Table of Contents
ToggleOn-page SEO คืออะไร?
On-page SEO คือ วิธีทำ SEO บนเว็บไซต์ของเราเอง (บางคนเรียกว่า “On-site SEO”) สิ่งที่เราต้องทำก็มีหลายเรื่องด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง
- การทำคอนเทนต์
- การใส่แท็ก (tag)
- การเชื่อมต่อลิงก์ URL
- การปรับแต่งหน้าเพจให้อ่านง่าย น่าสนใจ และอีกหลากหลายเทคนิค
โดยเป้าหมายสำคัญของการทำ On-Page SEO คือ การตอบโจทย์ผู้ใช้งานและตอบโจทย์อัลกอริทึม (Google Algorithm) ทำให้ Bot เข้าใจว่า เว็บไซต์/เว็บเพจกำลังพูดถึงเรื่องอะไร ตรงกับสิ่งที่คนเสิร์ชแค่ไหน เพื่อใช้ในการจัดอันดับเว็บไซต์
ความสำคัญของ On-Page SEO
แน่นอนว่า การทำ On-page SEO มีความสำคัญอย่างยิ่งกับการทำ SEO เพราะเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของ 3 องค์ประกอบหลักในการทำ SEO ให้เว็บไซต์ติดอันดับ ซึ่ง On-page SEO ก็ดูเหมือนว่าจะมีนำ้หนักคะแนนในการทำ SEO มากกว่าองค์ประกอบอื่นๆ เพราะสัมพันธ์โดยตรงกับการทำงานของ Search Engine และการเสพคอนเทนต์/ท่องเว็บไซต์ของคน
On-page SEO กับการทำงานของ Search Engine
การทำ On-page SEO คือ การทำเว็บไซต์ให้คนใช้งานจริง
การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา การทำให้เว็บไซต์เป็นมิตรกับ SEO หมายความว่า Google และเครื่องมือค้นหาอื่นๆ สามารถรวบรวมข้อมูลแต่ละหน้าในเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจัดทำดัชนีในฐานข้อมูล ยิ่งกลยุทธ์ SEO ดี มากเท่าไร โอกาสของการจัดทำดัชนีและการจัดอันดับในหน้าแรกของผลการค้นหาก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น วิธีการสร้างเว็บไซต์ที่เป็นมิตรกับ SEO มีดังนี้
1.ชื่อและคำอธิบายที่ไม่ซ้ำสำหรับทุกหน้า (SEO/Meta Title)
2.โครงสร้าง URL ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทั้งหมดเป็นตัวพิมพ์เล็ก คำอธิบาย คั่นด้วยเครื่องหมายขีดกลาง
3.หน้าเว็บโหลดเร็ว ตามหลักของ PageSpeed Google และ Core Web Vital
4.เนื้อหาแต่ละหน้าที่ไม่ซ้ำ ให้สอดคล้องกับคีย์เวิร์ด Keywords ที่สนใจ
5.ปรับรูปภาพให้เหมาะสม (Optimize Images)
6.สร้างโครงสร้างเนื้อหาที่เหมาะสม
ปัจจัยต่างๆ ที่ยกตัวอย่างมา ต่างก็เป็นหนึ่งใน Ranking Factors และเป็นสิ่งที่ทำคนเสพคอนเทนต์ได้ประสบการณ์ใช้งานบนเว็บไซต์ที่ดีขึ้น อัลกอริทึมของ Google จะเรียนรู้ว่า คนชอบหน้าเพจนี้ หน้าเพจนี้ตอบโจทย์คนได้ ก็จะช่วยจัดอันดับเว็บไซต์ให้ดีขึ้น เข้าถึงคนได้มากขึ้น
On-page SEO มีอะไรต้องทำบ้าง?
