GDN คืออะไร คนทำโฆษณาออนไลน์ไม่รู้จักไม่ได้

 

GDN คืออะไร ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คนทำโฆษณาออนไลน์ไม่รู้จักไม่ได้ เพราะโฆษณาลักษณะนี้เข้าถึงกลุ่มคนได้จำนวนมาก แต่ใช้งบประมาณที่ไม่สูงนัก สอดคล้องกับการใช้งานของคนในยุคปัจจุบันที่เสพสื่อออนไลน์เป็นหลัก และสื่อโฆษณาลักษณะนี้ก็เข้าถึงกลุ่มคนได้เป็นอย่างดี นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ในการประชาสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

GDN คืออะไร?

 

GDN ย่อมาจาก Google Display Network คือ โฆษณา Google ที่มาในรูปแบบของรูปภาพ หรือข้อความ แสดงผลบนเว็บไซต์ต่างๆที่เจ้าของเว็บสมัครขอติดโฆษณา (Google Adsense) เพื่อสร้างรายได้ เช่น เว็บบล็อก เว็บข่าว เว็บนิตยสารออนไลน์ ต่างจาก Search Ads ที่จะแสดงโฆษณาบน Google Search

 

Banner เหล่านั้นจะสามารถคลิกดูเพิ่มเติมได้ เนื่องจากได้แนบลิงค์ต้นทางเอาไว้ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายคลิกเข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติม บางครั้งอาจเป็นลิงค์ข้อมูลรายละเอียดสินค้าเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือบางครั้งอาจเป็นลิงค์หน้าขายสินค้า ที่คลิกเข้าไปแล้วสามารถกดสั่งซื้อได้ 

 

GDN คือสื่อโฆษณาออนไลน์ ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุคปัจจุบัน เนื่องจากพฤติกรรมคนยุคออนไลน์ มักค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่อยากรู้บนอินเทอร์เน็ต รวมถึงเสพข่าวบนอินเทอร์เน็ตด้วย ทำให้มีโอกาสค่อนข้างสูงที่จะมีผู้ที่พบเห็นเนื้อหาโฆษณา 

 

รูปแบบของ GDN คืออะไรบ้าง

 

GDN มีหลายรูปแบบ แม้หลักๆ จะเป็น Banner แต่ก็มีรูปแที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

 

1.Text Ads 

 

รูปแบบแรกของ GDN คือ Text Ads ลักษณะของสื่อโฆษณาคือ ข้อความที่มาพร้อมลิงค์คลิกดูเพิ่มเติม โดยใน Banner นั้นอาจไม่มีรูปภาพ มีแต่ตัวหนังสือที่สื่อถึงเนื้อหาโฆษณานั้น ซึ่งสามารถคลิกเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ แต่ลักษณะนี้มักดึงดูดได้ต่ำกว่าแบบรูปภาพ

 

2.Image Ads

 

ถัดมาคือ GDN แบบรูปภาพ สื่อนี้ได้รับความนิยมมากที่สุด ในการสร้างสรรค์เป็นโฆษณา GDN มีการออกแบบภาพโฆษณาขึ้นมาในขนาดที่สอดคล้องกับพื้นที่โฆษณานั้น และแนบลิงค์เข้าไป เพื่อแสดงบนเว็บไซต์ต่างๆ มีรูปภาพและข้อความแสดงอยู่ด้วยกัน สามารถใช้ได้ทั้งไฟล์ GIF, JPG, และ PNG

 

3.Responsive Ads 

 

ถัดมาคือ GDN รูปแบบ Responsive Ads อาจจะเป็นไฟล์รูปภาพหรือวิดีโอก็ได้ ลักษณะการแสดงสื่อโฆษณานี้คือจะมีการปรับเปลี่ยนไปขนาดไปตามหน้าจอของผู้ใช้งาน สื่อนี้นิยมมากในปัจจุบัน เพราะหน้าจอโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้งานแต่ละคนไม่เท่ากัน การใช้สื่อ Responsive Ads จะรองรับกับทุกหน้าจอ

 

4.VDO Ads 

 

ถัดมาคือ GDN รูปแบบของคลิปวิดีโอ มักปรากฏบนแพลตฟอร์มที่แสดงเนื้อหาวิดีโอ เช่น YouTube, Facebook Video เป็นต้น 

 

รูปแบบการแสดงโฆษณา GDN คืออะไรบ้าง

 

การแสดงโฆษณา GDN มีหลายรูปแบบ ได้แก่

 

Keyword Contextual Targeting

 

การแสดงแบบแรกสัมพันธ์กับคำค้นหาหรือที่เรียกว่า Keyword เจ้าของแบรนด์หรือเจ้าของโฆษณา GDN ได้มีการตั้งค่าไว้ว่าจะให้การแสดงโฆษณานี้ขึ้นอยู่กับ Keyword คำว่าอะไร ก็ป้อนคำนั้นเอาไว้ตอนตั้งค่าการแสดงโฆษณา เมื่อมีผู้ใช้งานค้นหาคำนั้น ก็มีโอกาสที่จะพบเห็นกับโฆษณาที่ตั้งค่าการแสดงโฆษณาจากคำค้นหาคำนั้นเอาไว้

 

ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจที่ทำโฆษณา GDN เป็นธุรกิจครีมกันแดด สำหรับทาหน้า อาจจะตั้งค่าโฆษณาเอาไว้ว่า “ครีมกันแดดทาหน้า” คราวนี้เมื่อมีผู้ใช้งานค้นหาคำว่า ครีมกันแดดทาหน้า ก็มีโอกาสที่จะเข้าไปหน้าเว็บไซต์ที่มี Keyword คำว่าครีมกันแดดทาหน้าอยู่ และเจอกับ GDN โฆษณาครีมกันแดดทาหน้าที่ได้ตั้งค่า Keyword คำนั้นไว้  

 

Remarketing

 

การ Remarketing คือการทำให้กลุ่มเป้าหมายที่เคยเห็นสื่อโฆษณานั้นไปแล้ว มีโอกาสกลับมาเห็นซ้ำอีก การแสดงโฆษณารูปแบบนี้จะแสดงซ้ำเมื่อมีกลุ่มเป้าหมายเข้าไปในหน้าเว็บไซต์หนึ่งและเจอกับ GDN ที่มีการฝังโค้ด Remarketing เอาไว้ ซึ่งระบบจะทำการเก็บข้อมูลผู้ใช้งานคนนั้นไว้ และเมื่อผู้ใช้งานไปเข้าเว็บไซต์อื่น โฆษณาชิ้นเดิมก็อาจจะตามไปแสดงให้เห็นในเว็บไซต์นั้นด้วย 

 

Topic Targeting

 

การแสดงผลโฆษณาลักษณะนี้ คนทำโฆษณา GDN จะต้องเลือกให้โฆษณาไปแสดงบนเว็บไซต์ที่มีหัวข้อ (Topic) เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เช่น การสร้าง Banner โฆษณาครีมกันแดดทาหน้า แล้วต้องการให้ Banner นั้นไปแสดงบนเว็บที่เกี่ยวข้อง อาจจะเป็นเว็บแนะนำเครื่องสำอาง เว็บความงาม เว็บผู้หญิง ก็จะต้องตั้งค่าไปว่าให้ไปแสดงบนเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเหล่านี้ แต่จะไม่สามารถเจาะจงเว็บไซต์ได้ 

Placement Targeting

 

การแสดงผลโฆษณา GDN ลักษณะนี้ คนทำสามารถเจาะจงเว็บไซต์เป้าหมายที่จะให้โฆษณาไปแสดงได้เลย ไม่จำเป็นต้องเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าก็ได้ เพราะสามารถระบุชื่อเว็บไซต์ลงไปได้โดยตรง ว่าจะให้โฆษณาชิ้นนี้ แสดงบนเว็บไซต์นั้นๆ

เทคนิคการทำ GDN คืออะไร

 

เทคนิคการทำ GDN ให้มีประสิทธิภาพ แบ่งออกเป็น 2 เรื่องหลักๆ ดังนี้

 

1.ทำภาพให้ดึงดูด 

 

เรื่องแรกที่ต้องใส่ใจในการทำ GDN ก็คือการผลิตภาพโฆษณาให้ดึงดูด ทำให้กลุ่มเป้าหมายสนใจที่จะมองโฆษณาชิ้นนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้รูปภาพประกอบในสื่อ หรือการเลือกใช้คำโฆษณาที่ดึงสายตา การเลือกใช้สี และการกำหนดขนาดภาพ ขนาดตัวอักษร ให้กลุ่มเป้าหมายสนใจได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไปจนถึงการดึงดูดให้มีการคลิกโฆษณา เพื่อให้เกิดการรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือแม้แต่การปิดการขายได้ในที่สุด 

 

2.ตั้งค่าการแสดงให้สอดคล้องกับสินค้า

 

จากที่ได้กล่าวไปเรื่องการตั้งค่าเพื่อให้เกิดการแสดงโฆษณาในรูปแบบต่างๆ เรื่องนี้สำคัญมาก ไม่ใช่ว่าทุกธุรกิจจะตั้งค่าเหมือนกันได้ บางธุรกิจสินค้าเฉพาะกลุ่ม มีผู้บริโภคเพียงจำนวนหนึ่ง หากจะตั้งค่าโฆษณาให้แสดงแบบ Placement Targeting ก็ควรเลือกเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจริงๆ เพราะเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เยี่ยมชมเป็นกลุ่มคนที่สนใจเรื่องนั้นโดยเฉพาะ 

 

แต่ถ้าหากเป็นสินค้าที่กลุ่มเป้าหมายกว้างขวาง และแบรนด์ต้องการให้คนรู้จักสินค้าเยอะๆ ก็อาจจะเจาะจงเว็บไซต์ที่มีจำนวนคนเข้าถึงต่อวันปริมาณมากๆ เช่นพวกเป็นเว็บข่าวหรือเว็บนิตยสารออนไลน์ชื่อดัง มีคนมากหน้าหลายตาเข้าไปเสพข้อมูลแบบไม่เฉพาะเจาะจง 

ข้อเสียของ Display Ads

ไม่มีรายงานยอดคลิกเชิงลึก และส่วนใหญ่เป็นยอดคลิกจาก Bot Traffic ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงและไม่ได้ลูกค้าที่แท้จริง

 

หลายคนคงพอจะเข้าใจแล้วว่า GDN คืออะไร ถือเป็นโฆษณาอีกหนึ่งรูปแบบที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะคนที่กำลังทำการตลาดออนไลน์ เมื่อรู้จักแล้วสิ่งที่นักการตลาดทุกคนต้องรู้ก็คือการนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง