องพยายามหาจุดหลักของตนเองให้เจอโดยเร็วที่สุด หนึ่งในหลักการทำงานที่ถูกพูดถึงอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับการเรียงลำดับตามขั้นตอนเมื่อมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development Life Cycle) นั่นคือ “Waterfall Model” ทฤษฏีแบบจำลองน้ำตก เชื่อว่าหลายคนยังมีข้อสงสัย Software Waterfall Model คืออะไร สามารถปรับใช้งานกับองค์กรของตนเองได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของ ผู้จัดการ หัวหน้างาน หรือแม้แต่พนักงานทั่วไปก็สามารถศึกษาอย่างละเอียดได้เลย
Waterfall Model คืออะไร
Waterfall Model คือ กระบวนการทำงานแบบมีลำดับขั้นตอนเรียงจากบนลงล่างซึ่งตรงกับไทม์ไลน์ของการทำงานทั่วไปแต่จะเน้นสิ่งที่เป็นเป้าหมายไล่มาจนถึงสิ่งที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามความปรารถนา ด้วยลักษณะการทำงานดังกล่าวจึงเหมือนกับน้ำตกที่สายน้ำจากด้านบนหล่นลงสู่พื้นด้านล่างนั่นเอง เป็น Software Development Methodologies ตัวแรกที่คุ้นเคย เป็นวิชาที่สอนในมหาลัย สาขาที่เกี่ยวข้อง
หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของโมเดลนี้ การทำงานแต่ละขั้นตอนไม่ใช่ทำแบบส่ง ๆ หรือขอไปที แต่จะต้องมีการกำหนดลักษณะ จุดประสงค์ และผลลัพธ์ที่ต้องการเอาไว้ชัดเจน ผ่านการควบคุมของผู้เชี่ยวชาญ คนที่มีประสบการณ์ ในทางปฏิบัติก็คือหัวหน้า ผู้จัดการ และต้องมั่นใจว่าขั้นตอนในลำดับชั้นนั้นเสร็จเรียบร้อยดีแล้วจึงค่อยเดินหน้าเข้าสู่ลำดับถัดไป
กระบวนการอันน่าสนใจของ Waterfall Model
ไม่ว่าจะเป็นการนำเอา Waterfall Model มาวางแผนเพื่อทำงานด้านซอฟต์แวร์ หรือพลิกแพลงเข้าสู่กระบวนการทำงานของธุรกิจก็สามารถเรียงลำดับขั้นตอนทีละสเต็ปเอาไว้ได้อย่างน่าสนใจมาก ถ้าหากทำสำเร็จทั้งหมดก็มั่นใจเต็มร้อยองค์กรของคุณจะมีคุณภาพ ได้รับความนิยม และผลตอบรับเชิงบวกกจากลูกค้าแบบไม่ต้องสงสัย
1. Requirement
การร้องขอ หรือความต้องการของลูกค้าที่พวกเขาคาดหวังจะได้รับจากธุรกิจ อีกด้านหนึ่งนี่คือจุดประสงค์สำคัญของการทำธุรกิจก็ไม่ใช่เรื่องผิด เมื่อลูกค้ามีความสุข พึงพอใจ สินค้า / บริการต่าง ๆ ก็ขายได้ จึงต้องมีข้อมูลและเริ่มวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนชัดเจน
2. Design
การออกแบบ อันหมายถึงองค์รวมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นสินค้า / บริการ ออกแบบการบริหารจัดการองค์กร ออกแบบวิธีแก้ปัญหา หรือวิธีจัดการกับข้อผิดพลาดที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกเวลา เสมือนมีแผนสำรองที่คอยป้องกันไม่ให้ธุรกิจล้มจากสาเหตุต่าง ๆ ก็ไม่ผิดนัก
3. Implementation
ปกติแล้ว Waterfall Model มักนิยมใช้งานกับระบบซอฟต์แวร์ขั้นตอนนี้จึงอธิบายความหมายออกมาในเชิงการพัฒนาระบบเชิงลึก แต่ถ้ามองในมุมการทำงานทั่วไปก็อาจบ่งบอกถึงการพัฒนาศักยภาพในทุกด้านแบบลึกซึ้ง ละเอียดอ่อน ภายใต้กรอบความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งเหล่านั้น ไม่ฝืนความเป็นจริง
4. Verification
การตรวจสอบ การประเมินผล การ Test ระบบ จะใช้คำไหนก็ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ แต่จุดมุ่งหมายคือตรวจเช็กความเรียบร้อยจากขั้นตอนก่อนหน้าว่าพร้อมส่งต่อถึงมือลูกค้าแล้วหรือยัง มีจุดไหนยังเกิดข้อผิดพลาดที่ต้องแก้ไขหรือไม่
