สอนทำ SEO ฟรี ปี 2024 เรียนทำ SEO ทาง Google จะนำเทคโนโลยี AI, machine learning มาช่วย Search engines ให้ฉลาดยิ่งขึ้น เพื่อแสดงผล SERP ให้ตรงความต้องการของ User Intent เราต้องทำ Content ให้มีคุณภาพ ตอบโจทย์ผู้ใช้ค้นหา ใช้ภาษาที่ถูกต้อง User Experience (UX) เข้ามาเป็นหนึ่งปัจจัยใน ranking factor ความเร็วเว็บไซต์ รองรับมือถือ ซึ่งในบทความนี้ เราจะเจาะลึกวิธีทำ SEO ให้ตอบโจทย์ Google SEO Algortithm 2024
SEO คืออะไร?
ก่อนจะไปรู้กันว่า SEO ทำอย่างไร มาปูพื้นฐาน (SEO Basic) กันก่อนว่า SEO คืออะไร?
SEO ย่อมาจาก Search Engine Optimization คือ การปรับปรุงเว็บไซต์ตามหลักสูตร เพื่อทำให้เว็บไซต์ติดอันดับใน Google เช่น ชื่อโดเมน การใช้ HTML Tag ทั้ง Heading, ahref, image, URL ทำคอนเทนต์ตามหลัก SEO On-Page โครงสร้างเว็บไซต์ เมนู แท็ก Social Profile การปรับแต่งความเร็วเว็บไซต์ ในส่วน SEO Off-Page เช่น การทำ Backlink การทำ Local SEO เช่น Google My Business
>> อ่านเพิ่มเติมว่า SEO คืออะไร
คำศัพท์ SEO ที่สำคัญ มีอะไรบ้าง?
มีคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ SEO ที่มักเจอบ่อย เราควรศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจก่อน
>> อ่านเพิ่มเติมว่า คำศัพท์ SEO
วิธีทํา SEO มีอะไรบ้าง อัปเดต 2024
เรารวบรวม ขั้นตอนและวิธีทำ SEO อย่างละเอียด อัพเดต 2024 สอนทำ SEO ฟรี แบบ Step by Step ขั้นตอนทั้งหมด SEO Fundamentals หรือ เรียนทำ SEO ด้วยหลักการพื้นฐานการทำ SEO มีอะไรบ้าง SEO How To มือใหม่ทำเอสอีโอ แบ่งเป็น 10 บทเรียน ดังนี้ครับ
1. วางแผนวิเคราะห์คีย์เวิร์ด (Keyword Research)
บทเรียนแรก สอนทำ SEO การทำ Keyword Research คือการสืบค้นว่ากลุ่มเป้าหมายของเราใช้คำหลัก (Keyword) อะไรในการค้นหา และคำเหล่านั้นมีปริมาณการค้นหา (Search Volume) เป็นจำนวนเท่าไร เป็นกลยุทธ์ขั้นตอนที่สำคัญ เพื่อจะได้นำมาวางแผนสร้างคอนเทนต์ที่ลูกค้าจะค้นเจอในหน้า Google ได้มากที่สุด และยังใช้ติดตามผล วัดผลลัพธ์ได้ด้วย
Keyword สำหรับการทำ SEO นั้น โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
- Head Keyword หรือ Seed Keyword มักเรียกกันว่า คีย์เวิร์ดหลัก (Main Keywords) โดยจะเป็นคำกว้างๆ หรือคำโดดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจต่างๆ สินค้า บริการ เช่น SEO, SEM, Agency, Marketing, รับทำเว็บไซต์, เอเจนซี่, การตลาด, เป็นต้น
- Niche Keyword : คือ Head Keyword ที่เพิ่มคำที่เฉพาะเจาะจงเข้าไป เช่น SEO คืออะไร, SEM คืออะไร, รับทำเว็บไซต์ WordPress
- Long Tail Keyword : วลีหรือประโยคยาว ๆ มีปริมาณการค้นหาต่ำ แต่ Conversion สูง แสดงรายละเอียดเฉพาะเจาะจงและสะท้อนสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการได้ดีที่สุด เช่น บริษัทรับทำเว็บไซต์ ลาดพร้าว 101, รับทำเว็บไซต์ WordPress ราคาถูก, รับทำ seo ประเทศไทย, ทำ seo กรุงเทพ,
