สังเกตว่าเวลาเข้าไปตามเว็บ E-Commerce ขายของออนไลน์ หรือเว็บไซต์ขายสินค้าแทบทุกประเภทจะมีรูปรถเข็น หรือตะกร้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกสรรสิ่งที่ตนเองต้องการ จากนั้นก็กดจองแล้วค่อยซื้อเป็นขั้นตอนสุดท้าย รูปของรถเข็นหรือตะกร้าดังกล่าวมีชื่อว่า “Shopping Cart” อย่างไรก็ตามคนที่พึ่งหันมาทำธุรกิจออนไลน์ หรืออยากเพิ่มช่องทางขายบนหน้าเว็บไซต์ตนเองอาจกำลังสงสัยว่า Shopping Cart คืออะไร แล้วเว็บของตนเองจำเป็นต้องมีหรือไม่ ลองมาศึกษาข้อมูลทั้งหมดกันเลย

Shopping Cart คืออะไร

Shopping Cart คือ ระบบซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งทำหน้าที่เปรียบได้กับรถเข็นหรือตะกร้าสินค้าเพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกช้อปปิ้งสินค้าบนหน้าเว็บไซต์ได้ทั้งหมดตามความต้องการของตนเอง เมื่อกดเข้าไปยังสินค้าตัวไหนแล้วถูกใจก็สามารถคลิกปุ่ม Add to Cart หรือเพิ่มสินค้าในตะกร้าได้ทันที รวมถึงยังสามารถปรับแต่งสินค้าในตะกร้าของตนเองได้ว่าต้องการเพิ่ม-ลดจำนวน หรือลบสินค้าที่ไม่ต้องการแล้วให้ออกไปก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการชำระเงิน

ซึ่งระบบดังกล่าวทุกเว็บไซต์สามารถทำขึ้นมาได้เพียงเลือกใช้งานสคริปต์จากบางโปรแกรม เช่น PHP, ASP, CGI ซึ่งเป็นภาษา HTML ผสานกับการทำงานของคุกกี้หากรายการสินค้าบนเว็บของคุณไม่ได้มีตัวเลือกเยอะมากนัก แต่ถ้าเป็นเว็บไซต์ที่มีสินค้ามาก เช่น ร้านค้าปลีก เว็บแบรนด์ ก็มักต้องเสียเงินซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่สามารถรองรับปริมาณข้อมูล และช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ระบบการทำงานของ Shopping Cart

หากทุกคนเคยใช้งาน website แต่ไม่ได้เจาะลึกรายละเอียดใด ๆ ก็คงประเมินว่านี่เป็นระบบอันแสนสะดวกต่อตัวลูกค้า ไม่จำเป็นต้อสั่งซื้อทีละชิ้นให้วุ่นวาย ชอบชิ้นไหนก็เลือกเอาไว้ในตะกร้าก่อน หากเจอของที่ดีกว่าชิ้นเดิมก็แค่เปลี่ยน หรือลบของเดิมออก ซึ่ง่ความเป็นจริงนั้นระบบของ Shopping Cart มีการทำงานแบบออกเป็น 3 ส่วน ประกอบไปด้วย

1. ระบบสินค้า

ฐานข้อมูลเว็บไซต์จะต้องมีข้อมูลต่าง ๆ ของสินค้าทั้งหมดภายในเว็บที่ถูกจัดเรียงเอาไว้อย่างมีระเบียบ ปกติถ้าตัวเว็บไม่ได้สลับซับซ้อนอะไรมากก็มักสร้างฐานข้อมูลแค่ตารางเดียวเพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของสินค้าทั้งหมด แต่ในกรณีเป็นสินค้ากลุ่มเฉพาะหลังบ้านก็จำเป็นต้องสร้างระบบอื่นขึ้นมาเพิ่มเติม เช่น ตารางสินค้าหลัก ตารางหมวดหมู่สินค้า ตารางภาพสินค้า ตารางโปรโมชั่นสินค้า ตารางราคา ตารางส่วนลด / คูปอง เป็นต้น

2. ระบบลูกค้า

เป็นแนวทางที่จะต้องบริหารจัดการให้คนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์และเกิด Engagement มากที่สุด ได้รับประสบการณ์ที่ดี โอกาสตัดสินใจซื้อก็ไม่ใช่เรื่องเกินจริง เช่น การสร้างระบบล็อกอินให้กับลูกค้าเมื่อสมัครแล้วกรอกข้อมูลครั้งเดียว เมื่อจะสั่งสินค้าข้อมูลทั้งหมดก็ปรากฏทันที อาทิ ชื่อ ที่อยู่ ไม่ต้องพิมพ์ใหม่ซ้ำหลายรอบให้ปวดหัว เป็นต้น ซึ่งระบบนี้มีความละเอียดอ่อนต้องอาศัยความชำนาญและพยายามศึกษา Feedback ของลูกค้าอยู่ตลอด