สำหรับการทำ On-page SEO จริงๆ แล้วมีหลายเรื่องที่จะต้องทำ ซึ่งถึงแม้จะทำตามได้ทั้งหมดหรือไม่หมด ก็ไม่ได้การันตีว่าผลลัพธ์อันดับเว็บไซต์จะแตกต่างกัน แต่ปัจจัยที่แนะนำให้ทำก่อน จะเป็นพื้นฐานให้ส่งผลต่อการจัดอันดับเว็บไซต์ที่ถูกต้อง ปลอดภัย ตามหลักเกณฑ์ที่ Google กำหนด
โดยส่วนประกอบของ On-page SEO 12 ข้อต่อไปนี้
- การทำคอนเทนต์คุณภาพ (E-E-A-T Content)
- การใช้ Keyword ที่เกี่ยวข้องและมีคนค้นหา
- การเขียนคอนเทนต์รูปแบบ SEO (SEO Writing & Readability)
- การใช้รูปภาพและมัลติมีเดีย เช่น วิดีโอ Infographic ฯลฯ
- การตั้งชื่อหน้าเพจ หรือ Title Tag
- การใส่คำอธิบายหน้าเพจ Meta Description
- การปรับรูปภาพให้เหมาะสมกับการใช้งาน (Image Optimization)
- การเพิ่มความเร็วเว็บไซต์ (Site Speed)
- การทำเว็บไซต์ให้แสดงผลได้บนมือถือ (Responsive Design)
- การตั้งชื่อลิงก์หรือที่อยู่เว็บไซต์ (Friendly URLs)
- การทำ Internal link & Outbound link
- การทำเว็บไซต์ให้แชร์ง่าย (Shareable)
1. การทำคอนเทนต์คุณภาพ (E-A-T Content)
สิ่งที่คนต้องการอ่าน คือ คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ และ Google หรือ Search Engine เจ้าอื่นๆ ก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ซึ่งทาง Google ก็แนะนำไกด์ไลน์ในการทำคอนเทนต์ที่ Google ชอบ อยากดันอันดับให้ มี 3 เรื่องด้วยกัน
- Expertise หมายถึง คอนเทนต์มาจากเว็บไซต์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ถ้าเว็บไซต์ของเราเป็นเว็บประกัน เนื้อหาบนเว็บไซต์ก็ควรเกี่ยวข้องกับความรู้เรื่องประกัน ทำเนื้อหาบนคอนเทนต์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มุ่งทำคอนเทนต์ในด้านนั้นๆ เพื่อแสดงความเชี่ยวชาญของเรา
- Authoritativeness หมายถึง คอนเทนต์มาจากใคร ใครเป็นผู้เขียน แล้วผู้เขียนเป็นคนที่เชื่อถือได้หรือไม่ Google จะมองว่า เว็บไซต์ทรงอิทธิพลในความรู้ด้านนั้นๆ แค่ไหน (เว็บไซต์มีคนอ้างอิงมากน้อยแค่ไหน มีการถูกพูดถึง) หรือผู้เขียนมีตำแหน่งหรือไม่ หากเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับการแพทย์ การที่คนเขียนบล็อกมีตำแหน่งเป็นแพทย์จะมีเครดิตที่ดีกว่า
- Trustworthy หมายถึง ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา เนื้อหาที่นำเสนอมีการอ้างอิงหรือไม่ มีคนอ้างอิงเนื้อหาแค่ไหน มีคนเข้ามาหาและอ่านข้อมูลจากเว็บไซต์ของเราบ่อยหรือไม่
อ่านเพิ่มเติม E-A-T Factor คืออะไร
2. การใช้ Keyword
การเลือกใช้ “คำหลัก” หรือ Keyword ในการทำคอนเทนต์ สร้างเนื้อหาบนหน้าเพจ โดย “หนึ่ง 1 เพจ ควรโฟกัส 1 คำหลัก” หรือคุมเนื้อหาให้มีประเด็นเดียว เพื่อความชัดเจนของเนื้อหา นอกจากนี้ Keyword ที่ใช้ควรมีลักษณะต่างๆ ได้แก่
- มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียน (Relevant) เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือสิ่งที่ธุรกิจต้องการให้ความรู้
- มีคนค้นหา (Search Volume) เราสามารถใช้ Keyword Research Tool ในการเสิร์ชดูปริมาณการค้นหาคำหลักต่างๆ ยิ่งมีคนค้นหามาก ก็แสดงว่า หากเราเลือกใช้ ก็มีโอกาสที่คนจะค้นหาและมาเจอเว็บไซต์ของเรามากเท่านั้น