โดยหลักการเลือก Keyword ทำ SEO ควรเลือกคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ คำมีศักยภาพในการเอาชนะคู่แข่ง และสามารถทำให้เว็บไซต์ ติดอันดับได้ ควรเลือกคำหลักที่มี Search Volume ปริมาณสูง และคำรองต่างๆจะลดหลั่นกันลงมา ต้องมีวินัยกับความอดทน ในการจัดทำ SEO จนติดหน้าแรก Google และมีอันดับ Ranking ได้ในที่สุด
โดยการทำ Keyword Research โดยเครื่องมือ (SEO Tool) สำคัญมากๆ จะทำให้เราเห็นแนวโน้มของเว็บไซต์ การวิเคราะห์ Keyword ยังช่วยในการปรับปรุง SEO ด้านอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่ง On-Page SEO, การวางโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure), การใช้ Backlink เป็นต้น
>> อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Keyword Research
สำหรับโปรแกรมทำ Keyword Research ที่เราอยากแนะนำ จะมีอยู่หลายโปรแกรมด้วยกัน มีทั้งเครื่องมือฟรีและเสียเงินรายเดือน ซึ่งเรามีสอนใช้เครื่องมือ SEO เช่น ahrefs, SEMRush, Google Keyword Planner
>> อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 10 โปรแกรมทำ Keyword Research
2. ออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure)
บทเรียนที่สอง สอนทำ SEO เกี่ยวกับ Site Structure คือ โครงสร้างเว็บไซต์ที่ประกอบไปด้วย Header , Content และ Footer เป็นการจัดระเบียบนำเสนอให้รู้ว่าเว็บเรา มีเนื้อหาหลักอะไรบ้าง เมนูมีหมวดหมู่ใดบ้าง วางแผน Keyword กับหน้าเพจให้สอดคล้องกัน ลึกที่สุดจากหน้าแรกไม่ควรเกิน 4 ชั้น
ถ้าออกแบบ Site Structure ได้ดีและเป็นระบบ ก็จะช่วยให้อัลกอริทึมของ Google เข้าใจและหาสิ่งต่าง ๆ ภายในเว็บฯ เจอได้เร็ว ผู้เข้าชมเว็บไซต์ ได้รับประสบการณ์ที่ดี รวมถึงทำให้อันดับ SEO ในหน้าค้นหาดีขึ้นด้วย
โดยโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure) แบ่งเป็น 5 รูปแบบ ตามการจัดรูปแบบของเนื้อหา
- โครงสร้างแบบเส้นตรง (Linear Structure) โครงสร้างเว็บไซต์ที่นำเสนอเนื้อหาตามลำดับ
- โครงสร้างแบบต้นไม้ (Hierarchical Structure) โครงสร้างเว็บไซต์คล้ายแผนผังต้นไม้ มีการจัดแบ่งหน้าต่าง ๆ เป็นหมวดหมู่ เริ่มจากหน้าแรกที่อยู่ด้านบนสุด ไล่หน้ารองหรือย่อยลงมาเรื่อย ๆ
- โครงสร้างแบบอิสระ (Web Linked Structure) โครงสร้างเว็บไซต์รูปแบบไม่ตายตัว แค่มีหลักการว่าทุกหน้าเว็บฯ ต้องเชื่อมโยงถึงกัน
- โครงสร้างเว็บไซต์แบบฐานข้อมูล (Database Structure) โครงสร้างเว็บไซต์ตรงข้ามกับรูปแบบแผนผังต้นไม้ เพียงแต่เรียงจากล่างขึ้นบน
โครงสร้างแบบผสม (Hybrid Structure) โครงสร้างเว็บไซต์รูปแบบผสมระหว่างโครงสร้างแบบต้นไม้ (Hierarchy Structure) กับโครงสร้างรูปแบบอื่น ๆ เข้าด้วยกัน
Site Structure ก็เหมือนเป็น Fundamental หรือ หลักการที่ใช้ทำโครงสร้างเว็บไซต์ เว็บสำเร็จรูปอย่าง WordPress ใน Theme ต่างๆก็มีโครงสร้างเว็บไซต์ตั้งต้นมาให้เราแล้ว เพียงเราวางแผน วิเคราะห์ ว่าเว็บไซต์เราจะมี หมวดหมู่อะไรบ้าง หน้าเพจ อะไรบ้าง จัดกรุ๊ปต่างๆให้ถูกต้อง