3. ระบบคำสั่งซื้อ

เป็นระบบการแจ้งรายละเอียดและเก็บข้อมูลเมื่อมีลูกค้าเข้ามาสั่งซื้อสินค้าบนหน้าเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งตามหลักเบื้องต้นรูปแบบทำงานก็จะมี 2 ตารางขั้นต่ำที่ทำงานร่วมกัน

4. ระบบการชำระเงิน

เป็นระบบ Payment Method ที่ให้ลูกค้าเลือกวิธีการชำระเงิน เช่น ชำระเงินผ่านธนาคาร (iBanking) สแกนคิวอาร์โค้ด PayPal คริปโต เก็บเงินปลายทาง TrueMoney หรือ บัตรเครดิต เป็นต้น

อย่างไรก็ตามนอกจาก 3 ระบบดังกล่าวแล้ว การใช้งาน Shopping Cart ก็ยังมีระบบอื่น ๆ ตามความเหมาะสมที่เว็บไซต์จะเลือกนำมาใช้งานให้เกิดลูกเล่นและความน่าสนใจ เช่น ระบบรูปภาพสินค้า เพื่อให้ลูกค้าเห็นและตัดสินใจซื้อง่ายขึ้นกว่าเดิม ระบบกราฟรายงาน ใช้เป็นข้อมูลหลังบ้านว่าสถิติการซื้อ-ขายสินค้าประเภทต่าง ๆ เป็นอย่างไรเพื่อวางแผนการขายในอนาคต

รูปแบบของ Shopping Cart ที่ได้รับความนิยม

สำหรับรูปแบบของ Shopping Cart ที่บรรดาเว็บไซต์จำนวนมากมักนิยมให้ลูกค้าได้เลือกใช้งานจะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ซึ่งมีความใกล้เคียงกันและสามารถระบุได้ว่าสรุปแล้วสินค้าที่สั่งซื้อมีทั้งหมดกี่ชิ้น ดังนี้

1. ระบบเติมตัวเลขสินค้า

สามารถกดจำนวนสินค้าที่ต้องการเป็นตัวเลขระบุลงไปได้ทันทีก่อนกดเพิ่มสินค้าในตะกร้า นิยมใช้กับสินค้าที่ต้องสั่งครั้งละปริมาณมาก ๆ เกินหลัก 10 หรือหลัก 100 ชิ้นขึ้นไป เพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า ไม่ต้อนั่งกดเพิ่มทีละชิ้นให้ยุ่งยาก

2. ระบบกดเพิ่มจำนวนสินค้า

เป็นระบบที่ทุกคนพบเจอได้บ่อยมากสุด หลักการคือเมื่อคุณต้องการสินค้าชนิดใดก็ตามกดเพื่อเพิ่มจำนวนสินค้าตามต้องการ จากนั้นค่อยสั่งเพิ่มสินค้าในตะกร้า ได้ความสะดวก ไม่ต้องเปลี่ยนแป้นพิมพ์เป็นตัวเลขให้ยุ่งยาก ใช้ได้กับสินค้าทุกประเภท

ทั้งนี้หลักการทำงานหลังบ้านของทั้ง 2 รูปแบบ จะมีลักษณะแบบเดียวกันนั่นคือเมื่อมีคำสั่งเพิ่มสินค้าในตะกร้าระบบจะทำการส่งรหัสสินค้าที่อยู่ในลิสต์บนระบบสินค้าเข้าสู่ตะกร้าสินค้า เพื่อให้รู้ว่าตอนนี้มีสินค้าชนิดใดบ้างที่ถูกสั่งอยู่

หน้าเว็บของธุรกิจจำเป็นต้องมี Shopping Cart หรือไม่?

การมี Shopping Cart อยู่หน้าเว็บเหมาะกับธุรกิจที่มีสินค้า / บริการให้ลูกค้าได้เลือกสรร จากนั้นก็กดเลือกสิ่งที่ตนเองต้องการแล้วเข้าสู่ระบบชำระเงินได้ทันที สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ดังนั้นหากคุณตั้งใจทำหน้าเว็บเป็นอีกช่องทางการขายก็ควรต้องมีระบบดังกล่าวเอาไว้ ช่วยเพิ่มความทันสมัย สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้องค์กรอีกด้วย แต่สำหรับเว็บทั่วไป ไม่ได้ขายสินค้า หรือเป็นสินค้าที่ต้องขายผ่านคนเท่านั้นก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้ระบบดังกล่าวให้สิ้นเปลืองต้นทุนการทำเว็บ

สรุป

Shopping Cart หรือตะกร้าสินค้า / รถเข็นสินค้า เป็นระบบที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บสามารถเลือกซื้อสินค้า / บริการบนเว็บดังกล่าวได้ง่ายขึ้น ไม่จำเป็นต้องสั่งซื้อทีละชิ้น หรือติดต่อผู้ขายใด ๆ ให้ยุ่งยาก มีทั้งแบบเติมตัวเลขและกดเพิ่มจำนวน หากคุณวางแผนอยากให้เว็บตัวเองเป็นกึ่ง E-Commerce การมีระบบดังกล่าวไว้ช่วยได้เยอะมาก