5. Maintenance
การแก้ไซ ซ่อมแซม กรณีที่เห็นข้อบกพร่องแม้เป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ก็ต้องมีการแก้ไข ปรับปรุง ซ่อมแซม เพื่อให้ทุกอย่างออกมาสมบูรณ์แบบ ตรงกับลำดับขั้นแรกนั่นคือความต้องการของลูกค้า และยังช่วยให้ธุรกิจเติบโตภายในเวลาอันรวดเร็วอีกด้วย
จุดเด่นของหลักการ Waterfall Model
เมื่อมีการวางลำดับขั้นตอนทำงานที่ชัดเจน จุดเด่นสำคัญของหลักการ Waterfall Model จะช่วยให้งานที่ยากถูกแบ่งออกและแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น เช่น การจะเริ่มทำสินค้าชิ้นใหม่ เมื่อไล่เรียงตามแนวทางอย่างละเอียดตั้งแต่ศึกษาความต้องการของลูกค้า เริ่มต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเจาะลึกเพื่อสร้างจุดเด่น การตรวจสอบความเรียบร้อย และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหากมีจุดบกพร่อง ผลิตภัณฑ์ที่จะออกสู่ท้องตลาดย่อมมีโอกาสเติบโตได้ไม่ยาก
อีกจุดเด่นของหลักการนี้คือเรื่องของ Timing หรือระยะเวลาในการทำงานแต่ละขั้นตอน สามารถกำหนดให้ชัดเจนได้ภายในเงื่อนไขที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยอมรับ เช่น ระยะเวลาการค้นหาข้อมูล การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค แม้ขั้นตอนที่ถูกในลำดับถัดไปก็มีเวลามากพอเพื่อเตรียมตนเองให้พร้อมสำหรับการทำงานอันทรงประสิทธิภาพ
ข้อควรระวังเกี่ยวกับ Waterfall Model
แม้ในด้านของประโยชน์ Waterfall Model จะช่วยสร้างผลลัพธ์ที่ดี และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพซอฟต์แวร์ให้ตรงใจกับผู้ใช้ แต่ก็มีบางเรื่องที่ต้องคอยระวังเอาไว้พอสมควรเพื่อลดความเสี่ยงต่อข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อคุณดำเนินการมาจนถึงขั้น Implementation แล้วบังเอิญเจอข้อผิดพลาด เมื่อแจ้งไปถึงลูกค้า หรือลูกค้ารับรู้จด้วยวิธีใดก็ตาม พวกเขาอาจร้องขอให้คุณเพิ่มเติมรายละเอียดบางประการเพื่อปิดจุดเสี่ยงเหล่านั้นให้ครบถ้วน กลายเป็นอาจต้องกลับสู่ขั้นตอนการเริ่มต้นทำงานใหม่ เพราะบางเรื่องก็ต้องรื้อใหม่ทั้งหมด
ด้วยเหตุนี้การใช้โมเดลดังกล่าวอาจรู้สึกไม่ค่อยเหมาะสมมากนักกับบางกรณี เช่น องค์กรที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงาน หรือการขายสินค้าให้กับลูกค้าด้วยความรวดเร็ว และหันไปใช้งานโมเดลอื่นแทนซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิด ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความเหมาะสม
สรุป
นี่คือข้อมูลอันน่าสนใจของ Waterfall Model ซึ่งเป็นระบบการทำงานแบบลำดับขั้นเสมือนน้ำตกที่ไหลลงสู่พื้น เดิมทีจะนิยมใช้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านซอฟต์แวร์ แต่ปัจจุบันก็สามารถปรับเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ชั้นยอด และเหนือสิ่งอื่นใดยังเป็นการลดความยากของการทำงาน มีระยะเวลาชัดเจน ซึ่งองค์กรไหนจะนำไปใช้งานก็ไม่มีปัญหา แต่อย่าลืมระวังข้อผิดพลาดบางประการที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอเช่นกัน