>> อ่านรายละเอียด Site Structureเพิ่มเติม
3. ปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ (On-Page SEO)
บทเรียนสาม สอนทำ SEO เกี่ยวกับเรื่อง On-Page SEO คือการปรับแต่ง แก้ไข และจัดการเว็บไซต์เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด รวมถึงเพื่อช่วยให้ Google Bot ทำความเข้าใจเนื้อหาภายในเว็บไซต์ของเราได้ดีขึ้นด้วย จึงต้องพอเข้าใจภาษา HTML เบื้องต้น โดยหลัก ๆ ที่เราอยากแนะนำ ก็คือการปรับแต่ง URL , บทความ และความเร็วในเว็บไซต์
ปรับแต่ง URL (Friendly URL)
- ตั้งชื่อ URL ด้วยคีย์เวิร์ด : ช่วยให้เว็บไซต์ถูกค้นพบได้ง่ายขึ้น เช่น /how-to-do-seo ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายว่าหน้านี้จะให้ข้อมูลเรื่องอะไร และเพื่อให้ รวมถึง Google Bot จะเรียนรู้ได้ง่ายเช่นกัน
- ตั้งชื่อ URL สั้น กระชับ เข้าใจง่าย : เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจได้ทันทีว่ากำลังเข้าชมเว็บฯ ของใคร/สินค้าอะไร เป็นการเพิ่ม Traffic ที่ทำให้อันดับ SEO ดีขึ้นอีกทางหนึ่ง (โดยทั่วไปห้ามเกิน 255 ตัวอักษร)
- ตั้งชื่อ URL โดยระบุคำที่เป็นข้อมูลของสินค้าหรือบริการ เช่น /ยี่ห้อ-รุ่น เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น และสะดวกต่อ Google Bot ในการเข้ามาเก็บข้อมูล
- ตั้งชื่อ URL ให้มีเลขปีต่อท้ายในบางธุรกิจ เช่น /review-…-2024 เพื่อบอกบริการถึงปีไหน เนื่องจาก เลขปี ถือเป็น keyword ที่ผู้คนมักใช้ค้นหา
ปรับแต่ง Content ในเว็บไซต์
- ใส่คีย์เวิร์ดใน Title Tag และวางคีย์เวิร์ดไว้ในคำแรก ๆ ของชื่อเรื่อง
- ใส่คีย์เวิร์ดในช่วง 1–150 คำแรกของคอนเทนต์
- ใส่คีย์เวิร์ดใน H1, H2 หรือ H3
- ใส่ Alt tags สำหรับรูปภาพและไฟล์ เพื่อช่วยให้กูเกิลเข้าใจได้ว่ารูปภาพหรือไฟล์นั้นคืออะไร
- ใส่คำพ้องหรือคำที่ใกล้เคียง (Synonyms) กับคีย์เวิร์ดลงไปด้วย เช่น ทำ SEO, รับทำ SEO, บริการจ้างทำ SEO, รับทำเอสอีโอ
- จำนวน Keyword Density ความหนาแน่นของคีย์เวิร์ด
- ใส่ External Links (ลิงก์จากเว็บฯ ข้างนอก) เข้าไปในบทความ เนื่องจากจะช่วยสร้างการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือให้กับบทความมากขึ้น
- ใส่ Internal Links (ลิงก์ภายในเว็บไซต์) เพื่อให้ผู้อ่านสามารถกดลิงก์ไปดูบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน
ปรับแต่งความเร็วเว็บไซต์
- ปรับแต่งโค้ดให้ตรงตามหลัก Google PageSpeed
- ปรับแต่งโค้ดให้ตรงตามหลัก Core Web Vital
>> อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SEO On-Page
4. ทำ Content คุณภาพ
บทเรียนสี่ เคยได้ยินคำนี้ไหมครับ “Content is King” นักทำ SEO สร้างเนื้อหาที่เน้นประโยชน์กับคนอ่านเป็นหลัก อีกทั้งยังควรทำให้เนื้อหาแต่ละหน้าเพจมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน โดยยึดหลัก E-E-A-T Factorหรือกฎเกณฑ์ใหม่ล่าสุดที่ Google ทำการอัปเดตจาก E-A-T Factor เดิม อันเป็นเกณฑ์ที่อัลกอริทึมจะใช้ในการพิจารณาคุณภาพของเนื้อหาบนเว็บไซต์ อันประกอบไปด้วย