- สามารถแข่งขันได้ (Keyword Difficulty) การเลือก Keyword ที่ค่า KD หรือ Difficulty สูงเกินไป จะแข่งขันยาก ควรสมดุลระหว่าง Keyword ที่มีคนค้นเยอะ (หรือไม่น้อยเกินไป) กับความยากในการทำอันดับ
3. การเขียนคอนเทนต์ SEO (SEO Writing & Readability)
ผลิตเนื้อหาหรือคอนเทนต์บนหน้าเว็บเหมาะกับการทำงานของ Search Engine และเหมาะกับวิธีการเสพคอนเทนต์ของคน ดึงคนให้อยู่กับเนื้อหาได้ตลอด ด้วยเทคนิคการเขียน SEO ยกตัวอย่างเช่น
- การกระจาย Keyword อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ให้มีความหนาแน่นมากเกินไป โดยวางให้กระจายตามตำแหน่งที่เหมาะสม
- การใส่ Heading Tag ให้กับหัวข้อต่างๆ ในบทความ เพื่อให้ Bot เข้าใจโครงสร้างเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว
- การเขียนย่อหน้าสั้นๆ หรือไม่ยาวเกิน 5 บรรทัด เพื่อให้เหมาะกับการอ่านบนอุปกรณ์ดิจิทัล
- การใช้ Bullet, Number และตัวอักษร italic, bold เพื่อย่อยเนื้อหาให้อ่านง่าย
- การแทรกวลี คำพูด หรือ Quote ระหว่างย่อหน้า เพื่อดึงความสนใจผู้อ่านหรือเพื่อให้ผู้อ่านได้พักสายตา
- เนื้อหามีความยาวที่พอเหมาะ ไม่สั้นจนเกินไป (1,000 คำ ขึ้นไปสำหรับคำไทย)
4. การใช้รูปภาพและสื่อหลากหลาย (Image & Multimedia)
นอกจากคอนเทนต์ในรูปแบบข้อความแล้ว บนหน้าเว็บควรมีสื่อประเภทอื่นๆ เช่น รูปภาพ Infographic วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหวหรือ Gif หรือสื่อ Interactive ที่ทำให้การเสพคอนเทนต์บนหน้าเพจน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ การมีสื่อที่หลากหลายยังทำให้คนใช้เวลาสำรวจเนื้อหาบนเว็บไซต์นานขึ้นอีกด้วย (เพิ่ม Dwell time หรือ Time on page) ซึ่งเป็นหนึ่งใน User Signal ที่ Google ใช้ประเมินว่า คนชอบหน้าเพจนี้หรือไม่
5. การตั้งชื่อหน้าเพจ หรือ Title Tag
การตั้งชื่อหน้าเพจหรือใส่ Title Tag ให้กับหน้าเพจ จะช่วยบอกทั้ง Bot และคนให้รู้ว่า หน้าเพจนั้น ๆ เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร โดย Title Tag จะเป็นข้อมูลส่วนแรกที่ Bot เข้ามาอ่าน และปรากฏเป็นชื่อหน้าเพจบนหน้าค้นหาบน Google (ตามรูปตัวอย่าง)
ตัว Title Tag มีความสำคัญอย่างมาก ควรตั้งชื่อบทความหรือชื่อเพจให้ชวนคลิกเข้ามาอ่านเนื้อหา โดยตั้งให้มีความยาวไม่เกิน 60 ตัวอักษร (ไม่ใช่นั้นจะแสดงผลไม่ครบ) และ Title Tag ควรมี Keyword ที่เราโฟกัสสำหรับเนื้อหาหน้าเพจนั้นๆ ด้วย
6. การใส่คำอธิบายหน้าเพจ Meta Description
ต่อจาก Title Tag ส่วนต่อมาที่ Bot จะอ่านก็คือ Meta Description หรือคำอธิบายเว็บเพจแบบสั้นๆระหว่าง 120-158 คำ เพื่อดูภาพรวมว่าเนื้อหาในหน้าเพจเกี่ยวกับอะไร และเช่นเดียวกันกับคนเสิร์ช ส่วน Meta Description จะแสดงอยู่ด้านใต้ของชื่อหน้าเพจบนหน้าแสดงผลการค้นหา (ตามรูปตัวอย่าง)
ในส่วน Meta Description ควรเป็นส่วนที่เราเขียนเพื่ออธิบายว่าเนื้อหาในหน้าเพจเกี่ยวข้องกับอะไร เมื่อคนคลิกไปดู เขาจะเจอกับอะไรบ้าง ควรเขียนเพื่อชักจูงให้คนอยากคลิกเข้ามาดู และถ้าแทรก Keyword ที่โฟกัสทำไว้ได้ด้วย ก็สามารถช่วยเพิ่มโอกาสทำอันดับขึ้นได้อีกนิด
7. การทำ Image Optimization ปรับแต่งรูปภาพให้เหมาะสม
รูปภาพเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้หน้าเพจและคอนเทนต์บนเว็บไซต์ของเราน่าสนใจ แต่เพื่อประสิทธิภาพในเชิง SEO เราควรปรับแต่งรูปภาพอีกเล็กน้อยเพื่อให้ Google Bot ก็เข้าใจสิ่งที่อยู่ในภาพ และรูปภาพไม่โหลดนานเกินรอ
- ตั้งข้อ Alternative text หรือ Alt text ให้กับรูปภาพ อธิบายว่าเป็นรูปอะไร เกี่ยวกับอะไร รวมถึงแทรก Keyword ที่โฟกัสทำเนื้อหาบนหน้าเพจนั้นๆ ด้วย จะช่วยเพิ่มโอกาสไต่อันดับ SEO ได้
- เลือก Format หรือสกุลไฟล์รูปภาพที่เหมาะสม เช่น png สำหรับรูปภาพที่คุณภาพสูงที่ไม่มีพื้นหลัง, jpeg สำหรับไฟล์รูปภาพที่คุณภาพลดลงมาหน่อย ช่วยให้ดาวน์โหลดได้เร็วขึ้น, webp สำหรับรูปภาพที่มีการบีบอัดให้มีขนาดเล็ก แต่ไม่สูญเสียคุณภาพ รองรับบน Chrome และ Firefox
- ตั้งชื่อไฟล์รูปภาพให้มีความหมาย อ่านได้ (descriptive name) เช่น “01-seo-keyword-placement”
8. การเพิ่มความเร็วเว็บไซต์ (Site Speed)
ความเร็วเป็นเรื่องสำคัญที่ Google ใช้เป็นเกณฑ์ให้คะแนนเว็บไซต์ และสำหรับคนที่ใช้งานจริงๆ หากต้องรอโหลดเว็บไซต์มากกว่า 5 วินาที ก็คงไม่รอ
ดังนั้น การเพิ่มความเร็วเว็บไซต์จึงเป็นอีกเรื่องที่เจ้าของเว็บไซต์ต้องให้ความสำคัญ (คุณสามารถเช็กความเร็วเว็บไซต์ได้ที่นี่) โดยเทคนิคเพิ่มความเร็วให้เว็บไซต์ก็ทำได้หลายวิธี เช่น
- เลือกใช้ Theme เว็บไซต์ที่รองรับเรื่องความเร็ว องค์ประกอบที่ต้องดาวน์โหลดเพื่อแสดงผลมีไม่มาก
- หากข้อแรกทำไม่ได้ ต้องปรับความเร็วเว็บไซต์ตามหลัก Google PageSpeed และ Core Web Vital
- การเลือก Hosting ที่มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความเร็วและใช้ Proxy ระดับโลกเช่น CloudFlare
- บีบอัดรูปภาพให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง เลือกใช้สกุลไฟล์ที่มีขนาดเล็ก เช่น webp และทำ Lazy load ให้รูปภาพถูกโหลดเมื่อเลื่อนจอผ่าน เพื่อประหยัดทรัพยากร
- ติดตั้ง Plug-in หรือเครื่องมือบนเว็บไซต์เท่าที่จำเป็น เพราะหากมี Plug-in ทำงานพร้อมกันจำนวนมาก จะทำให้เว็บโหลดช้า
- มีการเก็บ Cache ใน Browser เพื่อให้คนที่เคยเยี่ยมชมเว็บไซต์มาก่อน ไม่ต้องดาวน์โหลดใหม่ใหม่ทั้งหมด เช่นเก็บแคชไฟล์รูปภาพ jpg,png,gif,webp ไฟล์จัดการเลเอาท์ css และไฟล์สคิปโปรแกรม js รวมถึงการทำ Cache ในระดับอื่นๆเช่น database cache, html page cache
9. การทำเว็บไซต์ให้แสดงผลได้บนมือถือ (Responsive Design)
ทุกวันนี้ คนใช้ Google เพื่อค้นหาสิ่งต่างๆ ด้วยสมาร์ตโฟนมากกว่าการค้นหาด้วยคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊ก การแสดงผลได้ดีบนอุปกรณ์พกพา หรือ Mobile Responsiveness จึงถูกให้ความสำคัญมากขึ้น เว็บไซต์จึงต้องออกแบบมาให้แสดงผลรองรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ เช่น
- มีการจัด Layout เนื้อหาและองค์ประกอบต่างๆ ให้ดูง่ายบนมือถือ
- เว้นระยะห่างระหว่างปุ่ม ให้สัมผัสได้ง่าย ถูกต้อง ไม่ลำบากในการสัมผัส
- มีขนาดตัวอักษรที่เหมาะสมกับการอ่านบนมือถือ
คุณสามารถทำ Mobile-friendly Test << ดูว่าเว็บไซต์เหมาะกับการใช้งานบน Mobile หรือเปล่า ได้ที่นี่
10. การตั้งชื่อลิงก์หรือที่อยู่เว็บไซต์ (Friendly URLs)
ควรตั้ง URLs หรือชื่อที่อยู่เว็บไซต์ให้เป็นคำที่อ่านออกและไม่ยาวจนเกินไป รวมถึงมีโครงสร้างที่สม่ำเสมอชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น www.yourwebsite.com/service/service_a หรือ www.yourwebsite.com/blog/contentname
เพื่อให้คนที่จะคลิกเข้ามาอ่านเว็บไซต์ รู้ว่าเมื่อเข้าไปแล้วจะเจออะไรและเชื่อถือได้ว่า ไม่ใช่ลิงก์สแปมหรือไวรัส ทั้งนี้ การเขียนลิงก์ควรเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เพราะหากเขียนเป็นภาษาไทย เมื่อนำลิงก์ไปแชร์บนแพลตฟอร์มอื่นจะกลายเป็นตัวอักษรที่เหมือนภาษาต่างดาว ยาวเหยียดและอ่านไม่ได้
11. การทำ Internal link & Outbound link
ภายในหน้าเพจต่างๆ ควรมีการเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจและเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่คนที่มาเยี่ยมชมเว็บไซต์และทำให้ Google Bot เข้าใจเว็บไซต์ของเรามากขึ้นผ่านการทำความเข้าใจเว็บไซต์ต่างๆ ที่เราเชื่อมโยงไปหา
- ทำ Internal link หรือการเชื่อมโยงลิงก์ไปยังหน้าเพจอื่นภายในเว็บไซต์เดียวกัน จะช่วยให้ Google Bot เข้าใจเนื้อหาบนหน้านั้นๆ ได้มากขึ้น และเทคนิคนี้ ยังช่วยให้หน้าปลายทาง (หน้าที่ถูกลิงก์ไปหา) ได้รับค่าพลัง SEO มาด้วย
- ทำ Outbound link หมายถึง การลิงก์ไปหาเว็บไซต์อื่น ซึ่งควรเป็นเว็บไซต์ที่มีความเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์เรา อาจหมายถึงการอ้างอิงเว็บไซต์ก็ได้ เทคนิคนี้จะช่วยให้ Google มองว่า เว็บไซต์ของเรามีการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและช่วยให้ Bot เข้าใจเนื้อหาและบริบทของเว็บไซต์เราได้ดีขึ้น ผ่านการทำลิงก์เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
12. การทำเว็บไซต์ให้แชร์ง่าย (Shareable)
การที่มีคนแชร์เว็บไซต์ของเราไปยังช่องทางอื่นๆ ก็เป็นการเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมหรือ Traffic เข้ามาในเว็บไซต์ รวมไปถึงทำให้ Google มองว่าเว็บไซต์ของเรามีอิทธิพลและมีคนชื่นชอบ
Google ก็จะช่วยดันอับดับเว็บไซต์ของเราให้สูงขึ้นไปอีก โดยเทคนิคง่ายๆ ที่ช่วยให้คนแชร์เว็บไซต์ของเรามากขึ้นนอกจากการผลิตคอนเทนต์คุณภาพที่น่าสนใจแล้ว ก็คือ การมี “ปุ่มแชร์โซเชียลฯ” ให้ผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์กดได้ง่ายๆ จะติดไว้ข้างบนความหรือท้ายบทความเวลาคนอ่านจบก็ได้เช่นกัน
สรุปบทความ
การทำ On-page SEO เป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำ SEO ข้อที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ ซึ่งสิ่งที่ต้องทำก็ประกอบไปด้วยเรื่องต่างๆ ทั้งการทำคอนเทนต์ให้มีคุณภาพ การใส่ Tag ต่างๆ เพื่อกำกับให้ Google Bot เข้าใจเนื้อหาของเว็บไซต์มากขึ้น ฯลฯ และ On-page SEO ยังเป็นพื้นฐานของการทำ Off-page SEO หรือการทำ SEO นอกเว็บไซต์อีกด้วย
หากจะทำ SEO ให้สำเร็จ ทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับ จึงควรใส่ใจกับการทำ On-page SEO อย่างจริงจัง เพื่อให้พื้นฐานของการทำ SEO แข็งแรง เว็บไซต์ไม่ตกอันดับ
หากคุณต้องการให้ธุรกิจของคุณติดหน้าแรกบน Google เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างยั่งยืน มองหาบริษัทรับทำ SEO ราคาถูก เราเข้าใจการทำ SEO ในทุกองค์ประกอบ