- Experience (ประสบการณ์) – เนื้อหาที่มาจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียน
- Expertise (ความเชี่ยวชาญ) – เนื้อหาเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีข้อมูลเชิงลึก
- Authoritativeness (ความมีอิทธิพล) – เว็บไซต์ได้รับการอ้างอิงจากเว็บฯ ต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือ (Backlink)
- Trustworthiness (ความน่าเชื่อถือ) – เว็บไซต์มีช่องทางการติดต่อ ความสดใหม่ ที่น่าเชื่อถือจากตัวเว็บไซต์เอง
สิ่งสำคัญคือ เนื้อหา Content ควรตรงตามความต้องการของผู้ใช้หรือที่เรียกว่า Search Intent อีกทั้งยังจะต้องเป็นเนื้อหาที่เขียนและเรียบเรียงด้วยตนเอง ไม่ได้คัดลอกมาจากแหล่งอื่น นอกจากนี้ ยังควรแบ่งเป็นหัวข้อหลัก หัวข้อย่อย เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านของผู้ใช้ด้วย
5. ทำ Backlink จากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ (Off-Page SEO)
บทเรียนห้า เนื่องจาก Authoritativeness (A) ใน E-E-A-T เป็นเกณฑ์หนึ่งที่ Google ใช้พิจารณาการจัดอันดับเว็บไซต์ สิ่งนี้จึงเป็นเหตุผลที่การทำ Backlink เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยในการไต่อันดับเช่นกัน
Backlink คือ การที่เว็บไซต์อื่นลิงก์กลับมาหาเว็บไซต์ของเรา ซึ่ง Google จะใช้การทำ Backlink เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดว่าเว็บไซต์ของเรามีคนพูดถึงและมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน เพราะหากมีคนพูดถึงเรามาก ดังนั้นจากข้อ 4. ก็หมายความว่าถ้าเว็บไซต์ของเรามีคอนเทนต์ที่ดีและตอบโจทย์ตามความต้องการของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ ก็จะมี Backlink ที่ดี ธรรมชาติ อ้างอิงถึงเราเอง ทำให้มีโอกาสติดอันดับ SEO ได้ง่ายขึ้น แต่ก็ยังมีบางเว็บที่ไม่มี Backlink เท่าไหร่แต่ก็มี Traffic ที่ดีได้
การทำ Backlink ที่ดีควรจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
- ควรทำกับเว็บไซต์มี Authority สูง (ค่า DR) หมายถึง มีความน่าเชื่อถือ มีผู้อ่านเยอะ ได้รับการอ้างอิงถึงบ่อย อาจดูจากเครื่องมือต่าง ๆ เช่น Ahrefs
- ควรทำกับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา เช่น หากเป็นเอเจนซีรับทำ SEO การทำ Backlink ก็ควรมาจากเว็บฯ การตลาด หรือ เทคโนโลยี
- ควรทำกับเว็บไซต์มีผู้ใช้งานจริง ถูกคลิกเข้ามาใช้งานเรื่อย ๆ (Organic Traffic)
- ควรทำเป็น Do Follow ซึ่งสามารถส่งคะแนน SEO มายังเว็บไซต์ของเราได้
- ควรเขียนเนื้อหาบทความในการทำ Backlink ให้น่าสนใจ เพื่อให้ Traffic กลับมายังเว็บไซต์มีปริมาณเยอะขึ้น
- ควรทำ Backlink อย่างค่อยเป็นค่อยไปและเป็นธรรมชาติ ไม่ควรทำจำนวนมากในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อป้องกันการโดน Google แบน
>> อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วิธีการทำ Backlink
6. ปรับ User Experience
บทเรียนหก สอนทำ SEO เกี่ยวกับ UX ย่อมาจาก User Experience คือ ประสบการณ์ของผู้ใช้งานต่อการใช้งาน (Usability) และการเข้าถึง (Accessibility) เว็บไซต์ ๆ ว่าผู้ใช้งานเกิดความพึงพอใจและมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์มากน้อยแค่ไหน โดย User Experience จะมีผลมาจาก UI หรือ User Interface
การวัด UX หลัก ๆ ก็จะวัดได้จาก :
- Bounce Rate คือค่าที่บอกว่ามีคนที่เข้าเว็บไซต์แล้วออกทันทีทั้งหมดกี่เปอร์เซ็นต์ หาก Bounce Rate ยิ่งต่ำคือยิ่งดี ขึ้นอยู่กับเนื้อหานั้น ๆ ด้วย เช่น หน้า บทความ (Blog) อาจมีค่า Bounce Rate ที่สูงกว่าหน้า บริการ (Service) หรือหน้า สินค้า (Product) เป็นต้น
- Page per Session คือ จำนวนหน้าที่ผู้ใช้งานเข้าไปชมต่อการเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราหนึ่งครั้ง โดยปกติแล้ว ยิ่งจำนวนมากจะยิ่งดี แต่ก็ต้องระมัดระวังในการทำ CTA ที่ไม่ชัดเจนพอ ซึ่งอาจส่งผลให้ Google Bot เข้าใจว่าเราดึงดูดคนให้เข้ามาที่เว็บไซต์ของเราผิดหน้าได้
- Dwell Time (Session Duration, Time on Page) คือ ค่าที่บอกถึงเวลาที่ผู้ใช้งานใช้ไปในแต่ละหน้า (Time on Page) หรือแต่ละครั้ง (Session Duration) ซึ่งหากยิ่งมากก็ยิ่งดี เพราะนั่นหมายความว่าเนื้อหาบนเว็บไซต์เรามีประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน Online
- Page Speed คือ ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ หากโหลดได้เร็วก็มีโอกาสสูงมากที่ผู้ใช้งานจะเข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้เร็ว ดังนั้น ยิ่งเวลาในส่วนนี้ใช้น้อยเท่าไรก็จะถือว่าเว็บไซต์มี UX ที่ดี
โดยการจะทำให้ค่าเหล่านี้ดี สามารถทำได้จากการปรับแต่ง UX ในเว็บไซต์ให้ใช้งานได้ง่ายแบบไหลลื่น ไม่มีสะดุด อันได้แก่
- ออกแบบเว็บไซต์ ให้สวยงาม น่าใช้ รองรับมือถือ ปัจจุบัน Theme ส่วนมากก็ถูกหลักหมดแล้วครับ
- ออกแบบเมนูบนเว็บไซต์ให้เป็นระบบ เพื่อให้ผู้ใช้หาง่าย เพิ่มโอกาสการท่องเว็บ เป็นระยะเวลานาน
- ใช้ชื่อเมนูเป็นสากล เช่น Home, Product, Service, Contact us เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจเมนูได้ง่าย หากใช้คำที่เฉพาะตัวและยากจนเกินไปก็มีโอกาสที่เว็บไซต์จะไม่สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ใช้งาน
- เลือก Hosting ที่มีประสิทธิภาพ ปรับจูนค่าทางเทคนิคต่างๆ เพื่อให้เว็บไซต์ เสถียร ไม่ล่มง่าย ไม่ใช้แชร์โฮสต์กับผู้อื่น
- ใช้ระบบการเก็บ Cache เช่น Leverage Caching , ย่อขนาดไฟล์รูปภาพและวิดีโอ (Image Optimization) เพื่อเพิ่มความเร็วดาวน์โหลดเว็บไซต์
- คำนึงถึง ระยะห่างระหว่างปุ่ม รวมถึงขนาดตัวอักษร สีปุ่มที่ตัดกับสีแบ็คกราวด์ (Color Contrast)
- ออกแบบ User Signal เพื่อให้ผู้ใช้งานอยู่บนเว็บไซต์นานขึ้น
- จัดรูปแบบเนื้อหาให้อ่านง่าย ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเลย์เอาต์ ฟอนต์ หรือลำดับความสำคัญของเนื้อหาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ประสบการณ์ที่ดีจากการเข้าชมเว็บไซต์ของเรามากที่สุด
- มี Call-to-Action ชัดเจน ทั้งลิงก์และปุ่ม Button เพื่อให้ผู้ใช้รู้ว่าควรกดไปที่ใดต่อ
- หลีกเลี่ยงการใช้โฆษณา Pop-up ที่เด้งแล้วรบกวนการใช้งานของผู้ใช้
>> อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ UX
7. ปรับแต่ง Technical SEO
บทเรียนเจ็ด Technical SEO คือ การปรับแต่ง SEO ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเทคนิคเป็นส่วนใหญ่ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่บอตของ Google ให้รวบรวมข้อมูลและจัดทำดัชนีหน้าเพจทั้งหมดบนเว็บไซต์ได้ง่ายยิ่งขึ้น จึงต้องรู้จักเครื่องมือ Google Search Console
Technical SEO ปรับแต่งได้ตั้งแต่
- เพิ่มความเร็วเว็บไซต์ (Page Speed)
- เว็บไซต์รองรับการแสดงผลบนอุปกรณ์มือถือ (Mobile-Friendly Website)
- ทำ Lazy Load ให้รูปภาพและ iframe แสดงผลโหลดขึ้นมาในส่วนที่ผู้ใช้เลื่อนเมาส์มาถึงเท่านั้น (offscreen images)
- ปรับแต่งขนาดรูปภาพ (Image Optimization) และใช้สกุลรูปภาพที่ทันสมัย (WebP Image)
- จัดการในเรื่อง Above the fold หรือ content ที่จะแสดงในส่วนหน้าจอในตอนหน้าเว็บถูกโหลด
- จัดการ Critical CSS Path
- จัดการ defer javascript , delay javascript ตามความสำคัญการใช้งาน
- บีบอัดขนาดไฟล์สคิปต์ (Minify CSS, Minify JS) ให้ขนาดไฟล์เล็กลง
- ปรับแต่งเรื่อง Cache เช่น Leverage Caching, html page caching, database caching
- DOM Size ขนาดโค้ด HTML ของหน้าเว็บ เพื่อเพิ่มความเร็วในการโหลดเว็บไซต์
- ปรับแต่งให้ URL เป็นมิตรกับผู้ใช้และ Google
- ทำเว็บไซต์ให้เป็น https:// หรือ SSL Certificate
- จัดทำแผนผังเว็บไซต์ Sitemap.xml
- ทำ Robots.txt ให้ Google Bot เข้ามา Crawl เก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น
- จัดทำ Google Rich Snippets การทำ Data Structure ตามหลักของ schema.org เพื่อแสดงข้อมูลบน SERP
- ทำ Canonical URL สำหรับเพจที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน
- แก้ไขหน้าเพจ Error ที่ขึ้น เช่น 404 Not Found หรือ 500 Internal Server Error
- ทำ 301 Redirection หน้าที่มีการเปลี่ยนแปลง URL
- Disavow links ลิงก์ที่ไม่เป็นธรรมชาติ ผิดปกติ (Unnatural links) เพราะส่งผลเสียต่อ SEO และอาจถูก Google Ban ได้
- ตรวจสอบลิงก์ออก (Outbound Link) ที่ผิดปกติ อาจถูก hack หรือช่อง Comment เปิดการใส่ link ทำให้มีคนมาแอบใส่ลิงก์ออกได้
- อื่นๆ อีกมากมาย
8. ทำ SEO บน Social
บทเรียนแปด ในยุคดิจิทัล Digital Marketing การทำ SEO บนโลก Social เช่น Facebook หมายถึงการทำหน้าแฟนเพจ Facebook ให้ติดอันดับในหน้าค้นหา โดย Google จะแบ่งพื้นที่การติดอันดับให้ Facebook เพียง 3 อันดับต่อการติดหน้าแรก 1 หน้าเท่านั้น ดังนั้น หากคุณสามารถปั้นให้ทั้งเว็บไซต์และ Facebook ติดอันดับได้ ก็จะเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจถูกลูกค้ามองเห็นเพิ่มขึ้นด้วย และใช้ในการโปรโมทแบรนด์ (Branding)
หรือจะเป็นแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Youtube, Tiktok จะสามารถส่งทั้ง Organic Traffic และ Backlink ส่งคะแนน SEO มาเพิ่มให้ Web เราได้
9. ดูสถิติการเข้าใช้งานเว็บไซต์
บทเรียนเก้า การเห็นแนวโน้มเว็บไซต์ ทำธุรกิจแบบไม่ตาบอด เป็นเคล็ดลับที่สำคัญ ในยุคสมัยนี้เรียกว่าขาดเครื่องมือนี้ไม่ได้เลย หากคุณยังไม่รู้จัก ทำความรู้จักเดี๋ยวนี้เลยครับ >> Google Analytic คืออะไร
10. อัปเดตเทรนด์ SEO ให้ทันอัลกอริทีมของ Google
บทเรียนสุดท้าย คอยคิดเสมอว่าถ้าเราเป็นกูเกิลเราจะพัฒนาการจัดอันดับระบบค้นหาให้ฉลาดขึ้นได้ยังไง เราจึงต้องคอยติดตามข่าวสาร การอัพเดท seo algorithm update จาก Google Search Status Dashboard อัลกอริทึม Google มีอัพเดทแทบทุกเดือน ดังนั้น การทำ SEO จะต้องพร้อมจะอัปเดตให้ทันกับทุกการเปลี่ยนแปลง และตามฟีเจอร์ใหม่ๆ เกี่ยวกับ SEO โดยในปี 2024 นี้เทรนด์ SEO ที่ควรอัปเดตก็มีมากมาย เช่น
เครื่องมือ SEO อัปเดตฟีเจอร์ใหม่
ปี 2024 เครื่องมือ SEO ต่างก็อัปเดตฟีเจอร์ใหม่เพื่อให้ตอบโจทย์โลกยุค AI มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น Ahrefs ที่ออกฟีเจอร์ AI-Driven Content Optimization AI ช่วยแนะนำการปรับปรุงคอนเทนต์ Competitor AI Analysis ที่ให้ AI วิเคราะห์เว็บฯ คู่แข่ง รวมถึงทำ Content Gap วิเคราะห์คีย์เวิร์ดคู่แข่งด้วย
นอกจากนี้ Generative AI ต่างก็ประชันกันอัปเดตเวอร์ชันและฟีเจอร์ ไม่ว่าจะเป็น ChatGPT หรือ Bard จาก Google เอง ซึ่งนักทำ SEO ก็สามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้ปรับปรุงการทำ SEO ให้ดีขึ้นได้
การเปิดตัวของ Google’s SGE (Search Generative Experience)
Google’s SGE คือฟีเจอร์ใหม่จาก Google ที่ผสมระหว่างการ Search กับ Generative AI เพื่อช่วยตอบคำถามผู้ใช้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องกดเข้าไปดูลิงก์รายการค้นหาเหมือนการ Search ทั่วไป
ดังนั้น นักทำ SEO จึงควรปรับปรุงคุณภาพเนื้อหา ประสิทธิภาพเว็บไซต์ และความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพื่อให้ได้รับความสนใจจากผู้ใช้ แม้เว็บฯ ของเราจะแสดงถัดจากการแสดงผลของ Google’s SGE
เน้นเนื้อหา People-first ไม่ใช่ Search Engine First
ปี 2024 Google จะเน้นให้คอนเทนต์ที่ดีและมีประโยชน์กับผู้อ่านถูกมองเห็นมากขึ้นบนเว็บไซต์ ดังนั้น นักทำ SEO จึงควรผลิตคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเน้นการมองเห็นแบบ People-first ไม่ใช่ Search Engine First และลบเนื้อหาที่ไม่มีคุณภาพออกจากเว็บฯ ไป ก็จะทำให้อัลกอริทึมทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น
ศึกษาข้อมูล SEO ใหม่ๆจากเว็บไซต์ต่างประเทศ
เราต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ การหาความรู้อยู่เรื่อยๆ จะทำให้เราเป็นผู้เชี่ยวชาญ แล้วเราจะทิ้งห่างคนอื่นไปเรื่อยๆ ดังนั้น อย่าหยุดเรียนรู้ครับ
ทำ SEO ยากไหม?
การทำ SEO จะต้องอาศัยองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เราได้บอกไปตั้งแต่ต้นบทความ ซึ่งเรื่องเหล่านี้คุณสามารถศึกษาด้วยตัวเอง ทำ SEO ยากหรือไม่ขึ้นอยู่กับธุรกิจ Keyword มีการแข่งขันกันสูงหรือไม่
ดังนั้นก่อนจะเริ่มทำ SEO ด้วยตัวเองคุณควรจะศึกษาคู่แข่งว่าเขาทำอย่างไรเว็บไซต์ถึงอยู่ในหน้าแรก Google ได้ แล้วเราก็นำมาปรับใช้กับเว็บไซต์ของเรา ทั้งเนื้อหาคอนเทนต์บนหน้าเว็บไซต์ ต้องเน้นตอบโจทย์อ่านง่าย เว็บไซต์ใช้งานง่าย ดึงให้คนอยู่บนเว็บไซต์ของเราให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เราไม่ได้บอกให้คุณลอกสิ่งที่คู่แข่งของคุณทำอยู่ แต่ให้ศึกษาและนำมาพลิกแพลงปรับใช้ (Reverse Engineering)
SEO ใช้เวลานานไหม?
การทำ SEO ให้อันดับขึ้นตำแหน่งแรก Google จะต้องให้เวลาปรับโครงสร้างเว็บไซต์ ปรับปรุงคอนเทนต์ ประมาณ 3-12 เดือน เพื่อให้ Google เห็นว่าเว็บไซต์ ของเรามีการอัพเดท และมีความเชี่ยวชาญธุรกิจนั้นๆ ผู้เข้าชมและสามารถตอบโจทย์ผู้ใช้ได้ดีมากกว่า Website อื่น
SEO สำคัญอย่างไร? มีประโยชน์อย่างไร
SEO สำคัญสำหรับธุรกิจออนไลน์ เพราะหากทำให้เว็บไซต์ ติดอันดับในหน้าแรก Google จะมีจำนวนคนเข้าเว็บไซต์ (Traffic) เพิ่มสูงขึ้นได้ โอกาสปิดการขายและทำยอดขายและกำไรก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
จากรายงาน SEO ส่วนแบ่งการคลิก โดยทั่วไป อันดับ 1 ในหน้า Google (แสดงผลบนสุด) จะมี Traffic ของคนคลิกเข้าเว็บไซต์ มากกว่าอันดับ 10 ถึง 10 เท่า อีกทั้งการเข้าชมเว็บไซต์มักจะเริ่มมาจากการที่ลูกค้าค้นหาสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม Search Engine ดังนั้น นี่จึงเป็นเหตุผลว่าการทำ SEO จึงเป็นสิ่งสำคัญ
อีกทั้งการทำ SEO จะช่วยให้ Keyword ติดถาวรอยู่นานขึ้นกับวินัย ความอดทน คุณภาพของการหมั่นทำ SEO ของเรา และเมื่อทำจนเว็บไซต์ติดหน้าแรกได้แล้ว ก็ยังจะช่วยลดต้นทุนการซื้อโฆษณาได้ด้วย เพราะปกติถ้าเว็บไซต์ยังไม่ขึ้นหน้าแรก คุณสามารถทำให้เว็บไซต์แสดงอยู่บนหน้าแรกได้เร็วที่สุดคือการทำ SEM หรือ ซื้อโฆษณา Google Ads กับ Google แต่ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณาเช่นกัน
ทำ SEO กับที่ไหนดี?
ท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ ยินดีด้วยครับ เรารับรองว่าท่านมีความรู้ SEO เพียงพอที่จะลุยธุรกิจได้แล้ว จากขั้นตอนการทำ SEO ทั้งหมด จะเห็นได้เลยว่าการที่เว็บ จะขึ้นหน้าแรก Google ได้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ อย่างที่หลายคนคิด ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และการวางแผนกลยุทธ์เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ดี หากคุณต้องการทำ SEO แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร SEO MASTER ของเรายินดีให้คำปรึกษา เราคือบริษัทรับทำ SEO ชั้นนำที่มีประสบการณ์ทำ SEO กว่า 10 ปี ด้วยทีมงาน Tech คุณภาพ ดูแลเหมือนเป็นเว็บของเราเอง ทักปรึกษาฟรี เราขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านครับ